วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ประวัติวันชาติฝรั่งเศส Le 14 Juillet

ประวัติวันชาติฝรั่งเศส Le 14 Juillet



วันชาติฝรั่งเศส

ย้อนไปเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ.1789 กองทัพทหาร และประชาชนได้พร้อมใจกันบุกคุกบาสติลย์ (Bastilles) เพื่อปลดปล่อย นักโทษ การเมือง ให้เป็นอิสระ อันคุกบาสติลย์นี้ถือว่าเป็นเครื่องหมายของการบีบบังคับและความอยุติธรรม ซึ่งเกิดจากการปกครอง โดยกษัตริย์ ที่ไร้ ทศพิธราชธรรม จึงประกาศวันที่ได้รับการปลดปล่อยนี้ให้เป็น..วันชาติของฝรั่งเศส (La Fête Nationale)
เมื่อหลายร้อยปีก่อน ประเทศฝรั่งเศสมีการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จนกระทั่งถึงปลายศตวรรษที่ 16 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่ง ราชวงศ์บูรบอง (Bourbon)บ้านเมืองอยู่ในระยะของสงครามอังกฤษ เพื่อแย่งชิงอาณานิคม ทำให้การเงินการคลังของประเทศล้มละลาย ประชาชนมีความเป็นอยู่อย่างอัตคัดขาดแคลน แต่ในทางกลับกัน ราชสำนักกลับมีความเป็นอยู่อย่างหรูหรา ฟุ่มเฟือย ชนชั้นขุนนางได้รับการยกเว้น ภาษี ส่วนประชาชน ที่มีความยากจนอยู่แล้วต้องถูกทางการรีดภาษีอย่างหนัก ทำให้เกิดความไม่พอใจอย่างมาก
ในตอนนั้น ชนชั้นกลางมีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เนื่องจากชนกลุ่มนี้มีการศึกษาดี ร่ำรวย แต่ไม่มี สิทธิในทาง การเมือง การปกครอง เทียบเท่าชนชั้นพระ และชนชั้นขุนนาง จึงต้องการเปลี่ยนแปลงระบบเก่า และได้กุมอำนาจทางเศรษฐกิจเอาไว้ โดยเข้าร่วม การปฏิวัติในอเมริกา ซึ่งมีสาระสำคัญในทางทฤษฎีว่าด้วยสิทธิิ ตามธรรมชาติิของมนุษย์ และสองนักปราชญ์แห่งยุคคือ วอลแตร์ กับ มองเตสกิเออ นำทฤษฎีดังกล่าวมาสอนประชาชน ในขณะเดียวกัน มาควิส เดอ ลา ฟาแยตต์ (Marquis de la Fayett) ซึ่งทำสงคราม ช่วยเหลือ ชาวอาณานิคม ในอเมริกาต่อต้านอังกฤษจนได้ชัยชนะ ก็นำความคิดนี้มาเผยแพร่ จึงทำให้ ประชาชนชาวฝรั่งเศส ดิ้นรนเรียกร้อง ให้ได้มาซึ่งสิทธิและเสรีภาพ
ยิ่งขึ้น
เดือน มิถุนายน ค.ศ. 1789 ประชาชนซึ่งมีความเป็นอยู่อย่างแร้นแค้น ได้บุกเข้าปล้นสะดมบ้านของพวกขุนนาง กรุงปารีสมีแต่่ ความวุ่นวาย ชนชั้นกลางได้รวมตัวกันก่อตั้งกองทหารรักษาการณ์แห่งชาติเข้าร่วม กับประชาชนทำลายคุกบาสติลย์ ซึ่งเท่ากับว่า เป็นการปลดแอกอำนาจการปกครองโดยกษัตริย์ นับเป็นการปฏิวัติครั้งใหญ่ยิ่ง และสำคัญของโลก
ผล กระทบของเหตุการณ์ได้แพร่ไปสู่ประเทศอื่นๆในยุโรป โดยเฉพาะในรัสเซีย กล่าวคือระยะแรกของการปฏิวัติ ประมาณปี ค.ศ. 1791ได้มีการ ร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใช้ กษัตริย์ต้องอยู่ใต้กฎหมาย และรัฐสภา ก็มีเพียงสภาเดียว คือ สภานิติบัญญัติ ชนชั้นกรรมาชีพมีบทบาทในการปกครอง แต่ด้วยความเกรงกลัวว่า การล้มล้างสถาบันกษัตริย์ ์จะแพร่ขยายไปทั่วยุโรป ทำให้ออสเตรียและปรัสเซียยกทัพรุกฝรั่งเศสแต่ไม่สำเร็จ ทางสภานิติบัญญัติจึงยกเลิกระบบ ราชาธิปไตยและประกาศเป็นประเทศสาธารณรัฐ เมื่อวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 1792 และตั้งสภาใหม่ขึ้นมา และในปี 1793 ก็ได้สำเร็จโทษพระเจ้าหลุยส์และพระนางมารี อังตัวเนต์ด้วย การประหารชีวิตด้วยเครื่องประหาร กิโยตีน แม้ผลการปฏิวัติจะสำเร็จ แต่ประชาชนส่วนใหญ่ก็ยังมีฐานะยากจนเหมือนเดิม รัฐบาลยังมุ่งแต่กอบโกยผลประโยชน์กัน จนมีบุคคลคนหนึ่งแสวงหาอำนาจโดย เป็นเครื่องมือ ให้ประชาชนเลื่อมใส และยึดอำนาจการปกครองมาเป็นของตน บุคคลผู้นี้คือ นโปเลียน โบนาปาร์ต
นโปเลียนได้กลายเป็นวีรบุรุษของชาติเพราะอาศัยความล้มเหลวของรัฐบาลสถาปนาตนเป็นแม่ทัพใหญ่คุมกองทัพ ออก ไปรบชนะออสเตรเลียในปี ค.ศ.1797 ทั้งยังแพร่ขยายอาณาเขตไปทั่วยุโรป จนปี ค.ศ. 1804 ได้สถาปนาตนเอง ขึ้นเป็นจักรพรรดินโปเลียน และพยายาม ที่จะครอบครอง รัซเซียให้ได้ จึงทำสงคราม กับรัสเซีย และเป็นครั้งแรก ที่นโปเลียนแพ้ ทำให้ชนชาติต่างๆที่อยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสเกิดกำลังใจที่จะต่อต้าน เมื่อนโปเลียน ได้ถูกเนรเทศไปยังเกาะอัลบา พระเจ้าหลุยส์ได้กลับมาครองราชย์ใหม่แต่เพียงระยะสั้นๆ ในปี ค.ศ.1815 นโปเลียนหนีกลับมาได้ อีกครั้งและประกาศตนเป็นจักรพรรดิ รวบรวมกำลังทหารเข้าต่อสู้กับ ฝ่ายพันธมิตร ต่างๆ เกิดสงครามวอเตอร์ลูขึ้น แต่ฝรั่งเศสก็รบแพ้ ทำให้ นโปเลียนถูกส่งขังที่เกาะเซนต์เฮเลนา นับเป็นการสิ้นสุดการครอง บัลลังก์เพียง 100 วันของนโปเลียน แล้วเขาก็เสียชีวิตบนเกาะนี้

ในปี ค.ศ. 1821 พระ เจ้าหลุยส์ที่ 18 กลับมาขึ้นครองราชย์อีกครั้ง แต่พระอนุชาคือ พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 10 ทรงพยายาม ฟื้นฟูระบบเก่าขึ้นมาอีก จึงมีการปฏิวัติขึ้นอีก พระเจ้าหลุยส์ฟิลิปซึ่งดำรงตำแหน่งกษัตริย์อยู่ ได้ถูกเนรเทศออกนอก ประเทศ และต่อมาก็ได้มีการสถาปนา สาธารณรัฐขึ้น เป็นครั้งที่ 2 โดยมีหลุยส์นโปเลียนทำการรัฐประหารตั้งตัวเองขึ้น เป็นจักรพรรดิ ซึ่งพระองค์ทำให้ชาติฝรั่งเศสมีความเข้มแข็ง มั่นคงขึ้น สภาพทุกอย่าง ในประเทศดีขึ้น และมีการขยาย อาณานิคมไปยังประเทศต่างๆ
ในปี ค.ศ. 1860 พระเจ้าหลุยส์นโปเลียน สถาปนาจักรพรรดิฝรั่งเศสในเม็กซิโกแต่ไม่สำเร็จ เพราะ ถูกอเมริกา ขัดขวางไว้ และยังต้องทำ สงคราม กับปรัสเซียอีก ฝรั่งเศสก็เป็นฝ่ายแพ้อีกครั้งและต้องเสียดินแดนในแคว้นอัลซาสให้แก่ ปรัสเซีย อีกด้วย ซึ่งทำให้พระองค์ต้องสละราชบัลลังก์
ใน ปี ค.ศ.1875 มีการสถาปนาฝรั่งเศสเป็นครั้งที่ 3 ยุคของนโปเลียนสิ้นสุดลง ทำให้ประเทศฝรั่งเศสอ่อนแอ เป็นอย่างมาก ต้องเสียดินแดน ให้ผู้รุกราน ประจวบกับเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น เป็นเหตุให้ฝรั่งเศส ยิ่งบอบช้ำ ขึ้นไปอีก ภายหลัง ได้มี ีการเซ็นสัญญาสงบศึกที่ Vinchy แล้วฝรั่งเศสก็ประกาศตัวเป็นอิสรภาพ โดยความช่วยเหลือ จากฝ่ายพันธมิตรต่างๆ ในเดือนกันยายนปี 1944 นายพลชาลส์เดอโกล์ ก็ได้ดำรงตำแหน่งผู้นำรัฐบาล ในปี ค.ศ.1946 ซึ่งเป็นยุคของสาธารณรัฐที่ 4
ระหว่างปี ค.ศ. 1946-1958 นายพลเดอโกล์ กลับมาดำรงตำแหน่งผู้นำอีกครั้ง ระหว่างที่ฝรั่งเศสเข้าร่วมวิกฤติการณ์ใน แอลจีเรีย เขาทำให้ ฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีสังคม เปลี่ยนไปสู่ระบบเศรษฐกิจ โดยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยี และพัฒนาฝรั่งเศสดีขึ้นในหลายๆด้าน ทำให้เป็นที่ ยอมรับจากผู้คนที่นิยมในตัวเขา และให้สถาปนาฝรั่งเศส เป็นสาธารณรัฐ เป็นครั้งที่ 5 ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1958-ปัจจุบัน ต่อมามีการชุมนุม ประท้วง รัฐบาลในกรุงปารีส ทำให้รัฐบาล ต้องยอมรับมติประชาชนที่ว่าด้วยการปฏิรูป กฎหมาย รัฐธรรมนูญนายพลเดอโกล์จึงขอลาออกจากตำแหน่ง
ในวันที่ 10 พ.ค. ปี ค.ศ. 1981 ฝรั่งเศสได้ประธานาธิบดีคนใหม่ ที่มาจากการเลือกตั้ง คือประธานาธิบดีฟรังซัวส์ มิตแตร์รองด์ ผู้สมัครจากพรรค สังคมนิยม จึงบริหารงานด้วยระบอบสังคมนิยม และอยู่ในต่ำแหน่ง 14 ปีด้วยกัน จนกระทั่งมีการเลือกตั้งใหม่ ซึ่ึงทำให้ นายฌาคส์ ชีรัค ผู้สมัครจาก พรรคสังคมนิยมเช่นเดียวกันเป็นผู้ชนะการเลือกตั้ง เข้ารับการเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ในเดือนมิถุนายน ปี ค.ศ.1995
สำหรับความสัมพันธ์ของไทยและฝรั่งเศสนั้น มีมาตั้งแต่ สมัยกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยของ สมเด็จ พระนารายณ์มหาราช แต่ก็ต้องสิ้นสุดลง เพราะ การเมือง การปกครองของฝรั่งเศสกำลังวุ่นวาย .. ในสมัยรัตนโกสินทร์ ตอนต้น ความสัมพันธ์กับฝรั่งเศสไม่ราบรื่น เพราะไทยพอใจทำการค้า กับจีน และมลายูมากกว่าประเทศ ทางยุโรป
จนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฝรั่งเศสเข้ามามีบทบาทมากขึ้น แต่จุดประสงค์ คือต้องการที่จะให้ไทยเป็นเมืองขึ้น แต่ด้วย พระปรีชาสามารถของพระองค์ทำให้รอดพ้นเหตุการณ์นั้นมาได้

ปัจจุบันประเทศไทย ก็ได้รับวัฒนธรรมต่างๆของฝรั่งเศสเข้ามา ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง.วันชาติฝรั่งเศส 




















บุลคลที่มีชื่อเสียง ของประทศฝรั่เศส

 หลุยส์ ปาสเตอร์ (Louis Pasteur) ( พ.ศ. 2365-2395) นักวิทยาศาสตร์สาขาชีววิทยา เกิดที่เมืองโดล ประเทศฝรั่งเศส ได้รับการศึกษาที่มหาวิทยาลัยเบซากองและมหาวิทยาลัยปารีส ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ในสถาบันการศึกษาที่สตราบวร์ก ลิลล์ และมหาวิทยาลัยปารีส และได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์สาขาเคมีที่มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ในปี พ.ศ. 2410

หลุยส์ ปาสเตอร์

หลุยส์ ปาสเตอร์
ปาสเตอร์เป็นผู้แถลงว่าการเน่าและการหมักเกิดจากเชื้อโรคหรือจุลินทรีย์ ปาสเตอร์ได้ค้นพบปรากฏการณ์นี้ในระหว่างการศึกษาว่าเหตุใดเหล้าองุ่นจึงเสียรสขณะบ่ม แต่เมื่อนำเหล้าองุ่นไปอุ่นให้ร้อนแล้วจึงป้องกันไม่เหล้าองุ่นกลายเป็นน้ำส้มสายชูได้ ซึ่งการกระทำลักษณะนี้ต่อมาได้พัฒนาเป็นการฆ่าเชื้อวิธีปาสเตอร์ (Pasteurization) การค้นพบนี้ทำให้สาขาวิชาจุลชีววิทยาโดดเด่นก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว
การทดลองที่มีชื่อเสียงของปาสเตอร์เมื่อปี พ.ศ. 2424 ที่พิสูจน์ให้เห็นว่าแกะและวัวที่ได้รับการฉีด “วัคซีน” ที่ทำจากเชื้อจุลินทรีย์บาซิลลิ ซึ่งเป็นเป็นสมติฐานของโรคแอนแทรคที่ถูกทำให้อ่อนจางลงของเขา สามารถต่อสู้กับโรคระบาดที่มีอันตรายของสัตว์คือโรคแอนแทรคดังกล่าวได้โดยไม่ติดโรค ในปี พ.ศ. 2431 สถาบันปาสเตอร์ได้รับการจัดตั้งขึ้นในกรุงปารีสเพื่อต่อสู้กับโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งปาสเตอร์ได้ทำงานประจำในสถาบันนี้จนถึงแก่กรรม
ปัจจุบัน สถาบันปาสเตอร์ยังคงเป็นสถาบันวิจัยที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกที่ยังคงทำงานวิจัยงานด้านจุล  ชีววิทยาอยู่ รวมทั้งการค้นพบเชื้อไวรัสเอชไอวี ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือเอดส์
หลุยส์ ปาสเตอร์ ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่โลก

มองเตสกิเออร์


ชื่อจริงบารอน เดอ มองเตสกิเออร์ (Baron de Montesquier)หรือ ชาร์ลส์ หลุยส์ เดอ
เซกกองดา (Chares Louis de Secondat)
ประวัติย่อขุนนางและนักกฏหมายชาวฝรั่งเศส
ผลงานสำคัญเป็นผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับทฤษฎีการเมือง การปกครอง และกฏหมาย เรื่องที่สำคัญคือ
The Spirit of Laws)เมื่อ ค.ศ. 1748 โดยเสนอให้แบ่งแยกอำนาจการปกครองเป็น
3ฝ่ายคือ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ เพื่อป้องกันมิให้ผู้ปกครองใช้
อำนาจหน้าที่เกินขอบเขต แนวความคิดเกี่ยวกับระบบคานอำนาจของมองเตสกิเออร์
ดังกล่าวกลายเป็นรากฐานของรัฐธรรมนูญการเมืองการปกครองของประเทศต่างๆ
ทั่วโลก มาจนถึงปัจจุบัน

               วอลแตร์



ชื่อจริงฟรังซัว มารี อารัวท์ (Francois Marie Arouet) หรือ
วอลแตร์ ( Voltaire )
ประวัติย่อนักคิด นักเขียน ชาวฝรั่งเศส ช่วง ค.ศ. 1694 - 1778 (อายุ 84 ปี)
สำเร็จการศึกษาด้านอัษราศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยกรุงปารีส
ผลงาสำคัญเขียนหนังสือวิจารณ์การเมือง ผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ Letters on the Rnglish
โดยมุ่งโจมตีสถาบันและกฏระเบียบที่ล้าหลังของฝรั่งเศส และเรียกร้องให้ปฏิรูปประเทศ
ฝรั่งเศส ให้ทันสมัยเหมือนกันประเทศอังกฤษ (ในค.ศ. 1734) แนวความคิดของวอลแตร์
มุ่งต่อต้านความไม่เป็รธรรมในสังคมและความเสื่อมของสถาบันพระคริสต์ศาสนา โดยมุ่ง
ให้แก้ไขปัญหาสังคมและการเมืองโดยใช้เหตุผลและสันติวิธี ไม่ส่งเสริมการนองเลือด

ชาร์ลส์ เดอ โกลล์ (Charles de Gaull)



ชื่อจริงชาร์ลส์ เดอ โกลล์ (Charles de Gaull)
ประวัติย่อประธานาธิบดีฝรั่งเศส ช่วง ค.ศ. 1890 - 1970 (อายุ 80 ปี)
ผลงานสำคัญเดอ โกล เป็นนายพลแห่งกองทัพฝรั่งเศส ในตอนต้นของสงครามโลกครั้งที่ 2
(ค.ศ. 1939 -1945) ได้ต่อต้านการรุกรานของกองทัพเยอรมันอย่างเข้มแข็ง
และต่อมาได้ดำตำแหน่งประธานาธิบดีชองฝรั่งเศส ตั้งแต่ ค.ศ. 1945 - 1946
และในช่วง ค.. 1958 - 1969 อีกครั้ง



นโปเลียน



ชื่อจริงจักรพรรดินโปเลียน โบนาปาร์ท (Napoleon Bonapart)
ประวัติย่อผู้นำของประเทศฝรั่งเศส มีความสามารถทางด้านการทหาร ช่วงค.ศ. 1769 - 1821
(อายุ 52 ปี) เดิมเป็นทหารยศสิบโทจากเกาะคอร์ซิกา เป็นคนเฉลียวฉลาดและ
ทะเยอทะยาน มีร่างกายเตี้ยเล็กสูงประมาณ 155 เซนติเมตร
ผลงานสำคัญเมื่อจบจากโรงเรียนทหารในฝรั่งเศสเมื่อปีค.ศ. 1785 ได้แสดงความสามารถด้านการ
ทหารจนได้รับตำแหน่งที่สูงขึ้น และหลังจากเกิดปฏิวัติครั้งใหญ่ในฝรั่งเศสเมื่อปีค.ศ.
1789 เขาได้นำทัพเข้าสู่สงครามในยุโรปและกลายเป็นวีรบุรุษของชาติ ในปีค.ศ.
1795 ได้เป็นหัวหน้าของรัฐบาลใหม่ จนกระทั่งงในปีค.ศ. 1804 จึงสถาปนา
ตนเองเป็นพระจักรพรรดิของฝรั่งเศสขยายอาณาเขตไปจนทั่วยุโรป
มารี และปิแอร์ คูรี





ชื่อเสียงมารี คูรี และ ปิแอร์ คูรี (Marie and Pierre Curie)
ประวัติย่อสามีภรรยาชาวฝรั่งเศส มารี (ค.ศ.1867 - 1934 อายุ 67 ปี) ส่วน ปิแอร์ คูรี
( ประสบอุบัติเหตุรถยนต์ชนเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1911)
ผลงานสำคัญทั้งสองเป็นนักวิทยาศาสตร์ ผู้ค้นพบ ธาตุเรเดียมและโปโลเนียม (Radium and
Polonium) ซึ่งเป็นสารกัมมันพภาพรังสี และต่อมาได้มีผู้นำไปศึกษาเกี่ยวกับ
โครงสร้างของอะตอม

วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

FLE - Aller CHEZ ou aller À? - cours



ALLER CHEZ ou ALLER À (au - aux) ?


Si - S'y


SI
Est utilisé pour marquer
La condition
Si je le vois, je lui dirai que je l'aime.
Si = 'au cas où ..'
Une affirmation
Si!!!!! tu as réussi !
Si = 'oui'
L'intensité
Il est si furieux que je n'ose pas lui parler.
Si = 'tellement'

S'Y
= Se Y = pronom complément d'un verbe pronominal.


Il va à l'école. Il s'y rend à pied.

Elle ne sait pas s'y prendre avec son balai!


ASTUCE :
Remplacez  le sujet 'il / elle' par JE, et 's'y' deviendra 'm'y' :
 Il s'y rend. Je m'y rends.
Quand on peut remplacer par 'm'y'  c'est que vous devez écrire ' s'y'
Quand on ne peut pas remplacer par 'm'y'  c'est que vous devez écrire ' si'
Il est si grand. Je suis m'y grand. (donc 'si')
À vous maintenant !






le temps le permet, demain nous partirons en randonnée.
Cette étoile était brillante qu'on aurait dit le soleil !
Il entend, lui, pour faire du charme aux filles ! j'étais aussi doué, je serais le plus heureux.
C'est bon de se retrouver chaque jour ici, tu ne penses pas?
Je ne sais pas vous avez appris votre leçon, mais apparemment, vous ne la savez pas !
Oh, Ces photos de paysages africains sont magnifiques, on croirait.
J'apprécie ce médecin, il prend à merveille avec les enfants.
Ne sois pas timide ! Tu peux rejoindre ton ami dans le jardin, il trouve.
je n'avais pas la vaisselle à faire, je serais à la plage avec les enfants.
Je suis heureux de t'entendre enfin chanter, il y a longtemps que j'attendais ce moment. 

Les expressions imagées d'Archibald

Une expression imagée - ou idiomatique - est une expression dont le sens est différent de la signification. Par exemple, lorsque l'on dit de quelqu'un qu'il nous casse les pieds, cela signifie qu'il nous ennuie, qu'il nous importune, et non qu'il nous brise les pieds avec un marteau !

Amusez-vous à (re)découvrir à quel point la langue française est amusante avec ces expressions imagées, mises en scène par notre héros, Archibald !

Lexique du travail

Nom de profession masculin / fémininคำนามอาชีพเพศชาย / เพศหญิง
Prononciation
คำอ่าน
Sens
ความหมาย
acteur / actrice อัก-เตอร์ / อัก-ทริซ(เซอ)นักแสดง
agent de police [n.m.]อะ-ชอง เดอ โป-ลิส(เซอ)เจ้าหน้าที่ตำรวจ
agriculteur / agricultriceอะ-กริ-กืล-เตอร์์ / อะ-กริ-กืล-ทริซ(เซอ)เกษตรกร
architecte [n.m. / n.f.]อะ-ชิ-เตก(เกอ)สถาปนิก
artisan / artisane
อาร์-ติ-ซอง / อาร์-ติ-ซาน(เนอ)
ช่างฝีมือ
artiste [n.m. / n.f.]อาร์-ติส(เตอ)ศิลปิน
avocat / avocate
อะ-โว-กา / อะ-โว-กัต(เตอ)
ทนายความ, นักกฎหมาย
   
banquier / banquière
บอง-กิ-เย / บอง-กิ-แย(เรอ)
นายธนาคาร, ผู้จัดการธนาคาร
bibliothéjcaire [n.m. / n.f.]บิ-บลิ-โอ-เต-แก(เลอ)บรรณารักษ์
bijoutier / bijoutière
บิ-ชู-ติ-เย / บิ-ชู-ติ-แย(เรอ)
ช่างทำ หรือ คนขายเครื่องประดับและทอง
blanchisseur / blanchisseuseบลอง-ชิส-เซอร์ / บลอง-ชิส-เซิส(เซอ)ช่างซักรีด
boutiquier / boutiquière
บู-ติ-กิ-เย / บู-ติ-กิ-แย(เรอ)
เจ้าของร้านขายของ
boulanger / boulangèreบู-ลอง-เช / บู-ลอง-แช(เรอ)คนทำ หรือ คนขายขนมปัง
boucher / bouchère
บู-เช / บู-แช(เรอ)
คนขายเนื้อ (วัว และ ม้า)
   
caissier / caissière
เกส-ซิ-เย / เกส-ซิ-แย(เรอ)
พนักงานรับจ่ายเงิน, แคชเชียร์
chanteur / chanteuseชอง-เตอร์ / ชอง-เติส(เซอ)นักร้อง
charcutier / charcutièreชาร์-กือ-ทิ-เย / ชาร์-กือ-ทิ-แย(เรอ)คนขายเนื้อหมูและผลิตภัณท์จากเนื้อหมู
chauffeur de taxi โช-เฟอร์ เดอ ตั๊ก-ซี่คนขับรถแท๊กซี่รับจ้าง
cheminot [n.m.] เชอ-มิ-โนพนักงานรถไฟ
chirurgien [n.m.] ชี-รือร์-เชียงศัลยแพทย์, หมอผ่าตัด
cinéaste [n.m. / n.f.] ซิ-เน-อาส(เตอ)ผู้สร้างภาพยนต์
coiffeur / coiffeuseก๊วฟ-เฟอร์ / ก๊วฟ-เฟิซ(เซอ)ช่างตัดผม, ช่างทำผม
comédien / comédienneโก-เม-เดียง / โก-เม-เดี้ยน(เนอ)นักแสดง(ละคร)
commerçant / commerçante
กอม-แมร์-ซอง / กอม-แมร์-ซอง(เตอ)
พ่อค้า, แม่ค้า, ผู้ขาย
comptable [n.m. / n.f.] กอง-ตาบ(เบลอ)สมุห์บัญชี, พนักงานบัญชี
concierge [n.m. / n.f.] กง-ซิ-แอช(เชอ)คนดูแลอาคารหรือห้องชุด
confiseur / confiseuseกง-ฟิิ-เซอร์ / กง-ฟิ-เซิส(เซอ)คนขายลูกอม, ลูกกวาด, ช็อกโกแลต
constructeur / constructriceกง-สทรืก-เตอร์์ / กง-สทรืก-ทริซ(เซอ)ผู้ผลิต, ผู้สร้าง
couturier / couturièreกู-ตือ-ริ-เย / กู-ตือ-ริิ-แย(เรอ)ช่างตัดเสื้อสตรี, ดีไซเนอร์
crémier / crémière
เคร-มิ-เย / เคร-มิ-แย(เรอ)
ูคนขายนม, เนย, ไข่
cuisinier / cuisinièreกุย-ซิ-นิ-เย / กุย-ซิ-นิ-แย(เรอ)พ่อครัว / แม่ครัว
cultivateur / cultivatriceกุล-ติ-วา-เตอร์ / กุล-ติิ-วา-ทริซ(เซอ)เกษตรกร
   
dactylographe, dactylo [n.m. / n.f.]
ดัก-ติ-โล-กราฟ(เฟอ), ดัก-ติ-โล
พนักงานพิมพ์ดีด
danseur / danseuseดอง-เซอร์ / ดอง-เซิส(เซอ)นักเต้น, นักรำ
décorateur / décoratriceเด-กอ-รา-เตอร์ / เด-กอ-รา-ทริส(เซอ)นักตกแต่ง, มัณฑนากร
dentiste [n.m. / n.f.] ดอง--ติส(เตอ)ทันตแพทย์
détaillant / détaillanteเด-ตาย-ยอง(เตอ) / เด-ตาย-ยอง(เตอ)พ่อค้า, แม่ค้าขายปลีก
   
écrivain / écrivaine [เพศหญิงยังมีไม่นานนัก]เอ-ครี-แวง / เอ-ครี-แวน(เนอ)นักเขียน
électricien / électricienne
เอ-เล-ทริ-เซียง / เอ-เล-ทริ-เซียน(เนอ)
ช่างไฟฟ้า
éleveur / éleveuse (de poissons, ...)เอ-เลอ-เวอร์ / เอ-เลอ-เวิส(เซอ)ผู้เลี้ยง (ปลา, ...)
employé / employée ออง-ปลัว-เย่พนักงาน, ลูกจ้าง
épicier / épicièreเอ-ปิ-ซิ-เย / เอ-ปิ-ซิิ-แย(เรอ)คนขายของชำ
   
fabricant / fabricanteฟา-บริ-กอง / ฟา-บริ-กอง(เตอ)ผู้ผลิต
facteur [n.m.] ฟัก-เตอร์บุรุษไปรณีย์
femme de ménage [n.f.]ฟาม(เมอ) เดอ เม-นาช(เชอ)ผู้หญิงรับจ้างทำงานบ้านหรือทำความสะอาด
fermier / fermière แฟร์-มิ-เย / แฟร์-มิ-แย(เรอ)คนทำฟาร์ม, เกษตรกร
fleuriste [n.m. / n.f.] เฟลอ-ริส(เตอ)คนขายดอกไม้
fonctionnaire [n.m. / n.f.] ฟง-ซิ-ยอน-แน(เรอ)ข้าราชการ
fruitier / fruitière ฟรุย-ทิ-เย / ฟรุย-ทิ-แย(เรอ)คนขายผลไม้
   
garagiste [n.m. / n.f.] กา-รา-ชิส(เตอ)ช่างซ่อมรถยนต์, เจ้าของอู่รถ
gardien / gardienne การ์-เดียง / การ์-เดียน(เนอ)ยาม, ผู้รักษาความปลอดภัย
gendarme [n.m.] ชอง-ดาร์ม(เมอ)ตำรวจ
grossiste [n.m. / n.f.] โกรส-ซิส(เตอ)พ่อค้าขายส่ง
guide [n.m. / n.f.] กีด(เดอ)มัคคุเทศก์, ไกด์
   
horloger / horlogère ออร์-ลอ-เช / ออร์-ลอ-แช(เรอ)ช่างทำหรือช่าซ่อมนาฬิกา
hôtelier / hôtelière โอ-แตล-ลิ-เย / โอ-แตล-ลิ-แย(เรอ)ผู้บริหารโรงแรม
hôtesse de l'air [n.f.]โอ-แตส เดอ แลร์พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน(หญิง)
   
industriel [n.m.] แอง-ดืส-ทริ-แอลนักอุตสาหกรรม
ingénieur [n.m.] แอง-เช-นิ-เยอ วิศวกร
infirmier / infirmière แอง-เฟียร์-มิ-เย / แอง-เฟียร์-มิ-แย(เรอ)บุรุษพยาบาล / นางพยาบาล
informaticien / informaticienneแอง-ฟอร์-มา-ติ-เซียง / แอง-ฟอร์-มา-ติ-เซียน(เนอ)ผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์, วิศวกรคอมพิวเตอร์
instituteur / institutriceแอง-สติ-ตือ-เตอร์ / แอง-สติ-ตือ-ทริซ(เซอ)ครูอนุบาลหรือประถม
interprèteแอง-แตร์-แพร๊ต(เตอ)ล่าม
   
jardinier / jardinière ชา-ดิ-นิ-เย / ชา-ดิ-นิ-แย(เรอ)คนทำสวน
joaillier / joaillièreโช-ไอ-ยิ-เย / โช-ไอ-ยิ-แย(เรอ)ช่างทำหรือพ่อค้าเพชรพลอย
journaliste [n.m. / n.f.]ชูร์-นา-ลิส(เตอ)นักข่าว, นักหนังสือพิมพ์
   
libraire [n.m. / n.f.] ลิ-แบร(เรอ)คนขายหรือเจ้าของร้านหนังสือ
livreur / livreuseลิ-เวรอร์ /ลิ-เวริส(เซอ)คนส่งของร้านค้า
   
maître d'hôtel [n.m.]แม๊ต(เทรอ) โด-แตลกัปตันร้านอาหาร
mannequin [n.m.]มาน(เนอ)-แก็งนายแบบ, นางแบบเดินแสดงแบบเสื้อผ้า
maraîcher / maraîchèreมา-แรช-เช / มา-แรช-แช(เรอ)คนปลูกผัก
marchand / marchande (de fruits, ...)มาร์-ชอง / มาร์-ชอง(เดอ)พ่อค้า, แม่ค้า, ผู้ขาย (ผลไม้,...)
mécanicien / mécanicienneเม-กา-นิ-เซียง / เม-กา-นิ-เซียน(เนอ)ช่างซ่อมรถยนต์, พนักงานขับรถไฟ
menuisier [n.m] เมอ-นุย-ซิ-เยช่างไม้, ช่างเฟอร์นิเจอร์
médecin [n.m] เมด-แซงหมอ, แพทย์
metteur en scène / metteuse en scèneเมต-เตอร์ ออง แซน(เนอ) / เมต-เติส(เซอ) ...ผู้กำกับภาพยนต์
moniteur / monitrice (d'auto-école, ...)โม-นิ-เตอร์ / โม-นิ-ทริซ(เซอ)ครูฝึก, ผู้ฝึกสอน เช่นครูสอนขับรถ
musicien / musicienneมือ-สิ-เซียง / มือ-สิ-เซียน(เนอ)นักดนตรี
   
négociant / négocianteเน-โก-ซิ-ยอง / เน-โก-ซิ-ยอง(เตอ)พ่อค้า, แม่ค้า
   
opérateur / opératrice โอ-เป-รา-เตอร์ / โอ-เป-รา-ทริซ(เซอ)พนักงานรับโทรศัพท์
opticien / opticienneออป-ติ-เซียง / ออป-ติ-เซียน(เนอ)ช่างวัดและตัดแว่นสายตา์
orfèvre [n.m] ออ-แฟฟ(เวรอ)ช่างเงินช่างทอง
ouvrier / ouvrièreอู-วริ-เย / อู-วริ-แย(เรอ)กรรมกร, ผู้ใช้แรงงาน
   
papetier / papetièreปา-เป็ต-ติ-เย / ปา-เป็ต-ต-แย(เรอ)คนขายหรือเจ้าของร้านเครื่องเขียน
parfumeur / parfumeuse ปาร์-ฟืม-เมอร์ / ปาร์-ฟืม-เมิส(เซอ)ผู้ผลิตหรือขายนํ้าหอม
pâtissier / pâtissièreปา-ติส-สิ-เย / ปา-ติส-สิ-แย(เรอ)คนขายหรือคนทำขนมเบเกอรีหรือขนมหวาน
peintre [n.m.] แป๊ง(เทรอ)จิตรกร, ช่างทาสี
photographe [n.m. / n.f.] โฟ-โต-กร๊าฟ(เฟอ)ช่างภาพ
pilote [n.m. / n.f.] ปิ-ล๊อต(เตอ)นักบิน, นักขับรถแข่ง, คนนำร่องตามท่าเรือ
plombier [n.m.] ปลง-บิ-เยช่างประปา
pompier [n.m.] ปง-ปิ-เยพนักงานดับเพลิง
postier / postièreโปส-ติ-เย / โปส-ติ-แย(เรอ)พนักงานไปรษณีย์
présentateur / présentatriceเพร-ซอง-ตา-เตอร์ / เพร-ซอง-ตา-ทริซ(เซอ)โฆษก, พิธีกร, ผู้นำเสนอรายการ
professeur [n.m] โพร-เฟส-เซอร์อาจารย์โรงเรียนมัธยมหรือมหาวิทยาลัย
   
quincaillier / quincaillièreแกง-ไก-ยิ-เย / แกง-ไก-ยิ-แย(เรอ)คนขายเครื่องเหล็ก
   
réalisateur / réalisatriceเร-อัล-ลิ-ซา-เตอร์ / เร-อัล-ลิ-ซา-ทริซ(เซอ)ผู้กำกับภาพยนต์
reporter [n.m.] เรอ-ปอร์-แตร์ผู้รายงานข่าว
   
secrétaire [n.m. / n.f.] เซอ-เคร-แต(เรอ)เลขานุการ
serveur / serveuse แซร์-เวอร์ / แซร์-เวิส(เซอ)บริกร, พนักงานเสิร์ฟ
steward [n.m.] สจู-วาร์ต (หรือ) สติ-วาร์ตสจ๊วต, พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน(ชาย)
styliste [n.m. / n.f.] สติ-ลิส(เตอ)นักออกแบบเสื้อผ้าหรือเครื่องเรือน
   
tailleur [n.m.]ไต-เยอร์ช่างตัดเสื้อผ้าผู้ชาย
technicien / technicienneเต็ก-นิ-เซียง / เต็ก-นิ-เซียน(เนอ)ช่างเทคนิค, ผู้ชำนาญการทางช่าง
teinturier / teinturièreแต๊ง-ตือ-ริ-เย / แต๊ง-ตือ-ริ-แย(เรอ)ช่างหรือเจ้าของร้านซักรีด
tisserand / tisserandeติส-เซอ-รอง / ติส-เซออ-รอง(เดอ)ช่างทอผ้า
traiteur / traiteuseแทร๊ต-เตอร์ / แทร๊ต-เติ๊ส(เซอ)คนทำอาหารสำเร็จรูปสำหรับผู้คนซื้อกลับบ้าน
   
vendeur / vendeuseวอง-เดอร์ / วอง-เดิส(เซอ)พนักงานขาย, คนขาย
vétérinaireเว-เต-ริ-แน(เรอ)สัตวแพทย์

Jeanne d'Arc วีรสตรี แม่มด และนักบุญ






Jeanne d'Arc (1412 - 1431)


Jehanne Darc หรือJoan of Arc

ในบรรดาสตรีที่เหลือชื่ออยู่ในประวัติศาสตร์โลกนั้น คงจะไม่เป็นที่

ปฏิเสธว่าชื่อของแจนน์ ดาร์คคงจะเป็นที่จดจำ ทั้งในฐานะนักบุญ

ของศาสนาคริสต์ และในฐานะวีรสตรีที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งเท่าที่

ฝรั่งเศสเคยมีมา ชีวิตของเธอผกผันราวกับละครเรื่องยาว....จากสาว

ชาวบ้านไปเป็นวีรสตรี จากวีรสตรีไปเป็นแม่มด และจากแม่มดไปเป็น

นักบุญ จนทุกวันนี้ เรื่องราวของแจนน์ ดาร์คก็ยังมีอิทธิพลต่อเมเดีย

ต่างๆมากมาย ซึ่งไม่จำกัดอยู่เฉพาะในฝรั่งเศสเท่านั้น

คุณ meekun ขอบคุณมากค่ะสำหรับรีเควส


บ้านเกิดของแจนน์ ดาร์ค ปัจจุบันเป็นพิพิทธพันธ์

โดยบันทึกของศาลฟื้นฟูคดีของแจนน์ ดาร์ค (ที่ถูกคือ Jehanne

 Darc ส่วนJeanne d'Arc เป็นคำสะกดที่เปลี่ยนแปลงในยุคหลัง)

 เกิดเมื่อวันที่ 6 มกราคม 1421 ที่หมู่บ้านดอมเรมี่ ในแคว้นลอร์เรน 

ประเทศฝรั่งเศส เป็นบุตรของแจ็ค ดาร์ค และอิซาเบล โรเม่

นอร์มังดี (พื้นที่ทางตอนเหนือของฝรั่งเศส) ในยามนั้นถูกยึดครอง

โดยอังกฤษ และหลังจากที่พระเจ้าชาร์ลสที่ 6 ทรงสวรรคตไปเมื่อปี 

1422 บังลังค์ฝรั่งเศสก็ว่างเปล่ามาตลอด พระเจ้าชาร์ลสที่ 6 ทรงมี

เจ้าชายรัชทายาทคือเจ้าฟ้าชายชาร์ลส (พระเจ้าชาร์ลสที่ 7 ในภาย

หลัง) ก็จริง แต่เนื่องจากการลงนามใน Treaty of Troyesเพื่อยุติ

สงครามร้อยปีและสงครามอกินคอร์ทระหว่างพระเจ้าชาร์ลสที่ 6 และ

(สนธิสัญญากล่าวว่า พระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 จะแต่งงานกับแคทเธอรีนซึ่ง

เป็นบุตรสาวของพระเจ้าชาร์ลสที่ 6 แล้วลูกของทั้งสองจะเป็นผู้

สืบทอดบังลังค์ของทั้งสองประเทศ) ซึ่งทำให้สิทธิ์ในบังลังค์ถูกแย่ง

ไปจากเจ้าฟ้าชายชาร์ลส และมีขุนนางฝรั่งเศสจำนวนมากที่ไม่เห็น

ด้วยต่อข้อตกลงนี้





* สงครามในเวลาดังกล่าวถูกพูดถึงว่าเป็นสงครามระหว่างอังกฤษ

และฝรั่งเศส แต่ในความจริง เวลานั้นยังไม่มีการก่อตั้งประเทศอย่า

งเป็นทางการจะอย่างไรก็ดี ราชวงศ์อังกฤษในเวลาดังกล่าวก็มีต้น

กำเนิดในสายมารดามาจากฝรั่งเศสเช่นกัน จึงกล่าวได้ว่าพระเจ้าเฮ

นรี่ที่ 6 ก็มีสิทธิ์ในบังลังค์ฝรั่งเศสด้วย หากเกี่ยวกับข้อนี้ ขึ้นอยู่กับว่า

ประเทศดังกล่าวยึดหลักว่าสิทธิ์ที่ถูกถ่ายทอดไปจะมีผลต่อบุตรชาย

สายตรงเท่านั้น หรือจะยินยอมรับบุตรที่เกิดจากบุตรสาวซึ่งแต่งงาน

ไปยังตระกูลอื่นด้วย แน่นอนว่าฝ่ายพระเจ้าชาร์ลสที่ 7 ย่อมเป็นพวกแรก

ฤดูร้อนปี 1452 แจนน์ได้ยิน"เสียง"ของเซนต์แคทรีน เซนต์ไมเคิ่ล 

และเซนต์มาร์กาเร็ต บอกให้เธอไปพบกับเคาทน์โรเบิร์ต เดอ บาว์ดริ

คอร์ท เพื่อทำการปลดปล่อยลอร์เรนและช่วยฝรั่งเศส

เดือนพฤษภาคม 1428 แจนน์เดินทางไปพบกับเคาทน์บาว์ดริคอร์ท 

หากก็ถูกปฏิเสธการเข้าพบ จนกระทั่งกุมภาพันธ์ปี 1429 เคาทน์บาว์

ดริคอร์ทจึงยอมพบกับเธอ เขามอบเสื้อผ้าผู้ชาย ม้าและผู้ติดตาม 6 

คนให้กับแจนน์และส่งเธอไปหาเจ้าฟ้าชายชาร์ลสที่จีน่อน



หนึ่งในเอกสารหายากที่เหลืออยู่ ลายเซ็นต์ของแจนน์

เห็นได้ว่าเธอเขียน n เป็น m เนื่องจากเธออ่านเขียนไม่ได้


ในยามนั้น แคว้นลอร์เรนเป็นดินแดนของฝ่ายชาร์ลสที่ถูกล้อมโดยดิน

แดนของฝ่ายศัตรู แจนน์ที่เดินทางไปพบเจ้าฟ้าชายชาร์ลสจะต้อง

เดินทางกว่า 600 กิโลเมตรผ่านกลางกองทัพศัตรูเพื่อจะไปให้ถึงจีน่

อน ซึ่งโดยความช่วยเหลือของผู้ส่งสารของเจ้าฟ้าชายชาร์ลส แจนน์

ผ่านอุปสรรคแรงนี้ได้ด้วยเวลาเพียง 11 วัน กล่าวกันว่า โดย

ปราศจากความช่วยเหลือของผู้ส่งสารดังกล่าวนี้แล้ว คงเป็นการยาก

ที่แจนน์จะไปถึงจีน่อนได้

เจ้าฟ้าชายชาร์ลสที่รอแจนน์อยู่นั้นทรงนึกสนุกเล่นเกมขึ้นม

 พระองค์แต่งตัวให้ไม่สมฐานะแล้วยืนปะปนอยู่ในหมู่คนสนิท หาก

แจนน์ก็หาพระองค์พบแทบในทันที่ที่เธอมาถึง ทั้งสองได้คุยกัน

เป็นการส่วนตัว ซึ่งกล่าวกันว่าแจนน์ได้บอกถึงความลับ* ซึ่งยืนยัน

สิทธิ์ในราชบังลังค์ของเจ้าฟ้าชายชาร์ลสตามที่ได้ยินมาจาก"เสียง

"

 เจ้าฟ้าชายชาร์ลสจึงเชื่อว่าพระเจ้าเป็นผู้ส่งเธอมาจริง คนของโบสถ์

ซึ่ในครั้งแรกยังสงสัยในตัวแจนน์อยู่ หลังจากการตัดสินกว่า 3 วันที่

พอยติเออร์ พวกเขาก็ยอมรับเธอในที่สุด




* แจนน์ปฏิเสธที่จะบอกคนอื่นว่าความลับดังกล่าวคืออะไรกระทั่งระหว่างการพิพากษาลงโทษในภายหลัง แม้แต่ในปัจจุบัน ความลับ


ดังกล่าวก็ยังคงเป็นความลับอยู่


เมษายน 1429 แจนน์มุ่งไปยังออร์ลีนส์ซึ่งถูกอังกฤษล้อมอยู่ โดยมี

จีน เดอลีนส์, ราอีลและ กิลส์ เดอ เรยส์เป็นเพื่อนร่วมรบ แจนน์ต่อสู้

กับกองทัพอังกฤษด้วยความห้าวหาญ ระหว่างการต่อสู้นี้ แจนน์ถูกยิง

ด้วยธนูที่ไหล่ซ้าย บาดแผลไม่มีอันตรายถึงชีวิต แต่เธอก็ถึงกับ

ร้องไห้ออกมาด้วยความตระหนก กล่าวกันว่าที่เรื่องราวของแจนน์เป็น

ที่ประทับใจมาจนทุกวันนี้นั้น อยู่ที่เหตุผลว่าแต่เดิมเธอเป็นเพียงเด็ก

สาวชาวบ้านธรรมดาที่ลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อประเทศนี่เอง แจนน์หลีก

เลี่ยงที่จะฆ่าคน เธอจึงมักจะถือธงนำทัพแล้วบุกนำทหารเข้าต่อสู้

พร้อมกับร้องตะโกนเพื่อปลุกขวัญกำลังใจพวกพ้อง และด้วยการที่

แจนน์กระทำหน้าที่ซึ่งเต็มไปด้วยอันตรายด้วยตนเองนี่เองที่ทำให้

ทหารสามารถต่อสู้ด้วยความกล้าหาญและปลดปล่อยออร์ลีนส์เป็น

อิสระในอีก 7 เดือนให้หลัง


รูปของแจนน์ที่เครแมน เดอ โฟแกนเบิร์ก วาดเล่นในเอกสารเมื่อปี 

1429


วาดโดยจับลักษณะเด่นของแจนน์ได้ดีมาก


แจนน์ยืนกรานว่าพิธีราชาภิเษกของเจ้าฟ้าชายชาร์ลสจะต้องจัดขึ้นที่

เรมส์ เนื่องจากพระเจ้าคลอวิสที่ 1 ซึ่งเป็นต้นตระกูลของราชวงศ์

ฝรั่งเศสได้รับศีลล้างบาปที่เรมส์ และกษัตริย์ของฝรั่งเศสแต่ละองค์

ต่างก็ประกอบพิธีที่นี่ เพื่อที่จะประกาศสิทธิ์อันถูกต้องของเจ้าฟ้าชาย

ชาร์ลส ไม่ว่าเช่นไรก็ต้องจัดพิธีขึ้นที่เรมส์ให้ได้


การจะไปยังเรมส์นั้น ต้องมีการปะทะกับกองทัพอังกฤษอย่างหลีก

เลี่ยงไม่ได้ แต่สุดท้ายข้อเสนอของแจนน์ก็ได้รับการยอมรับ เจ้าฟ้า

ชายชาร์ลสมุ่งหน้าไปยังเรมส์ ระหว่างการเดินทางก็รับเอาหัวเมือง

ต่างๆที่เข้ามาสวามิภักษ์ไว้ในปกครอง และในวันที่ 17 กรกฎาคม 1429 ก็ทรงขึ้นครองราชเป็นพระเจ้าชาร์ลสที่ 7 กษัตริย์โดยถูกต้องของฝรั่งเศสในที่สุด
หากในพิธีราชาภิเษก มีคนของฝ่ายเบอร์กันดีซึ่งเป็นศัตรูถูกเชิญมา

ด้วย ขุนนางของพระเจ้าชาร์ลสที่ 7 ได้เตรียมวางแผนการปกครอง

ใหม่ไว้แล้ว มาถึงตอนนี้ กองกำลังของแจนน์ก็ค่อยๆกลายมาเป็นก้าง

ขวางคอสำหรับฝ่ายเคาทน์อาลังซอนซึ่งยึดหลักการทหารในการ

ปลดปล่อยฝรั่งเศสเสียแล้ว

แจนน์ต้องต่อสู้อย่างโดดเดี่ยวในราชวัง เธอมีความเห็นว่าควรที่จะชิง

ปารีสกลับมาเพื่อเป็นฐานอันมั่นคงให้กับพระเจ้าชาร์ลส หากขุนนาง

ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยและพอใจต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน ผลทำให้

แจนน์ต้องออกรบโดยไม่มีการช่วยเหลือที่เป็นรูปร่างจากกลุ่มขุนนาง

23 พฤษภาคม 1430 แจนน์ถูกจับโดยฟิลิปป์ที่ 3 ที่แคว้นเบอร์กันดี

และหลังจากนั้นถูกส่งมอบตัวให้กับกองทัพอังกฤษ วันที่ 24 

ธันวาคมปีเดียวกัน เธอถูกนำตัวไปคุมขังที่รูน



21 กุมภาพันธ์ 1431 การสอบสวนคนนอกรีตเริ่มขึ้นโดยมีชอง ลู เมย์

ทอสเป็นประธาน หากเมย์ทอสกังขาในความเที่ยงธรรมของการ

สอบสวนนี้จึงแทบไม่ได้ปรากฏตัวในศาลเลย แม้แต่ในการตัดสิน

อย่างเป็นทางการ เขาก็ปิดปากเงียบตลอดเวลา บิชอปแชง ปิแอร์ 

โคชอง พร้อมกับผู้เกี่ยวข้องกับโบสถ์จำนวนกว่า 60 คนจึงเป็นผู้

ดำเนินการสอบสวนแทน



30 พฤษภาคม คณะสืบสวนประกาศว่าแจนน์เป็นคนนอกรีตและขับ

ไล่เธอจากการเป็นคริสเตียน และตัดสินให้แจนน์ถูกลงโทษด้วยการ

เผาทั้งเป็นโดยกองทัพอังกฤษ


อย่างเคยกล่าวไว้ในเอนทรี่ของ"กิลส์ เดอ เรยส์"แล้วว่าโทษเผาทั้ง

เป็นนั้นเป็นการลงโทษที่จัดว่าทารุณทั้งต่อร่างกายและจิตใจเป็นที่สุด

ในยามนั้น นอกจากนี้ เถ้าศพของแจนน์ยังถูกโปรยลงแม่น้ำเซนเพื่อ

ให้ร่างของเธอไม่สามารถกลับสู่ดินเพื่อวันแห่งการพิพากษาได้ นับ

ได้ว่าโทษที่แจนน์ได้รับนั้นเป็นโทษสาหัสอย่างที่สุดสำหรับชาว

คริสต์ในสมัยนั้นทีเดียว

หลังการตายของแจนน์ อิซาเบล โรเม่ ผู้เป็นแม่ของเธอได้ย้ายไปอยู่

ที่ออร์ลีนส์หลังจากที่สามีเสียชีวิต และใช้ชีวิตบั้นปลายทั้งหมดของ

ตนในการยืนยันความบริสุทธิ์ของแจนน์และเพื่อให้โบสถ์ยอมรับ

แจนน์กลับมาเป็นคริสตศาสนิกชนอีกครั้ง ศาลยอมรับให้คำตัดสินที่

รูนเป็นโมฆะในปี 1456และอีกเพียง 2 ปีหลังจากนั้น อิซาเบลก็ลา

จากโลกนี้ไป

18 เมษายน 1909 พระสันตปาปาปิโอที่ 10 ประกาศให้แจนน์ ดาร์ค

เป็นบุญราศี และในวันที่ 16 พฤษภาคม 1920 พระสันตปาปาเบเน

ดิกต์ที่ 15 ก็ยกเธอขึ้นเป็นนักบุญในที่สุด