วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556


Jeanne d'Arc วีรสตรี แม่มด และนักบุญ






Jeanne d'Arc (1412 - 1431)


Jehanne Darc หรือJoan of Arc

ในบรรดาสตรีที่เหลือชื่ออยู่ในประวัติศาสตร์โลกนั้น คงจะไม่เป็นที่

ปฏิเสธว่าชื่อของแจนน์ ดาร์คคงจะเป็นที่จดจำ ทั้งในฐานะนักบุญ

ของศาสนาคริสต์ และในฐานะวีรสตรีที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งเท่าที่

ฝรั่งเศสเคยมีมา ชีวิตของเธอผกผันราวกับละครเรื่องยาว....จากสาว

ชาวบ้านไปเป็นวีรสตรี จากวีรสตรีไปเป็นแม่มด และจากแม่มดไปเป็น

นักบุญ จนทุกวันนี้ เรื่องราวของแจนน์ ดาร์คก็ยังมีอิทธิพลต่อเมเดีย

ต่างๆมากมาย ซึ่งไม่จำกัดอยู่เฉพาะในฝรั่งเศสเท่านั้น

คุณ meekun ขอบคุณมากค่ะสำหรับรีเควส


บ้านเกิดของแจนน์ ดาร์ค ปัจจุบันเป็นพิพิทธพันธ์

โดยบันทึกของศาลฟื้นฟูคดีของแจนน์ ดาร์ค (ที่ถูกคือ Jehanne

 Darc ส่วนJeanne d'Arc เป็นคำสะกดที่เปลี่ยนแปลงในยุคหลัง)

 เกิดเมื่อวันที่ 6 มกราคม 1421 ที่หมู่บ้านดอมเรมี่ ในแคว้นลอร์เรน 

ประเทศฝรั่งเศส เป็นบุตรของแจ็ค ดาร์ค และอิซาเบล โรเม่

นอร์มังดี (พื้นที่ทางตอนเหนือของฝรั่งเศส) ในยามนั้นถูกยึดครอง

โดยอังกฤษ และหลังจากที่พระเจ้าชาร์ลสที่ 6 ทรงสวรรคตไปเมื่อปี 

1422 บังลังค์ฝรั่งเศสก็ว่างเปล่ามาตลอด พระเจ้าชาร์ลสที่ 6 ทรงมี

เจ้าชายรัชทายาทคือเจ้าฟ้าชายชาร์ลส (พระเจ้าชาร์ลสที่ 7 ในภาย

หลัง) ก็จริง แต่เนื่องจากการลงนามใน Treaty of Troyesเพื่อยุติ

สงครามร้อยปีและสงครามอกินคอร์ทระหว่างพระเจ้าชาร์ลสที่ 6 และ

(สนธิสัญญากล่าวว่า พระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 จะแต่งงานกับแคทเธอรีนซึ่ง

เป็นบุตรสาวของพระเจ้าชาร์ลสที่ 6 แล้วลูกของทั้งสองจะเป็นผู้

สืบทอดบังลังค์ของทั้งสองประเทศ) ซึ่งทำให้สิทธิ์ในบังลังค์ถูกแย่ง

ไปจากเจ้าฟ้าชายชาร์ลส และมีขุนนางฝรั่งเศสจำนวนมากที่ไม่เห็น

ด้วยต่อข้อตกลงนี้





* สงครามในเวลาดังกล่าวถูกพูดถึงว่าเป็นสงครามระหว่างอังกฤษ

และฝรั่งเศส แต่ในความจริง เวลานั้นยังไม่มีการก่อตั้งประเทศอย่า

งเป็นทางการจะอย่างไรก็ดี ราชวงศ์อังกฤษในเวลาดังกล่าวก็มีต้น

กำเนิดในสายมารดามาจากฝรั่งเศสเช่นกัน จึงกล่าวได้ว่าพระเจ้าเฮ

นรี่ที่ 6 ก็มีสิทธิ์ในบังลังค์ฝรั่งเศสด้วย หากเกี่ยวกับข้อนี้ ขึ้นอยู่กับว่า

ประเทศดังกล่าวยึดหลักว่าสิทธิ์ที่ถูกถ่ายทอดไปจะมีผลต่อบุตรชาย

สายตรงเท่านั้น หรือจะยินยอมรับบุตรที่เกิดจากบุตรสาวซึ่งแต่งงาน

ไปยังตระกูลอื่นด้วย แน่นอนว่าฝ่ายพระเจ้าชาร์ลสที่ 7 ย่อมเป็นพวกแรก

ฤดูร้อนปี 1452 แจนน์ได้ยิน"เสียง"ของเซนต์แคทรีน เซนต์ไมเคิ่ล 

และเซนต์มาร์กาเร็ต บอกให้เธอไปพบกับเคาทน์โรเบิร์ต เดอ บาว์ดริ

คอร์ท เพื่อทำการปลดปล่อยลอร์เรนและช่วยฝรั่งเศส

เดือนพฤษภาคม 1428 แจนน์เดินทางไปพบกับเคาทน์บาว์ดริคอร์ท 

หากก็ถูกปฏิเสธการเข้าพบ จนกระทั่งกุมภาพันธ์ปี 1429 เคาทน์บาว์

ดริคอร์ทจึงยอมพบกับเธอ เขามอบเสื้อผ้าผู้ชาย ม้าและผู้ติดตาม 6 

คนให้กับแจนน์และส่งเธอไปหาเจ้าฟ้าชายชาร์ลสที่จีน่อน



หนึ่งในเอกสารหายากที่เหลืออยู่ ลายเซ็นต์ของแจนน์

เห็นได้ว่าเธอเขียน n เป็น m เนื่องจากเธออ่านเขียนไม่ได้


ในยามนั้น แคว้นลอร์เรนเป็นดินแดนของฝ่ายชาร์ลสที่ถูกล้อมโดยดิน

แดนของฝ่ายศัตรู แจนน์ที่เดินทางไปพบเจ้าฟ้าชายชาร์ลสจะต้อง

เดินทางกว่า 600 กิโลเมตรผ่านกลางกองทัพศัตรูเพื่อจะไปให้ถึงจีน่

อน ซึ่งโดยความช่วยเหลือของผู้ส่งสารของเจ้าฟ้าชายชาร์ลส แจนน์

ผ่านอุปสรรคแรงนี้ได้ด้วยเวลาเพียง 11 วัน กล่าวกันว่า โดย

ปราศจากความช่วยเหลือของผู้ส่งสารดังกล่าวนี้แล้ว คงเป็นการยาก

ที่แจนน์จะไปถึงจีน่อนได้

เจ้าฟ้าชายชาร์ลสที่รอแจนน์อยู่นั้นทรงนึกสนุกเล่นเกมขึ้นม

 พระองค์แต่งตัวให้ไม่สมฐานะแล้วยืนปะปนอยู่ในหมู่คนสนิท หาก

แจนน์ก็หาพระองค์พบแทบในทันที่ที่เธอมาถึง ทั้งสองได้คุยกัน

เป็นการส่วนตัว ซึ่งกล่าวกันว่าแจนน์ได้บอกถึงความลับ* ซึ่งยืนยัน

สิทธิ์ในราชบังลังค์ของเจ้าฟ้าชายชาร์ลสตามที่ได้ยินมาจาก"เสียง

"

 เจ้าฟ้าชายชาร์ลสจึงเชื่อว่าพระเจ้าเป็นผู้ส่งเธอมาจริง คนของโบสถ์

ซึ่ในครั้งแรกยังสงสัยในตัวแจนน์อยู่ หลังจากการตัดสินกว่า 3 วันที่

พอยติเออร์ พวกเขาก็ยอมรับเธอในที่สุด




* แจนน์ปฏิเสธที่จะบอกคนอื่นว่าความลับดังกล่าวคืออะไรกระทั่งระหว่างการพิพากษาลงโทษในภายหลัง แม้แต่ในปัจจุบัน ความลับ


ดังกล่าวก็ยังคงเป็นความลับอยู่


เมษายน 1429 แจนน์มุ่งไปยังออร์ลีนส์ซึ่งถูกอังกฤษล้อมอยู่ โดยมี

จีน เดอลีนส์, ราอีลและ กิลส์ เดอ เรยส์เป็นเพื่อนร่วมรบ แจนน์ต่อสู้

กับกองทัพอังกฤษด้วยความห้าวหาญ ระหว่างการต่อสู้นี้ แจนน์ถูกยิง

ด้วยธนูที่ไหล่ซ้าย บาดแผลไม่มีอันตรายถึงชีวิต แต่เธอก็ถึงกับ

ร้องไห้ออกมาด้วยความตระหนก กล่าวกันว่าที่เรื่องราวของแจนน์เป็น

ที่ประทับใจมาจนทุกวันนี้นั้น อยู่ที่เหตุผลว่าแต่เดิมเธอเป็นเพียงเด็ก

สาวชาวบ้านธรรมดาที่ลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อประเทศนี่เอง แจนน์หลีก

เลี่ยงที่จะฆ่าคน เธอจึงมักจะถือธงนำทัพแล้วบุกนำทหารเข้าต่อสู้

พร้อมกับร้องตะโกนเพื่อปลุกขวัญกำลังใจพวกพ้อง และด้วยการที่

แจนน์กระทำหน้าที่ซึ่งเต็มไปด้วยอันตรายด้วยตนเองนี่เองที่ทำให้

ทหารสามารถต่อสู้ด้วยความกล้าหาญและปลดปล่อยออร์ลีนส์เป็น

อิสระในอีก 7 เดือนให้หลัง


รูปของแจนน์ที่เครแมน เดอ โฟแกนเบิร์ก วาดเล่นในเอกสารเมื่อปี 

1429


วาดโดยจับลักษณะเด่นของแจนน์ได้ดีมาก


แจนน์ยืนกรานว่าพิธีราชาภิเษกของเจ้าฟ้าชายชาร์ลสจะต้องจัดขึ้นที่

เรมส์ เนื่องจากพระเจ้าคลอวิสที่ 1 ซึ่งเป็นต้นตระกูลของราชวงศ์

ฝรั่งเศสได้รับศีลล้างบาปที่เรมส์ และกษัตริย์ของฝรั่งเศสแต่ละองค์

ต่างก็ประกอบพิธีที่นี่ เพื่อที่จะประกาศสิทธิ์อันถูกต้องของเจ้าฟ้าชาย

ชาร์ลส ไม่ว่าเช่นไรก็ต้องจัดพิธีขึ้นที่เรมส์ให้ได้


การจะไปยังเรมส์นั้น ต้องมีการปะทะกับกองทัพอังกฤษอย่างหลีก

เลี่ยงไม่ได้ แต่สุดท้ายข้อเสนอของแจนน์ก็ได้รับการยอมรับ เจ้าฟ้า

ชายชาร์ลสมุ่งหน้าไปยังเรมส์ ระหว่างการเดินทางก็รับเอาหัวเมือง

ต่างๆที่เข้ามาสวามิภักษ์ไว้ในปกครอง และในวันที่ 17 กรกฎาคม 1429 ก็ทรงขึ้นครองราชเป็นพระเจ้าชาร์ลสที่ 7 กษัตริย์โดยถูกต้องของฝรั่งเศสในที่สุด
หากในพิธีราชาภิเษก มีคนของฝ่ายเบอร์กันดีซึ่งเป็นศัตรูถูกเชิญมา

ด้วย ขุนนางของพระเจ้าชาร์ลสที่ 7 ได้เตรียมวางแผนการปกครอง

ใหม่ไว้แล้ว มาถึงตอนนี้ กองกำลังของแจนน์ก็ค่อยๆกลายมาเป็นก้าง

ขวางคอสำหรับฝ่ายเคาทน์อาลังซอนซึ่งยึดหลักการทหารในการ

ปลดปล่อยฝรั่งเศสเสียแล้ว

แจนน์ต้องต่อสู้อย่างโดดเดี่ยวในราชวัง เธอมีความเห็นว่าควรที่จะชิง

ปารีสกลับมาเพื่อเป็นฐานอันมั่นคงให้กับพระเจ้าชาร์ลส หากขุนนาง

ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยและพอใจต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน ผลทำให้

แจนน์ต้องออกรบโดยไม่มีการช่วยเหลือที่เป็นรูปร่างจากกลุ่มขุนนาง

23 พฤษภาคม 1430 แจนน์ถูกจับโดยฟิลิปป์ที่ 3 ที่แคว้นเบอร์กันดี

และหลังจากนั้นถูกส่งมอบตัวให้กับกองทัพอังกฤษ วันที่ 24 

ธันวาคมปีเดียวกัน เธอถูกนำตัวไปคุมขังที่รูน



21 กุมภาพันธ์ 1431 การสอบสวนคนนอกรีตเริ่มขึ้นโดยมีชอง ลู เมย์

ทอสเป็นประธาน หากเมย์ทอสกังขาในความเที่ยงธรรมของการ

สอบสวนนี้จึงแทบไม่ได้ปรากฏตัวในศาลเลย แม้แต่ในการตัดสิน

อย่างเป็นทางการ เขาก็ปิดปากเงียบตลอดเวลา บิชอปแชง ปิแอร์ 

โคชอง พร้อมกับผู้เกี่ยวข้องกับโบสถ์จำนวนกว่า 60 คนจึงเป็นผู้

ดำเนินการสอบสวนแทน



30 พฤษภาคม คณะสืบสวนประกาศว่าแจนน์เป็นคนนอกรีตและขับ

ไล่เธอจากการเป็นคริสเตียน และตัดสินให้แจนน์ถูกลงโทษด้วยการ

เผาทั้งเป็นโดยกองทัพอังกฤษ


อย่างเคยกล่าวไว้ในเอนทรี่ของ"กิลส์ เดอ เรยส์"แล้วว่าโทษเผาทั้ง

เป็นนั้นเป็นการลงโทษที่จัดว่าทารุณทั้งต่อร่างกายและจิตใจเป็นที่สุด

ในยามนั้น นอกจากนี้ เถ้าศพของแจนน์ยังถูกโปรยลงแม่น้ำเซนเพื่อ

ให้ร่างของเธอไม่สามารถกลับสู่ดินเพื่อวันแห่งการพิพากษาได้ นับ

ได้ว่าโทษที่แจนน์ได้รับนั้นเป็นโทษสาหัสอย่างที่สุดสำหรับชาว

คริสต์ในสมัยนั้นทีเดียว

หลังการตายของแจนน์ อิซาเบล โรเม่ ผู้เป็นแม่ของเธอได้ย้ายไปอยู่

ที่ออร์ลีนส์หลังจากที่สามีเสียชีวิต และใช้ชีวิตบั้นปลายทั้งหมดของ

ตนในการยืนยันความบริสุทธิ์ของแจนน์และเพื่อให้โบสถ์ยอมรับ

แจนน์กลับมาเป็นคริสตศาสนิกชนอีกครั้ง ศาลยอมรับให้คำตัดสินที่

รูนเป็นโมฆะในปี 1456และอีกเพียง 2 ปีหลังจากนั้น อิซาเบลก็ลา

จากโลกนี้ไป

18 เมษายน 1909 พระสันตปาปาปิโอที่ 10 ประกาศให้แจนน์ ดาร์ค

เป็นบุญราศี และในวันที่ 16 พฤษภาคม 1920 พระสันตปาปาเบเน

ดิกต์ที่ 15 ก็ยกเธอขึ้นเป็นนักบุญในที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น