วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

ประชาคมอาเซียนกับแนวโน้มด้านภาษาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

               
 


   ประชาคมอาเซียนกับแนวโน้มด้านภาษาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 ระชาคมอาเซียนกับแนวโน้มด้านภาษาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
 
ประชาคมอาเซียนกับแนวโน้มด้านภาษาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้*
 
                                                                     
 
 
มาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถูกจัดตั้งขึ้นตามปฏิญญากรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1967 โดยมีประเทศสมาชิกก่อตั้งเพียง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย บูรไนเข้าร่วมเมื่อ ค.ศ. 1984 เวียดนาม ค.ศ. 1995 ลาวและพม่า ค.ศ. 1997 และกัมพูชาประเทศสุดท้ายใน ค.ศ. 1999 แม้ว่ากฎเกณฑ์ในเรื่องการใช้ภาษาในอาเซียนจะมิได้กำหนดไว้ในปฏิญญากรุงเทพฯ แต่ภาษาอังกฤษก็เป็นภาษากลางเพียงภาษาเดียวที่ใช้เป็นสื่อกลางการสื่อสารระหว่างสมาชิกในกลุ่มโดยทางพฤตินัยตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง เพิ่งเมื่อเดือนพฤศจิกายนปี ค.ศ. 2007 ที่ผ่านมานี้เองที่มีเค้าว่าภาษาอังกฤษในฐานะภาษากลางของอาเซียนจะได้ถูกกำหนดไว้อย่างเป็นทางการ เมื่อมีแนวคิดเสนอให้บัญญัติกฎบัตรของอาเซียนขึ้น ในมาตราที่ 34 ของกฎบัตรอาเซียนระบุให้ใช้ภาษาทำงานของอาเซียนคือภาษาอังกฤษ (The working language of ASEAN shall be English) ซึ่งมีผลบังคับใช้นับแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008 ที่ผ่านมามีความพยายามเพียง 2 ครั้งที่เรียกร้องให้นำภาษาอื่นๆ มาใช้เป็นภาษาทางการของอาเซียนแต่ทั้งสองครั้งล้วนแล้วแต่ไม่ประสบผลสำเร็จครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อครั้งเวียดนามขอเสนอตัวเข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียนได้เรียกร้องให้ใช้ภาษาฝรั่งเศสในองค์การแห่งนี้ร่วมกับภาษาอังกฤษ
 
ความพยายามครั้งที่สองเกิดขึ้นใน ค.ศ. 1997 ในการประชุมอาเซียนว่าด้วยวัฒนธรรมและการข้อมูลข่าวสาร เมื่อรัฐมนตรีกระทรวงข้อมูลข่าวสารของมาเลเซียเสนอให้ใช้ภาษามาเลย์เป็นภาษาทางการภาษาที่สองของอาเซียน[1] เนื่องจากภาษาอังกฤษไม่ใช่ภาษาประจำชาติหรือภาษาราชการของประเทศส่วนใหญ่ในอาเซียนการกำหนดใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางส่งผลให้รัฐบาลของประเทศต่างๆ จำเป็นต้องปรับตัวในระดับที่ต่างกัน สำหรับประเทศที่เคยตกเป็นอาณานิคมของประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่อย่างสิงคโปร์ มาเลเซีย บูรไน และฟิลิปปินส์ เมื่อเทียบเท่ากับประเทศอื่นที่เหลือ การปรับตัวในด้านการปรับปรุงทักษะความสามารถการใช้ภาษาอังกฤษสำหรับประชากรภายในชาติอาจไม่ยุ่งยากหรือในบางประเทศอาจไม่เป็นปัญหาเลย เนื่องจากกำหนดให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการและใช้ในการเรียนการสอนภายในโรงเรียนอยู่แล้ว เช่น สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ หากพิจารณาเป็นรายประเทศจะพบว่าแต่ชาติในอาเซียนใช้ภาษาภายในท้องถิ่นที่แตกต่างกันดังนี้
 
ตารางที่ 1 ภาษาสำคัญที่ใช้ในแต่ละชาติอาเซียน

ที่ ประเทศ ภาษาสำคัญที่ใช้
 
 
 
 
 
      1 กัมพูชา เขมร ฝรั่งเศส อังกฤษ
 
 
 
 
 
 
2
 
 
ไทย ไทย และอังกฤษ(ภาษาที่สองของชนชั้นนำ)
 
 
 
 
 
3 บรูไน มาเลย์ อังกฤษ จีน
 
 
 
 
 
4 พม่า พม่า และภาษาชนกลุ่มน้อย
5 ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปิโน โดยเฉพาะตากาล๊อก และอังกฤษ
6
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 มาเลเซีย 
มาลายู อังกฤษ จีนกลุ่มต่างๆ(กวางตุ้ง, แมนดาริน, ฮกเกี้ยน, ไห่หนาน) ทมิฬ
 
 
 
 
 
7 ลาว ลาว ฝรั่งเศส อังกฤษ และภาษาชนกลุ่มน้อย
 
 
 
 
 
8 เวียดนาม เวียดนาม อังกฤษ ฝรั่งเศส จีน เขมร
 
 
 
 
 
9 สิงคโปร์ จีนกลาง อังกฤษ มาเลย์ ฮกเกี้ยน กวางตุ้ง แต้จิ๋ว ทมิฬ
 
 
 
 
 
10 อินโดนีเซีย อินโดนีเซีย อังกฤษ ดัตช์ ชวา
ดังนี้จะเห็นได้ว่า ชาติส่วนใหญ่ในอาเซียนมีภาษาประจำชาติเป็นของตนเอง จึงทำให้ภาษาอังกฤษถูกนำมาใช้ในฐานะภาษากลางของอาเซียนตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง เมื่อรัฐบาลประเทศในอาเซียนมีเป้าหมายร่วมกันในการบูรณาการทางเศรษฐกิจในระดับที่สูงขึ้นจนถึงขั้นประชาคมทางเศรษฐกิจภายใน ค.ศ. 2015 ยิ่งจะทำให้ภาษาอังกฤษกลายเป็นภาษาสำคัญของประชากรทุกคนของอาเซียนมากยิ่งขึ้น เนื่องจากประชาคมอาเซียนมีวัตถุประสงค์ที่จะ (1) มุ่งให้เกิดการไหลเวียนอย่างเสรีของสินค้า การบริการ การลงทุน และเงินทุน (2) มุ่งที่จะจัดตั้งให้อาเซียนเป็นตลาดเดียวและฐานการผลิตเดียว หมายความว่า แต่ละประเทศจะต้องถือว่าสินค้าและบริการที่ผลิตในประเทศสมาชิก อื่นๆ เป็นเสมือนของตนเอง ต้องได้รับการปฏิบัติเหมือนกันหมด สิทธิประโยชน์ใดที่ให้แก่ผู้ประกอบการและนักลงทุนภายในประเทศตนก็ต้องให้แก่คนต่างชาติในอาเซียนด้วย นอกจากนี้ แรงงานวิชาชีพ และแรงงานที่มีทักษะมีอิสระที่จะสามารถเคลื่อนย้ายไปประกอบอาชีพที่ใดก็ได้ภายในอาเซียน ดังนั้น เมื่อเกิดประชาคมทางเศรษฐกิจอาเซียนขึ้นอย่างสมบูรณ์ ผู้ไม่สามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารได้จึงอยู่ในฐานะเสียเปรียบในด้านการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานวิชาชีพและแรงงานมีฝีมือ อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจำนวนและสัดส่วนของผู้ใช้ภาษาอังกฤษในแต่ละประเทศจะพบว่า ประชาชนที่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ในกลุ่มประเทศอาเซียน ยกเว้น สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ยังมีสัดส่วนอยู่ไม่มากนัก โปรดดูตารางข้างล่าง
ตารางที่ 2 จำนวนและสัดส่วนผู้ใช้ภาษาอังกฤษในชาติอาเซียนบางประเทศ**
 
ที่ประเทศจำนวนประชากรทั้งประเทศ (ล้านคน)
ผู้ใช้ภาษาอังกฤษ
(ล้านคน)
สัดส่วน (%)
1.ไทย63.036.5410.00
2.บูรไน0.380.1437.73
3.ฟิลิปปินส์97.0049.8055.46
4.มาเลเซีย27.177.4027.24
5.สิงคโปร์4.583.2571
 
             ฉะนั้น นอกจากภาษาอังกฤษที่ประชากรอาเซียนควรให้ความสำคัญแล้ว การเรียนรู้ภาษาประจำชาติของแต่ละชาติในฐานะภาษาหลักของประชากรส่วนใหญ่ใช้สื่อสารกัน จึงควรได้ รับความสำคัญไม่แพ้กัน สำหรับภาษาประจำชาติที่มีแนวโน้มว่าจะได้รับความสำคัญเป็นพิเศษ แบ่งตามเกณฑ์ขนาดทางเศรษฐกิจและภูมิศาสตร์ (ไม่รวมฟิลิปปินส์) อาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม กลุ่มประเทศทางตอนบนมี 5 ประเทศ ได้แก่ พม่า ลาว วียดนาม กัมพูชา และไทย กลุ่มนี้มีประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ 2 ชาติ ได้แก่ เวียดนามและไทย ดังนั้น ภาษาไทยและเวียดนามจะเป็นภาษาที่มีอิทธิพลอย่างมากในกลุ่มนี้ กลุ่มประเทศตอนล่างมี 5 ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และบรูไน กลุ่มนี้มีประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ 3 ชาติ ได้แก่ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ดังนั้น ภาษาประจำท้องถิ่นที่จะมีอิทธิพลมากในกลุ่มนี้ คือ กลุ่มภาษามาเลย์ ซึ่งใช้เป็นภาษาราชการในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และบูรไน
 

            ด้วยความตระหนักถึงความสำคัญของภาษาอังกฤษและภาษาประจำถิ่นของประเทศในอาเซียนซึ่งจะมีเพิ่มมากขึ้นภายหลังจัดตั้งประชาคมอาเซียนในอีก 5 ปีข้างหน้า ทำให้รัฐบาลรวมทั้งประชาชนในหลายประเทศเกิดความตื่นตัวและหันมาให้ความสำคัญการเรียนภาษาอังกฤษรวมถึงภาษาที่ใช้ภายในกลุ่มประเทศอาเซียนอย่างจริงจัง ในลาวและเวียดนาม รัฐบาลเร่งรัดนโยบายปรับเปลี่ยนให้การใช้ภาษาฝรั่งเศสในฐานะภาษาที่สองเป็นภาษาอังกฤษ ยกตัวอย่าง ปีที่ผ่านมา รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของลาวขอลาพักราชการเพื่อฝึกเรียนภาษา อังกฤษในประเทศนิวซีแลนด์เป็นเวลานานเกือบ 4 เดือน นอกจากนั้น ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษยังถูกใช้เป็นเกณฑ์สำคัญสำหรับการพิจารณาเลื่อนขั้นตำแหน่งทางราชการทั้งในเวียดนาม ลาว และกัมพูชา[2] ในประเทศเวียดนามพบว่าภาษาไทยเป็นที่นิยมของนักเรียนนักศึกษาจำนวนมาก


 
             สำหรับประเทศไทย ผลจากการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน เมื่อ 24 ตุลาคม 2552 ได้ให้การรับรองปฏิญญาชะอำ-หัวหินว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือทางการศึกษาเพื่อบรรลุประชาคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ริเริ่มดำเนินโครงการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาค (Education Hub) และกิจกรรมโครงการพัฒนาประชาคมสู่อาเซียน (Spirit of ASEAN) โดยคัดเลือกโรงเรียนเข้า ร่วมโครงการ เพื่อพัฒนาความพร้อมและศักยภาพในการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับภาษาประจำชาติอาเซียนจำนวน 54 โรงเรียนทั่วประเทศ ในจำนวนนี้มีจำนวน 24 โรงเรียนเป็นที่ตั้งอยู่ในบริเวณชายแดน ซึ่งมุ่ง เน้นการจัดการเรียนภาษาเพื่อนบ้านจำนวน 4 ภาษา ได้แก่ พม่า ลาว กัมพูชา และมาเลเซีย กลุ่มนี้เรียกว่า Buffer Schoolsในขณะที่อีก 30 โรงเรียน นอกจาก จะมุ่งเน้นการเรียนการสอนภาษาในอาเซียนแล้ว ยังต้องมุ่งเน้นการสอนภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีควบคู่ไปด้วย กลุ่มนี้เรียกว่า Sister Schools นอกจากในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานแล้ว การเรียนการสอนภาษาประจำชาติของกลุ่มประเทศอาเซียนยังเพิ่มจำนวนแพร่หลายมากขึ้นในสถาบันระดับอุดมศึกษาของรัฐทั่วประเทศ


 
            จากความสำคัญของภาษาอังกฤษและภาษาท้องถิ่นของกลุ่มประเทศในอาเซียนซึ่งทวีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงเป็นเรื่องที่นักเรียน นิสิตนักศึกษา และประชาชนทั่วไปไม่ควรจะมองข้ามอีกต่อไป สำหรับรัฐบาลไทยนั้น การขับเคลื่อนนโยบายศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาคและกิจกรรมโครงการพัฒนาประชาคมสู่อาเซียนให้เห็นผลเป็นรูปธรรมย่อมเป็นโจทย์ที่ท้าทายอย่างยิ่ง

พืชดัดแปลงพันธุกรรม

พืชดัดแปลงพันธุกรรม(GMOs – Genetically Modified Organisms)


          พืชดัดแปลงพันธุกรรม คือพืชที่ผ่านกระบวนการทางพันธุวิศวกรรม เพื่อให้มีคุณสมบัติหรือคุณลักษณะที่จำเพาะเจาะจงตามต้องการ เช่น มีความต้านทานต่อแมลงศัตรูพืช คงทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม หรือมีการเพิ่มขึ้นของสารโภชนาการหรือชีวโมเลกุลบางชนิด เช่น วิตามิน โปรตีน ไขมัน เป็นต้น พืชดัดแปลงพันธุกรรมถือเป็นสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมหรือจี เอ็ม โอ (GMOs – Genetically Modified Organisms) ประเภทหนึ่ง
               
        พืชดัดแปลงพันธุกรรมกับความปลอดภัยการพิจารณาว่าจี เอ็ม โอ ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และ/หรือ สิ่งแวดล้อมนั้นจะต้องผ่านการทดลองหลายด้านเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้ เนื่องจากสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีความหลากหลายทางพันธุกรรมและมีบทบาท ในสิ่งแวดล้อมต่างๆกันไป และก่อนที่ผู้ผลิตรายใดจะนำเอาจี เอ็ม โอ หรือผลผลิตจากจี เอ็ม โอแต่ละชนิดออกสู่ผู้บริโภคนั้น จะต้องได้รับการประเมินความปลอดภัยจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ต้องอาศัยผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละสาขาวิชาเพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์นั้นๆมีความปลอดภัยเทียบเท่ากับผลิตภัณฑ์ในลักษณะเดียวกันที่มีอยู่แล้วในธรรรมชาติ ดังนั้นจึงถือได้ว่าผลิตพันฑ์จี เอ็ม โอ ทุกชนิด ทั้งที่นำมาเป็นอาหาร หรือที่นำมาปลูกเพื่อจำหน่ายในทางพาณิชย์มีความปลอดภัยแล้ว บางคนคิดว่าจีเอ็มโอคือสารปนเปื้อนที่มีอันตราย ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ไม่ใช่อย่างแน่นอน เพราะจี เอ็ม โอ ไม่ใช่สารปนเปื้อนและไม่ใช่สารเคมี แต่จี เอ็ม โอนั้นคือ “สิ่งไม่มีชีวิต” ที่เป็นผลพวงจากการใช้เทคนิคทางเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ ซึ่งเกิดจากความตั้งใจของนักวิทยาศาสตร์ที่จะปรับปรุงพันธุ์ให้มีคุณสมบัติตามอย่างที่ต้องการ ยกตัวอย่างเช่น การดัดแปรพันธุกรรมของมะเขือเทศให้มีลักษณะการสุกงอมที่ช้าลงกว่าปรกติ การดัดแปลงพันธุกรรมของถั่วเหลืองให้มีไขมันชนิดไม่อิ่มตัวสูงซึ่งให้ประโยชน์ต่อมนุษย์สูง เป็นต้น ดังนั้นการใช้คำว่า “ปนเปื้อน” ในกรณีนี้จึงไม่ถูกต้อง เพราะ ”ปนเปื้อน” มีความหมายในลักษณะที่ไม่ต้องการให้มี เช่นไม่ต้องการให้อาหารมีการปนเปิ้อนของสารปรอทหรือสารหนูปนเปื้อนในอาหารเป็นต้น ดังนั้น จีเอ็มโอไม่ใช่สารปนเปื้อนแน่นอน

           ตัวอย่างพืชดัดแปลงพันธุกรรม
                                  
วอลนัท หลังจากที่ทำการตัดต่ออะไรสักอย่างทางพันธุกรรมแล้ว จึงทำให้เม็ดวอลนัทนั้นมีคุณสมบัติที่ดีขึ้นคือทนทานต่อโรค


                 


สตรอเบอรี่ การตัดต่อทางพันธุกรรม (GMO) ส่งผลให้สตรอเบอรี่

1.เน่าช้าลง ทำให้สะดวกต่อการขนส่งมากยิ่งขึ้น

2.เพิ่มสารอาหาร


แอปเปิล ผลของการตัดต่อทางพันธุกรรมที่มีต่อแอปเปิลคือ

1.ทำให้ความสดและความกรอบของผลแอปเปิลมีระยะเวลานานขึ้น (delay ripening)

2.ทนต่อแมลงต่างๆ ที่เป็นศัตรูพืช


 มะเขือเทศ ลักษณะที่ดีขึ้นของมะเขือเทศ หลังจากที่ทำการตัดต่อทางพันธุกรรมแล้วมีดังนี้

1.ทนทานต่อโรคมากขึ้น

2.เพิ่มความแข็งของเนื้อมะเขือเทศมากขึ้น ทำให้ลดปัญหาผลผลิตเสียหายขณะขนส่ง

3.ผลผลิตที่ได้จากการเก็บเกี่ยวจะเกิดการเน่าเสียช้าลง


ข้าวโพด นับว่าเป็นพืชทางเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่เรานำมาทำการตัดต่อทางพันธุกรรม โดยการตัดต่อยีนของแบคทีเรียที่ชื่อว่า Bacillus thuringiensis เข้าไปในยีนของเมล็ดข้าวโพด จึงทำให้ข้าวโพดที่ได้ทำการตัดต่อทางพันธุกรรมนี้มีคุณสมบัติพิเศษ คือ สามารถสร้างสารพิษต่อแมลงที่เป็นศัตรูพืชได้ โดยเมื่อแมลงมากัดกินข้าวโพดนี้แมลงก็จะตาย


มันฝรั่ง (Potato) เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีการตัดต่อทางพันธุกรรมเช่นเดียวกันกับข้าวโพด โดยใช้การตัดต่อยีนของแบคทีเรียที่ชื่อว่าBacillus thuringiensis เข้าไปในยีนของมันฝรั่ง ทำให้มันฝรั่งที่ได้รับการตัดต่อทางพันธุกรรมแล้วมีคุณค่าทางสารอาหารเพิ่มขึ้น (เพิ่มปริมาณโปรตีน) และในบางชนิดยังสามารถผลิตวัคซีนที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์อีกด้วย


ถั่วเหลือง มีการดัดแปลงพันธุกรรมถั่วเหลืองเพื่อให้มีคุณสมบัติพิเศษ สามารถทนต่อสารเคมีกำจัดวัชพืชชนิด Roundup ได้ดีกว่าถั่วเหลืองทั่วไป ทำให้ผู้ปลูกสามารถใช้สาเครมีชนิด Roundup ได้มากขึ้น มีผลทำให้ได้ผลผลิตมากขึ้นตามไปด้วย


ฝ้าย เป็นฝ้ายที่ผ่านการดัดแปลงทางพันธุกรรมโดยใส่ยีนของแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis var. kurataki (B.t.k) เข้าไปในโครโมโซมของต้นฝ้าย ทำให้สามารถผลิตโปรตีน Cry 1A ซึ่งมีคุณสมบัติในการฆ่าหนอนที่เป็นศัตรูฝ้ายได้


มะละกอ มีการตัดต่อพันธุกรรมมะละกอ เพื่อให้สามารถต้านทานโรคห่าได้ และมีเมล็ดน้อยลง 
  

Genetically modified crops. The plants through genetic engineering. In order to qualify, or specific features you want, such as resistance to insect pests. Durable environmentally unsuitable. Or with the addition of substances such as vitamins, nutrition or some kind of protein molecular plant is genetically modified organisms genetically modified or GM O (GMOs - Genetically Modified Organisms) type. 

Genetically modified crops, with GM's safety considered in safety to consumers and / or the environment will have to go through many trials to obtain reliable scientific data. Because each species diversity and genetic roles. Environment and to. And before any manufacturer to bring in a GM crop in each type of GM to the consumer. Must be evaluated for the safety of government agencies involved. This requires experts in each discipline to ensure that the product is safe and comparable with similar products already exist in the natural state. Thus, it held that produce thousands of product GM brought in all kinds of food. Or planted for commercial distribution in the safe. Some people think that GM is dangerous contaminants. That is certainly not because of GM contamination in non-chemical and non-GM, but it is in "the life" as a result of the use of modern biotechnology techniques. As a result of the willingness of scientists to breeding to meet the demand. For example. Genetic modification of a ripe tomato with a slower than normal. Genetic modification of soybean fat unsaturated highly beneficial to human height, etc. So the use of the word "contamination" in this case is invalid because "contamination" has the meaning in a way that does not want to. a. I'd like to have a mixed diet of fruit or mercury or arsenic contamination of non-GMO food, etc., so that contaminants.



For example, genetically modified crops.

Walnuts after editing something already genetically. As a result, the grain Walnut is better qualified.


1. Resistant to disease.

All the strawberries genetic modification (GMO), the strawberry berries.

1. Decay slows down even more, making it easy to transport.

2 Added nutrients.

Apple result of the genetic modification on the apple is.

1. The freshness and crispness of the apple with a longer duration (delay ripening).

2. Resistant to insects. A pest.

The improvement of tomato ketchup. After genetic modification is as follows.

1. Resistant to the disease.

2. Increase the hardness of the tomato flesh. Minimizes product damage in transit.

3. Yield of the harvest will slow down spoilage.


Corn plant is the economic one, we adopt the genetic modification. By the genes of bacteria called Bacillus thuringiensis. Genes into corn. As a result, the genetic modification of corn has a unique feature that can be toxic to insect pests have. By insects to eat corn on the insect will die.

Potato (Potato) is a crop with genetic modification, as well as corn. Using the genes of bacteria called Bacillus. thuringiensis. Gene into the potatoes. The potatoes have been genetic modification has increased the value of nutrients. (A protein) and in some types of vaccines can also be useful to humans as well.

Soybeans are genetically modified soybeans to provide extra features. Able to tolerate the herbicide Roundup has than soybeans. Growers can make use of Roundup Craig has resulted in increased productivity and more as well.

Cotton is cotton that has been genetically modified by inserting genes of the bacterium Bacillus thuringiensis var. Kurataki (Btk) into the genome of transgenic cotton. Cry 1A protein, which makes it possible to have the ability to kill an enemy worm cotton.


Papaya is genetically engineered papaya. To have disease resistance. And have fewer seeds.

10 ดอกไม้ที่อันตราย/สวยที่สุดในโลก




ห็นดอกไม้สวยๆ น่าเด็ดดมอย่างนี้
ขอบอกว่า ห้ามเข้าใกล้เป็นอันขาด
เพราะดอกไม้เหล่านี้มีพิษร้ายแรงมาก
บางชนิด อาจจะทำให้เราถึงตายได้เลยนะ บรื๋อ!!



อันดับ 10 Narcissus



ดอกนาร์ซิสซัสนี้ ว่ากันว่า มีพิษร้ายแรงมากมาย
มีหลายคนที่สับสนแยกไม่ออกระหว่างดอกไม้นี้กับหัวหอม
แต่ถ้ากินเข้าไปแล้วล่ะก็ เจอดีแน่
ทั้งอาการคลื่นไส้ อาเจียน และท้องร่วงอย่างแรงครับ 



อันดับ 9 Rhododendron



เราก็ไม่แน่ใจชื่อภาษาไทยของมันเหมือนกัน
เพราะงั้น เราใช้ชื่อเต็มของมันดีกว่า เกิดอ่านผิดจะแย่ทีเดียว
ต้นไม้นี้มีดอกที่สวย รูปทรงเหมือนกระดิ่ง และจะงอกงามมากในฤดูใบไม้ผลิ
แต่ว่าใบของมันมีพิษร้ายเช่นเดียวกับน้ำหวาน
ถ้าเผลอกินเข้าไป อาจทำให้ริมฝีปากไหม้ได้
จากนั้นก็จะคลื่นไส้ อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว
ถ้าหากว่าเผลอกินเข้าไป ให้รีบดื่มน้ำตามมากๆ จะช่วยได้ครับ

อันดับ 8 Ficus


ไฟคัส ต้นไม้เล็กๆ ที่มีใบเล็ก และมียางที่มีพิษเหลือร้าย
มันสามารถเติบโตได้หลากหลายที่ แม้แต่ในหม้อเก่าๆก็โตได้
ถ้าหากว่ายางของมันโดนผิวเข้าล่ะก็ จะเจ็บปวดมากทีเดียว
และต้องไปหาหมอเพื่อขอยาทาแก้ปวดแสบปวดร้อน 

อันดับ 7 Oleander


ทุกส่วนของต้นไม้นี้เป็นพิษหมด
แค่เผลอสูดควันที่เราเผามันเข้าไป ก็เจออันตรายแล้ว
ถ้าเผลอกินเข้าไปล่ะก็ จะเป็นอันตรายต่อหัวใจและระดับโพแทสเซียมในร่างกายได้


อันดับ 6 Chrysanthemum


โอ้! ไม่อยากจะเชื่อเลยว่า ดอกเบญจมาศจะติดอันดับกับเขาด้วย
แต่ว่าดอกไม้นี้มีมากกว่า 200 ชนิดในสปีชี่ส์เดียว
เพราะงั้นก็ไม่แปลกที่บางชนิดจะมีพิษร้าย
ถ้าอยากรู้ว่าดอกเบญจมาศชนิดไหนมีพิษ
เค้าว่าให้ดูที่กระต่าย เพราะมันจะไม่กล้าเข้ามากิน
แต่ถ้าโดนเข้าไป อาจจะทำให้ผิวหนังไหม้ และต้องหายาทา

อันดับ 5 Anthurium


ถ้าหากว่า เผลอแตะโดนบริเวณไหนของผิวหนังล่ะก็ เสร็จแน่
ดอกไม้นี้ จะทำให้ร่างกายของคุณไหม้
ยิ่งถ้าโดนปากนี่ แย่ที่สุดเลย
หรือถ้ากินเข้าไปนี่ จะทำให้เสียงแหบเสียงแห้ง พูดไม่ได้ยินไปสักพักเลยล่ะ

อันดับ 4 Lily-of-the-valley


ว้าว! ชื่อเพราะจังเลย ดอกลิลลี่แห่งหุบเขาเนี่ย
แต่ติดอันดับสี่ได้ เชื่อว่าต้องอันตรายแน่ๆ
เค้าว่า ถ้ากินเข้าไปแล้ว หัวใจจะเต้นแรง คลื่นไส้ อาเจียน
บางคนที่กินมากๆ อาจจะเจอล้างท้องได้นะ 

อันดับ 3 Hydrangea

อะไรกัน ไฮเดรนเยียออกจะสวยเนอะ
แต่ไม่น่าเชื่อเลยว่า จะมีอันตรายด้วยครับ
แต่มันสวยก็จริง แต่ถ้ากินเข้าไปล่ะก็
จะเนื้อตัวเย็นเฉียบ ครั่นเนื้อครั่นตัว คลื่นไส้ อยากจะอาเจียน
บางคน อาจจะเกิดอาการช็อคได้เลยด้วยซ้ำไป
เพราะงั้น ดูแต่ตา มืออย่าต้อง นะครับ 

อันดับ 2 Foxglove


ถุงมือหมาจิ้งจอก? 
ดอกไม้สูงแค่สามฟุต สีสวยงามนี่แหละ อันตรายดีทีเดียว
แน่นอนว่า จะทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องมาก
และปากไหม้ด้วย ถ้ากินเข้าไปนะ
บางคนก็จะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติ
ว่ากันว่า มันฆ่ากระต่ายได้เลยล่ะ 

อันดับ 1 Wisteria



ชื่อต้นไม้นี้ แปลกทีเดียวเชียว
แต่ก็นั่นแหละ เค้าบอกว่า ถ้าเผลอกินเข้าไปเมื่อไหร่
ท้องร่วง ท้องเสีย อาเจียน ปวดหัว เป็นไข้ วิงเวียนแน่
และถ้าไปโรงพยาบาลไม่ทัน อาจจะช็อคได้เหมือน