ปรัญชาของเดส์การ์ตส์
บทที่ 9
ปรัชญาทวินิยม ของ เรอเน เดส์การ์ตส์1596-1650
คำว่าปรัชญาสมัยใหม่ (Modern Philosophy มอด-เอิน ฟิลอซ-โอะฟิ่) นั้น นักศึกษาทางปรัชญาถือว่าเริ่มด้วยปรัชญาของเรอเน แด็ส การ์ตส์ หรือ เรอเน เดส์การ์ตส์ ตามเรื่องราวของสมัยกลาง ซึ่งเริ่มจากระหว่าง ปี ค.ศ. 900 -1000 มาถึง ปี ค.ศ.1700 นั้น เราทราบว่าความคิดของมนุษย์ก็คงยังติดข้องในตรรกแบบฉบับหรือตรรกบัญญัติ (Formal Logic) อยู่
ในปัญญาวิวัฒน์ของผู้เขียน ซึ่งกล่าวถึงโลกสมัยโบราณในภาค 1 และสมัยปัจจุบันในภาค 2 นั้น ได้ระบุว่าระยะเวลาจากปี 1000 ก่อน ค.ศ. ถึง ค.ศ. 1700 ซึ่งยาวนานถึง 2700 ปีนี้เป็นสมัยปัญญาทางปรัชญา กล่าวคือ เป็นสมัยตรรกบัญญัติ ซึ่งนิยมหาความแท้จริงด้วยการคิดหา แต่ไม่นิยมการหาความแท้จริงด้วยการค้นหาค้นคว้าทดลอง ด้วยการสังเกตทางอวัยวะรับสัมผัส และนอกจากจะเชื่อว่าผัสสะลวงเราได้แล้วอวัยวะรับสัมผัสนั้นยังเป็นสิ่งต่ำกว่าจิต
แต่นับจากปี ค.ศ.1700 เป็นต้นมา, จึงจัดเป็นระยะเวลาเริ่มต้นของสมัยปัญญาทางวิทยาศาสตร์ หากนับถึงปัจจุบันก็เพิ่งมีอายุเพียง 250 ปีกว่าเท่านั้น สมัยแห่งปัญญาได้หดสั้นลง ทั้งนี้เพราะมีเครื่องมือในการแสวงหาปัญญาและมีการศึกษาแบบใหม่ดีขึ้น ๆ ปัญญาจึงพัฒนาการไปอย่างก้าวกระโดด มิได้ขยายตามส่วนบัญญัติไตรยางศ์อีกแล้ว หากแต่ขยายตามส่วนคูณ (Geometric จีโอะเมท-ริค) อย่างใดอย่างหนึ่ง
สมัยที่วิทยาศาสตร์ยังหาข้อเท็จจริงให้เราไม่พอนั้น การแสวงหาข้อเท็จจริงในสมัยปัญญาทางปรัชญา เราก็จำต้องคิดข้อเท็จจริงนั้นเอาเองและเชื่อว่าอาจคิดได้ถูกต้องด้วย กล่าวคือเราเชื่อกันว่า จากเหตุเราอาจคิดให้รู้ผลได้ หรือจากผลเราอาจคิดให้รู้เหตุได้ การคิดทางปรัชญาได้เข้ามาแทนที่ศรัทธาทางศาสนาของสมัยปัญญาทางศาสนา(5000-1000 ปีก่อนค.ศ.) ที่เชื่อโดยต้องไม่คิด, ไม่ต้องสงสัย การคิดทางปรัชญาถูกถือกันว่าเป็นความลึกซึ้งแห่งความคิด หรืออีกนัยยะหนึ่งถือกันว่า นักปรัชญาเป็นผู้มีปัญญาความคิดสูง พวกเขาจึงได้รับการต้อนรับจากราชสำนักของกษัตริย์และอภิชนคนรวย แต่ก็มีนักปรัชญาฝ่ายประชาชนที่ถูกกดขี่ โจมตีความคิดอันล้าสมัยของนักปรัชญาจิตนิยมเหล่านั้น โจมตีศาสนาที่มีอำนาจครอบงำอิสรภาพในความคิด และโจมตีวงการปกครองที่อนุรักษ์นิยม แต่นักปรัชญาเหล่านี้ก็ถูกจับใส่คุก หรือถูกขับไล่ไสส่งออกจากวงสังคม แต่พวกนี้ก็คงมีตลอดมาในประวัติศาสตร์มิได้ขาดสาย
ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 นี้เอง ที่วิทยาศาสตร์อันแท้จริง, ยกเว้นวิทยาศาสตร์อย่างหยาบของพวกกรีก, เพิ่งแรกคลอดออกมาเท่านั้น ปัญญาทางปรัชญาจึงคงครอบงำจิตใจนักคิดต่อไป และล่วงล้ำเข้าไปถึงสมัยปัญญาทางวิทยาศาสตร์ เสมือนหนึ่งศรัทธาในศาสนาประจำสมัยปัญญาทางศาสนาได้ล่วงล้ำเข้ามาในสมัยปัญญาทางปรัชญาฉะนั้น
ในการแบ่งสมัยนี้แม้จะมีเหตุการณ์เด็ดขาดทางประวัติศาสตร์มาตัดแบ่งก็ตาม ก็ไม่มีการเด็ดขาดใดๆทางปัญญา ตรงกันข้ามทีเดียว,พอปัญญาใหม่เกิดขึ้น ปัญญาเก่าก็จะงอกงามอีกครั้งหนึ่งเพื่อฮึดสู้ ดังจะเห็นได้ว่าทุกยุคทุกสมัย ปัญญาเก่ากับปัญญาใหม่เป็นต้องได้ต่อกรกันเสมอมา นี่เป็นหลักของวิวัฒนาการแห่งปัญญาทีเดียว
ฉะนั้นเราจะเห็นว่า เมื่อพวกกรีกได้คิดปรัชญาสสารนิยมขึ้นมาในสมัยพุทธกาลนั้น ซอกราตีสกับพลาโต้ ก็คิดปรัชญาจิตนิยมขึ้นมาสู้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เมื่อมีปรัชญาสสารนิยมเกิดขึ้นมาอีก แต่พอต้นคริสต์ ศตวรรษที่ 18 ปรัชญาจิตนิยมของเบิ๊ร์คลี่ย์ (Berkeley) และฮูว์ม (Hume) ก็เกิดขึ้นมาต้านทานไว้ แม้จนปัจจุบัน,ปรัชญาสสารนิยมกับจิตนิยมก็ยังต่อกรกันอยู่ มันเป็นความจริงของพัฒนาการแห่งสรรพสิ่งนั่นเองที่ว่า,พัฒนาการของสิ่งใดก็ตามย่อมเกิดจากความขัดแย้งภายในเนื้อของมันเอง
อย่างไรก็ตามเราก็เห็นจากประวัติศาสตร์ว่าเวลาไม่ใช่ปัจจัยของพัฒนาการ แต่พลังแห่งการขัดแย้งของคนเท่านั้นที่เป็นปัจจัย
ความขัดแย้งของสสารนิยมกับจิตนิยมนี้ในสมัยของเดส์การ์ตส์ก็คง มีอยู่ เพราะสสารนิยมของโยฮันน์ เค็ปเล่อร์ (Johann Kepler) กับกาลิเลโย (Glileo) เกิดมาแย้งกับจิตนิยมของคริสต์ศาสนา เดส์การ์ตส์เกิดสองจิตสองใจ แม้จะนิยมวิทยาศาสตร์ใหม่แต่ก็มีศรัทธาในจิตนิยมแบบเก่า ด้วยประการฉะนี้ท่าทีทวินิยม (Dualism ดยู-แอะลิส’ม) จึงเกิดขึ้นในปรัชญาของเขา การที่เขามีความภักดีต่อผู้มีอำนาจในยุโรปนั้นก็เป็นเหตุของความลังเลนี้ด้วย แม้พอจะเข้าใจการตื่นตัวของประชาชนเพื่อให้พ้นแอกการปกครองอย่างเก่า แต่เขาก็รู้จักพวกเจ้านายของยุโรปสนิทเกินไป
9.1 ชีวประวัติ เรอเน เดส์การ์ตส์ (Rene Descartes)
เรอเน แเด็สการ์ตส์ หรือ เรอเน เดส์การ์ตส์ (Rene Descartes) เป็นบุตรของตระกูลขุนนางในเมืองตูเรน (Touraine) เขาได้รับการศึกษาในวิทยาลัยลีซูร์ (Le Sueur) ที่ลาฟูร์ช (Lafourche) และแสดงความเฉลียวฉลาดมาตั้งแต่เด็กๆ อย่างไรก็ดีเมื่ออายุได้ 16 ปีก็ต้องออกจากโรงเรียน เขาเขียนรำพันไว้ในหนังสือ Discourse on Method (ดิโคซ ออน เมธ-อัด) ในภายหลังว่า ในบรรดาวิชาการต่างๆที่เขาร่ำเรียนมานั้น วิชาปรัชญาเป็นที่ต้องกับนิสัยเขามากกว่าวิชาอื่น และเนื่องจากเป็นวิชาที่ยังไม่กำหนดหลักอะไรแน่นอนลงไป เขาจึงคิดว่าคงจะประสบความสำเร็จในทางนี้
ฉะนั้นเมื่อมีอายุพอสมควร เขาจึงออกท่องเที่ยวไปตามประเทศต่างๆในยุโรป โดยได้แวะเยี่ยมราชสำนักและกองทัพต่างๆ เขาได้เข้าวิสาสะกับบุคคลซึ่งมีฐานะและนิสัยต่างๆกัน แล้วก็ได้รับความจัดเจนหลายประการจากการนี้ เช่นนี้เขาจึงเข้าใจว่า คงจะทำให้ประสบข้อเท็จจริงสำหรับใช้คิดปรัชญาขึ้นเองได้ เขามีจุดมุ่งหมายอยู่ว่า
“..ฉันก็เกิดความกระหายอยากรู้ขึ้นอย่างแรงกล้าว่าอย่างไหนเป็นความเท็จอย่างไหนเป็นความจริง ทั้งนี้ก็เพื่อนำมาใช้ดำเนินชีวิตด้วยความมั่นคง และความสามารถเข้าใจการกระทำของตนเองได้อย่างแจ่มแจ้ง”
เรอเน เดส์การ์ตส์ เข้าประจำการเป็นทหารอยู่ 2 ปีในประเทศฮอลันดา ทั้งนี้โดยร่วมกรมเดียวกับเจ้าชายมอริซ (Maurice) บุตรของวิลเลียม อ็อฝ ออเรนจ๎ (William of Orange) ข้อนี้ดูจะเป็นการเย้ยฐานะในการเป็นพระแต่เดิมของเขาเป็นอย่างยิ่ง ต่อมาอีก 2 ปีเขาคงเป็นทหารอยู่ และคราวนี้ได้เข้ารบในสงครามจริงๆกับพวกโบฮีเมีย (Bohemian โบะฮีเมียน)ซึ่งมีเฟรเดอริก (Frederick V) ที่ 5 เป็นจอมทัพ การเป็นทหารไม่ได้ทำให้เดส์การ์ตส์ละทิ้งนิสัยชอบคิด แม้เมื่ออยู่กับมอริซ, เขาก็มีเวลาว่างเหลือเฟือสำหรับค้นคว้าทางคณิตศาสตร์ เขาได้พิจารณาข้อเกี่ยวพันระหว่างปริมาณสองจำนวน เพราะว่า,ระหว่างนั้นวิทยาศาสตร์กำลังสาละวนอยู่กับการหาสูตรแสดงความเกี่ยวข้องของประมาณตั้งแต่สองอย่างขึ้นไป ในความพยายามเขียนภาพของการเกี่ยวพันเช่นนี้ เขาก็พบ (Coordinate Geometry โคะออ-ดิเน็ท จิออม-อิทริ่) ซึ่งต่อมาก่อให้เกิดการรู้จักใช้และเขียนกราฟ (Graph กรัฟ) ขึ้น นี่, คือการแสดงความเกี่ยวข้องเป็นเส้นตรงหรือเส้นโค้ง โดยวัดที่ตั้งของจุดไปจากแกนสมมติ X (เอ็กซ๎) กับ Y (ไว) นั่นเอง
ด้วยประการฉะนี้การหาความเกี่ยวข้องระหว่างประมาณซึ่งเป็นเหตุเป็นผลแก่กันก็สามารถเกิดขึ้นได้ ทำให้วิทยาศาสตร์มีเครื่องมืออันสำคัญยิ่งในการค้นคว้าทางปริมาณ และการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์นั้นก็เป็นการค้นคว้าทางปริมาณเสียเป็นส่วนใหญ่ การค้นคว้าทางคุณภาพ (Quality ควอล-อิทิ่) เป็นเพียงชั้นรอง และติดมากับการค้นคว้าทางปริมาณเท่านั้น
การค้นคิดทางคำนวณ, ทำให้เขาได้สหายเป็นนักคณิตศาสตร์ชาวฮอลันดาชื่อไอแซ้ก บิแคม (Isaac Beecham) ต่อมาอีกสักเล็กน้อยเขาเริ่มค้นคิดทางปรัชญาและเอาความแจ่มแจ้งในความคิดทางคณิตศาสตร์ไปใช้ในการคิดปรัชญาบ้าง ชีวิตในปารีสอึกทึกครึกโครมเกินไปเขาจึงไปตั้งรกรากอยู่ในประเทศฮอลันดา แล้วติดต่อกับโลกภายนอกโดยผ่านมิตรสหายที่เชื่อถือได้ อาศัยความเงียบสงัดในฮอลันดา เดส์การ์ตส์จึงสามารถแต่งตำราปรัชญาและวิทยาศาสตร์ธรรมชาติขึ้นได้
ในทางปรัชญานั้นเขาพยายามละทิ้งความคิดออกจากคนโบราณ และพยายามคิดขึ้นใหม่ เขาได้ค้นวิชาอื่นๆด้วยเหมือนกัน เช่นทัศนศาสตร์ (Optics ออพ-ทิคซ๎) ดาราศาสตร์ สรีรศาสตร์และจิตวิทยา นักปราชญ์ในสมัยก่อนมักเก่งหลายวิชา เช่นเดส์การ์ตส์เป็นตัวอย่าง ปรัชญาและวิทยาศาสตร์ของเดส์การ์ตส์ไปปะทะเข้ากับสำนัก Romanist (โร-แม็น-อิสท๎) ซึ่งเขาเป็นสมาชิกอยู่ แต่เขาก็ยอมคล้อยตามมติของศาสนาเสมอ เขามีความเชื่อมั่นว่ามติทางปรัชญาและวิทยาศาสตร์ของเขานั้นเข้ากับศาสนาได้
ปรัชญาของเรอเน เดส์การ์ตส์ ถูกรับรองโดยทั่วกันและได้แพร่ หลายออกไป นักคิดสมัยนั้นยอมรับว่า ต้องเริ่มคิดปรัชญาไปจากความสงสัยในความมีอยู่ของตัวตนเสียก่อน แล้วจึงใช้ความคิดอันไม่คลุมเครือต่อทอดความรู้ของเขาออกไป และเดส์การ์ตส์ก็ไม่พ้นไปจากหลักคิดที่ปัญญาทางปรัชญาครอบงำอยู่นั่นเอง คือที่ว่า ความรู้ได้มาจากการคิด
มิตรที่เกิดจากการเที่ยวสอนปรัชญาของเขาก็มีสตรีอยู่สองคน คนแรกคือเจ้าหญิงอลิซาเบธ (Elizabeth) แห่งโบฮีเมีย (Bohemia) ซึ่ง เดส์การ์ตส์ เคยไปรบพร้อมกับเธอด้วย เดส์การ์ตส์อุทิศเรื่อง Principle of Philosophy (พรีน-ซิพ'ล อ็อฝฟิลอซ-โอะฟิ่) ให้กับเจ้าหญิงองค์นี้ และยังเขียนบทความชื่อ The Passions of the Soul (ฑิ แพฌ-อันส อ็อฝ ฑิ โซล) ให้ด้วย สานุศิษย์ผู้มีชื่อยิ่งกว่านี้ คือ ควีน คริสตินา (Queen Christina) แห่งประเทศสวีเดนในปี ค.ศ.1649 เดส์การ์ตส์ได้รับเชิญให้ไปอยู่ที่สต็อกโฮล์ม (Stockholm) ทั้งนี้เนื่องจากองค์การศาสนาในฮอลันดาพากันต้านปรัชญาของเขา อากาศอันหนาวยะเยือกในประเทศนั้นไม่เหมาะกับเดส์การ์ตส์เลย สมเด็จพระบรมราชินียังทรงนิยมให้มีปุจฉาวิสัชนาทางปรัชญาตอนเช้าๆ ซึ่งมีอากาศหนาวมากด้วย เดส์การ์ตส์จึงทรุดโทรมลงไป แล้วถึงแก่กรรมใน ปี ค.ศ.1650 มีผู้เศร้าโศกต่อการจากไปของเขาเป็นอันมาก
9.2 มติทางปรัชญาทวินิยมของเดส์การ์ตส์
เดส์การ์ตส์เล่าว่า วันหนึ่งขณะที่ฉันอยู่ในเยอรมนี หลังกลับจากพระราชพิธีปราบดาภิเษกสมเด็จพระมหาจักรพรรดิมาแล้ว ทั้งๆที่อากาศแสนจะหนาว ก็ยังบังคับให้ฉันต้องเข้าเฝ้า ให้ไปนั่งอยู่ด้วยเงียบๆ ซึ่งเมื่อไม่มีการสนทนาอะไรจะมาทำให้จิตหันเหไป เมื่อไม่มีกังวลหรือนิวรณ์อะไรมารบกวนจิตใจ ฉันก็หาทางฆ่าเวลาโดยการซ่อนตัวอยู่แต่ในกระโจมที่พัก แล้วทำให้จิตใจเพลิดเพลินในยามว่างด้วยการใช้ความคิด เมื่อเริ่มคิดปรัชญา ฉันก็ระลึกได้ว่า ที่แล้วมานั้น ฉันเชื่อคำสอนของอาจารย์ผู้ประสาทวิชาง่ายเกินไป
เมื่อเขาเกิดความสงสัยขึ้นมาด้วยประการต่างๆ จึงตกลงใจที่จะวางหลักปรัชญาเสียใหม่ เขาจึงวางหลักในการหาความจริงไว้ว่า
1. จะต้องไม่รับว่าอะไรเป็นความจริงจนกว่าเราจะเห็นประจักษ์ด้วยตนเองว่าเป็นเช่นนั้น นี่ก็ไม่ผิดอะไรกับกาลามสูตรในพุทธศาสนา
2. จะต้องวิเคราะห์แยกแยะความรู้ของเราออกไป
3. จะต้องใช้ความคิดให้เข้าหลักตรรกวิทยา
4. จะต้องพิจารณาผลที่เราคิดได้
สามข้อหลังนี้ก็เป็นวิธีการของวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน ซึ่งประกอบ ด้วยการวิเคราะห์พิจารณา (Analysis อะแนล-อิซิส) การใช้เหตุผลทาง ตรรกวิทยา (Logical Reasoning ลอจ-อิแค็ล รี-สนิ่ง) และการทดสอบผลที่สรุปได้ (Verification เฝริฟิเค-ฌั่น)
หลักปรัชญาของเดส์การ์ตส์นั้นเป็นไปในทางเชื่อในความแท้จริงจำนวนมากหลาย เช่น บุคคล พระเป็นเจ้า และสรรพสิ่งอื่นๆนอกตัวบุคคล ปรัชญาของเขาจึงเป็นประเภทพหุนิยมทางจำนวน(Numerically Pluralistic) แต่ความแท้จริงจำนวนมากหลายของเดส์การ์ตส์คงมีลักษณะผิดกันเพียง 2 ประการเท่านั้น คือ เป็นจิตอย่างหนึ่งและเป็นสสารอีกอย่างหนึ่ง ฉะนั้นทัศนะปรัชญาของเขาจึงเป็นทวินิยมหรือไทวตะ การเรียกปรัชญาของเดส์การ์ตส์ว่าเป็นชนิด Pluralistic Dualism (พลู-แระลิสทิค ดยู-แอะลิส'ม) จึงมีประโยชน์ในการเทียบชนิดของปรัชญาในภายหลัง
9.3 การสงสัย (Universal Doubt ยูนิเฝอ-แซ็ล เด้าท๎)
ปรัชญา คือ การเก็งความจริง (Speculation ซเพค-อิวเลฌั่น) โดยการคิดอนุมานไปจากข้อเท็จจริง (Inference from Fact อีน-เฟอะเร็นซ ฟร็อม แฟ็คท๎) อันเราแน่แก่ใจแล้วว่า มีอยู่จริง ทั้งนี้แม้ว่าข้อเท็จจริงจะเป็นสิ่งเล็กน้อยสักเท่าใดก็ตาม
เดส์การ์ตส์ได้ค้นพบว่า หลังจากได้พยายามพิจารณาดูบรรดาข้อเท็จจริงที่ผ่านมาในความจัดเจนของเขา เขาก็ไม่แน่ใจสักอย่างเดียวว่าชิ้นไหนมีอยู่จริง เขากลับพบว่ามีแง่ชวนให้สงสัยเสียทุกอย่างไป
แม้ด้วยอวัยวะรับสัมผัสทั้ง 5 ประการต่างๆจะแจ้งให้เราทราบว่า อะไรต่ออะไรมีอยู่จริงๆก็ตาม แต่ผัสสะก็ลวงเราได้ เช่นวัตถุใหญ่ๆเมื่อมองดูแต่ไกลเห็นเป็นเล็ก คนมีขาไม้แท้ๆกลับรู้สึกเจ็บเมื่อถูกตีที่ขาไม้นั้น ในความฝัน, เราเห็นสิ่งต่างๆแจ่มชัดเหมือนที่เห็นเมื่อตื่น แม้หลักวิชาต่างๆก็อาจเป็นเพียงความสมมติของมนุษย์ก็ได้
อย่างไรก็ตามเดส์การ์ตส์ ก็เพียงแต่สงสัยว่า สิ่งหนึ่งอาจจะมีอยู่หรือไม่มีอยู่ แต่เขาก็ไม่ได้ลงมติว่า ทุกๆสิ่งไม่ได้มีอยู่ (Exist เอ็กสีซท๎) เมื่อเกิดความสงสัยเช่นนี้ปรัชญาแต่ก่อนๆก็เป็นอันว่าล้มพับไป
9.4 สิ่งซึ่งความสงสัย (Doubt เด้าท๎)
ยัน (Imply อิมไพล๎) ว่า สิ่งมีอยู่ คือ ตัวผู้สงสัย เอง
ฉันคิดว่า ตัวฉันถูกลวง เดส์การ์ตส์ เขียนอธิบาย ถ้าเช่นนั้น ฉันก็ต้องมีอยู่, เพราะฉัน เป็นผู้ถูกลวง ฉันถูกชวนให้คิดว่า, ในโลกนี้ไม่มีอะไรอยู่จริงๆเลย ไม่มีฟ้า ไม่มีดิน แล้วก็ไม่มีจิตหรือร่างกายใดๆ ถ้าเช่นนั้น ฉันมิถูกชวนให้คิดไปด้วยหรือว่า,ตัวเองก็ไม่มีอยู่ ย่อมไม่ใช่เช่นนั้นแน่ๆ ฉันต้องมีอยู่อย่างแน่นอน เพราะฉันถูกชักชวนให้คิดเช่นนั้น จะเป็นไปไม่ได้อย่างยิ่งที่ฉันจะไม่มีอยู่ ตราบใดที่ฉันรู้สึกตัวว่าฉันเป็นอะไรบาง อย่าง หลักสมมติที่ว่า ฉันมีอยู่นี้ จำเป็นต้องเป็นความจริงทุกๆคราวที่ฉันกล่าวเช่นนั้น หรือคิดเช่นนั้นในใจ
เดส์การ์ตส์จึงสรุปผลของการยันของความสงสัย(The implication of doubt ฑิ อิมพลิเค-ฌั่น อ็อฝ เด้าท๎) เกี่ยวกับความมีอยู่ของตัวเขาด้วยคำคมอันมีชื่อเสียงว่า
ฉันคิด, ดังนั้น ฉันจึงมีอยู่.
I think, therefore I am! (ไอ ธิงค๎ แฑ-โฟ ไอ แอ็ม)
เขาได้อธิบายถึง ตัวตน,ที่เกิดความสงสัยว่า เป็นสิ่งที่รู้คิดและรู้สึก ทั้งนี้ไม่ว่าจะสงสัยหรือเชื่อ ตั้งใจ เข้าใจ คิด ฝัน หรือแม้แต่จะเพียงกระทบสิ่งนอกกาย ตัวตน (Self เซ็ลฟ๎) นี้ ย่อมไม่เหมือนกับความคิดหรือความสงสัย หรือจะพูดอีกทางหนึ่งก็ได้ว่า มันไม่เหมือนกับมโนภาพ (Idea ไอดี-อะ) หรือแม้แต่ประมวลแห่งมโนภาพนั้น
เดส์การ์ตส์กล่าวว่ามี ตัวตน หรือ วิญญาณ หรือจิต อันมีมโนภาพและมีความรู้สึก เขาใช้คำพูดว่า
ถ้าจะพูดให้แน่นอนลงไปแล้ว ฉัน คือ สิ่งซึ่งคิด,เป็นจิต
อีกประการหนึ่งเขากล่าวว่า ตัวตนมีอิสระ เพราะ
ฉันรู้สึกอิสระที่จะเลือกสรร ฉันรู้สึกว่าฉันมีเจตจำนงแรงเพียงพอ สามารถคิดข้ามเลยขอบเขตใดๆไปได้ทั้งหมด
การพิสูจน์ว่าตัวตนมีอยู่นี้ จะต้องไม่นำไปเทียบกับความรู้สึกตัวเองว่ามีอยู่ของคนสามัญ เพราะนั่นเป็นการถือเอาโดยไม่พิสูจน์แต่อย่างไร
9.5 ผลการอนุมาน (inference) ไปจากความมีอยู่ (existence)
ของตัวเรา, ความมีอยู่ของพระเป็นเจ้า (GOD)
เดส์การ์ตส์ จำกัดความ (Define ดิไฟน๎) ว่า พระเป็นเจ้า คือ สิ่งหนึ่งซึ่งสมบูรณ์ (Perfect เพอ-เฟ็คท๎) มีตัวตน มีอำนาจเหนือทุกสิ่ง มีปัญญาและความดีเหนือทุกสิ่ง เขาไม่ได้อธิบายว่าลักษณะแห่งพระเป็นเจ้านี้รู้มา ได้อย่างไร แต่ข้ามไปพิสูจน์ความมีอยู่ของพระองค์ไว้ 4 ประการด้วยกันคือ
9.5.1 สิ่งซึ่งเราแน่ใจเท่ากับตัวเองต้องมีอยู่
ก็เมื่อเราแน่ใจว่าพระเป็นเจ้ามีอยู่เท่าๆกับตัวเองแล้ว พระเป็นเจ้าก็ต้องมีอยู่ เดส์การ์ตส์ กล่าวในข้อนี้ว่า ไม่ว่าฉันจะถือข้อพิสูจน์อย่างไรก็ตาม มันก็มาลงเอยอยู่เช่นนี้ว่า, สิ่งซึ่งฉันนึกถึงอย่างกระจ่างแจ้งและแน่นอนเท่านั้น จึงจะมีอำนาจชักชวนให้ฉันคิดถึงสิ่งนั้นได้...และเกี่ยวกับพระเป็นเจ้านั้น...ฉันก็ไม่รู้อะไรดีไปกว่าที่ว่า, พระองค์เป็นสิ่งหนึ่งซึ่งยิ่งใหญ่หรือเป็นพระเป็นเจ้า แม้ในการพิจารณาถึงความจริงข้อนี้ ฉันต้องใช้ความคิดอย่างจดจ่อสักปานใดก็ตาม....ฉันก็แน่ใจในความคิดนั้น เสมือนหนึ่งว่า,สิ่งนั้นมีอยู่อย่างแน่นอน ข้อนี้เดส์การ์ตส์ไม่ได้อ้างเหตุผลอะไรในการพิสูจน์ คงอ้างความใกล้ชิด (Immediacy อิมี-ดีอะซิ่) เท่านั้น เขารู้สึกว่า, ตัวตนของเขาใกล้ชิดกับพระเป็นเจ้า จึงมีความคิดอย่างแจ่มชัดเกี่ยวกับพระองค์เท่าๆ กับตัวเขาเอง เมื่อพิสูจน์ได้ว่าตัวเขาเองมีอยู่ พระเป็นเจ้าก็ต้องมีอยู่ด้วย
9.5.2 ข้อพิสูจน์ข้อนี้มีมานานแล้วโดยเซ้นต์ แอนเซล์ม (Saint Anselm)
คิดขึ้นในสมัยกลางของพวกสกอลาสติคส๎ (Scholastics) ว่าด้วยมโนภาพของสิ่งอันสัมบูรณ์ (Absolute) ด้วยประการทั้งปวง ความสมบูรณ์ (Perfection เพอะเฟค-ฌั่น) นี้ย่อมประกอบด้วยคุณลักษณะต่างๆ เช่น อำนาจ คุณธรรม ปัญญา ฯลฯ แต่คุณลักษณะเหล่านี้ย่อมไม่สมบูรณ์ ถ้าขาดความมีอยู่ของพระเป็นเจ้าด้วย ฉะนั้นพระเป็นเจ้าจึงจำเป็นต้องมีอยู่ เสมือนกับกรณีสามเหลี่ยมต้องมีสามมุมรวมกันเข้าเท่ากับสองมุมฉากฉะนั้น ซึ่งในกรณีนี้หากสามเหลี่ยมมีอยู่ มุมสามมุมของมันก็จำเป็นต้องรวมกันเข้าได้สองมุมฉาก
9.5.3 เดส์การ์ตส์ ได้วางหลักเกี่ยวกับเหตุผลไว้ว่า, ความแท้จริง (Reality ริแอล-อิทิ่) อันจำกัด (Limited ลีม-อิทิด) ทุกชิ้นย่อมเนื่องมาจากเหตุและเหตุเช่นนี้, ย่อมเป็นเหตุที่กระทำอยู่ตลอดเวลาที่ยังไม่เกิดผล กล่าวคือ ถ้าผลยังไม่เกิด, เหตุก็ยังไม่หยุดกระทำการ เราทราบว่าตัวเรามีอยู่ และทราบว่าตัวเราเป็นสิ่งจำกัด มีตัวตน และทั้งมีมโนภาพว่า,มีพระเป็นเจ้าเป็นสิ่งสัมบูรณ์อันไม่มีความจำกัด (Unlimited อันลีม-อิทิด) แต่ทั้งตัวเราและมโนภาพเกี่ยวกับพระเป็นเจ้านั้น ย่อมเนื่องมาจากเหตุ และเหตุนี้, ต้องเป็นสิ่งซึ่งสามารถสร้างสรรค์ (Create คริเอท) และดำรง (Preserve พริเสิฝ) ตัวเราไว้กับมโนภาพเกี่ยวกับพระเป็นเจ้าในตัวเรา และก็จะมีแต่สิ่งไม่จำกัด แต่สัมบูรณ์เท่านั้น จึงจะเป็นเหตุเบื้องสุดของเราอย่างจริงจังได้ รวมทั้งเป็นเหตุของมโนภาพเกี่ยวกับพระเป็นเจ้านั้นได้ ฉะนั้นสิ่งไม่จำกัด คือ พระเป็นเจ้า,จึงมีอยู่ กล่าวคือจะเกิดอย่างนี้ก็ได้
อยู่ดีๆ,เราก็รู้สึกกันว่ามีพระเป็นเจ้า ความคิดเช่นนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร หากไม่มีสิ่งซึ่งเป็นต้นเหตุของความคิดอย่างนั้น ความคิดเช่นนี้ย่อมไม่ได้มาจากตัวเราแน่ๆ เพราะเราเป็นสิ่งจำกัดและบกพร่อง (Imperfect อิมเพอ-เฟ็คท๎) ด้วยประการทั้งปวง จึงต้องมีสิ่งไม่จำกัดแต่สัมบูรณ์ชวนให้เราคิดไปเช่นนั้น นั่นคือต้องมีพระเป็นเจ้านั่นเอง
9.5.4 จะต้องมีต้นเหตุที่ทำให้ตัวเรามีอยู่ เราย่อมไม่ใช่เหตุของตัวเราอย่างแน่นอน เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นเราจะไม่เกิดความสงสัยและปรารถนาอะไรเลย และก็คงจะไม่ต้องการความสมบูรณ์อะไรอีก กล่าวคือเราจะกลายเป็นพระเป็นเจ้าไปนั่นเอง และก็เป็นที่แน่นอนได้ว่า,สิ่งซึ่งสมบูรณ์น้อยกว่าพระเป็นเจ้านั้นก็ไม่ใช่เหตุเบื้องสุด (Ultimate Cause อัล-ทิมิท คอส) ของเรา เพราะพระองค์เองจะต้องมีเหตุต่อไปอีก ฉะนั้นเหตุเบื้องสุดจึงต้องเป็นพระเป็นเจ้า
ตลอดชีวิตฉัน เดส์การ์ตส์กล่าว ชีวิต, แบ่งออกได้เป็นส่วนต่างๆไม่รู้จบสิ้น ส่วนหนึ่ง ๆไม่เกี่ยวข้องกันเลย ดังนั้นการที่ฉันมีอยู่เมื่อครู่นี้จึงไม่ได้หมายความว่า, ฉันจะมีอยู่เดี๋ยวนี้ นอกจากจะมีเหตุในปัจจุบันสร้างฉันขึ้นมาใหม่ หรือดำรงตัวฉันไว้ และสิ่งซึ่งดำรงตัวฉันไว้นี้, ก็จะดำรงสิ่งอื่นด้วย ตราบใดที่ยังมีสรรพสิ่งในโลกอยู่ ก็ต้องมีเหตุดำรงมันไว้ เหตุเช่นนั้นต้องมีสภาพไม่จำกัด – เป็นพระเป็นเจ้านั่นเอง
เหตุซึ่งก่อให้เกิดเดส์การ์ตส์ อาจเป็นบิดาของเขาก็ได้ แต่เขาว่าพ่อแม่เป็นเหตุทางร่างกายครั้งเดียวเท่านั้น ไม่ได้เป็นเหตุทางจิตด้วย
เขาไม่ได้กล่าวถึงธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมเลย และนี่เป็นความบกพร่องอย่างมหันต์ในปรัชญาของเขาทีเดียว
เมื่อกล่าวถึงพระเป็นเจ้า, เดส์การ์ตส์ ก็เลยอธิบายสภาพของพระองค์ คือ
พระองค์ทรงเป็นสิ่งสัมบูรณ์อย่างเต็มที่..มีอิสระเต็มที่ ไม่ต้องพึ่งสิ่งใด พระองค์ทรงไม่มีร่าง (Non corporeal น็อน คอโพ-เรียล) เพราะการมีร่าง หมายถึงความจำกัด อีกประการหนึ่งพระองค์ไม่ทรงมีพิชาน (Consciousness คอน-ฌัซเน็ซ) อะไร เพราะทรงเป็นสิ่งไม่จำกัด พระองค์ เพียงทรงมีเพียงความเข้าใจและเจตจำนงเท่านั้น แต่ก็ไม่ได้เข้าใจและตั้งใจเหมือนคนเรา เพราะต้องทรงควบคุมบรรดาพฤติการณ์ของสิ่งทั้งปวงซึ่งมีอยู่ พระเป็นเจ้าย่อมทรงไม่หลอกลวงเรา เพราะการหลอกลวงหมายถึงความไม่สมบูรณ์ในคุณธรรม
9.6 ผลของการมีพระเป็นเจ้า
การมีสิ่งซึ่งมีร่างและตัวตนที่จำกัด (Finite Selves)
พระเป็นเจ้าย่อมไม่ทรงหลอกลวงเราด้วยเหตุผลดังกล่าวแล้ว แต่เราได้รับผัสสะมาจากสิ่งภายนอก และเราก็สำนึกอยู่ว่า,มีสิ่งอันเป็นจริงนอกตัวเรา ฉะนั้นเมื่อความคิดเช่นนี้ได้จากพระเป็นเจ้า สิ่งเหล่านั้นก็ต้องมีอยู่จริง แล้วสิ่งซึ่งจำกัดอื่นๆ เช่นตัวตนอื่นนอกจากเรา ก็ต้องมีอยู่ด้วย
ข้อพิสูจน์,ข้อต่อไปนี้,ก็คล้ายๆของล็อค (Locke) นักปรัชญาชาวอังกฤษ,คนเราอาจมีความคิดฝันอย่างไรก็ได้ ซึ่งแม้แต่ความฝันก็เป็นความตรึงตรา (Impression อิมพเรฌ-อั้น) ของความจัดเจน (Experience เอ็กซ๎พี-เรียนซ๎) ที่กล่าวมาแล้ว ผัสสะที่เรารับมานั้นบังคับให้เราเห็นตามนั้น เราจะไปเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมมโนภาพที่เกิดตรงจากผัสสะหาได้ไม่ เราอาจจะไม่อยากเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แต่มันคงอยู่ที่เดิมไม่หายไปไหน ถ้ามองอีกก็เห็นอีก ฉะนั้นสิ่งซึ่งมีร่าง (Corporeal Thing คอโพ-เรียล ธิง) นอกกายจึงต้องมีอยู่จริงๆ ตามมติของเดส์การ์ตส์, สิ่งซึ่งมีอยู่ (That which exist แฑ็ท ฮวิช เอ็กสีซท๎) นั้น ไม่ใช่สี กลิ่น รส ความฝืดต้าน หรือความนุ่มนวลอันเป็นสมบัติของมัน เพราะความรู้สึกในผัสสะเหล่านี้อยู่ที่เราสิ่งที่มีอยู่คือการกินที่ (Extension เอ็กซ๎เทน-ฌั่น) ของมันเท่านั้น และการกินที่ ก็คือการที่วัตถุขัดขืนไม่ให้วัตถุอื่นไปแย่งที่มัน หรือการที่มันไปแย่งที่วัตถุอื่นได้ ความรู้สึกในผัสสะดังกล่าวมาแล้วนั้น, เกิดจากการเคลื่อนไหวของส่วนเล็กๆของเนื้อ หรือของอนุภาค (Particle พาทิค'ล) ของมัน
โลกตามความเป็นจริงในทรรศนะของเดส์การ์ตส์นั้น ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส มันเหมือนกับโลกที่คนตาบอดซึ่งเป็นหวัดคลำพบนั่นเอง และเป็นโลกแห่งกาลและอวกาศ (Time and Space ไทม๎ แอ็นด๎ ซเพซ) เหมือน ของนักวิทยาศาสตร์เดี๋ยวนี้ เขาได้ให้ข้อพิสูจน์ในเรื่องนี้ไว้ 4 ประการคือ
9.6.1 การกินที่ (Extension เอ็กซ๎เทน-ฌั่น) เท่านั้นเป็นสิ่งที่เราสามารถเข้าใจได้อย่างแจ่มแจ้ง ทั้งนี้เพราะมีวิชากลศาสตร์ (Mechanics มิแค็น-อิคซ๎) และ Hydrostatics (ไฮดโระซแทท-อิคซ๎) เกิดขึ้น และสามารถวัดการกินที่ได้ แล้วสามารถแยกแยะอธิบายมันได้อย่างถนัดถนี่ด้วย นักคณิตศาสตร์คือผู้ที่เข้าใจเรื่องนี้ดี การปรากฏอย่างอื่นของสสารเช่นน้ำหนักและสีนั้นเป็นสิ่งที่ทำให้คนเราเกิดความรู้สึกสับสนไม่แน่นอน
9.6.2 คุณภาพอย่างอื่นๆของวัตถุ ก็ไม่ใช่สิ่งแทนวัตถุนั้น เช่นเมื่อเอามือดันวัตถุ เราจะรู้ว่ามันมีอยู่ก็เฉพาะตรงที่มันขัดขวางการเคลื่อนไหวหรือการกินที่ของมือเรา ถ้าวัตถุเคลื่อนที่เร็วเท่ากับมือแล้ว ก็จะเท่ากับเราดันลมเล่นเปล่าๆ ฉะนั้นความแข็งของวัตถุจึงไม่ใช่ตัววัตถุนั้น ในเวลาเดียวกันนี้ วัตถุทุกชนิดต้องกินที่ จะเอาสิ่งใดไปแทนที่มันโดยไม่ให้มันเคลื่อนที่ไปเสียก่อนนั้นไม่ได้
9.6.3 ตามผลการทดลองปรากฏว่า การเคลื่อนไหวของวัตถุก่อให้เกิดความรู้สึกอย่างอื่นๆได้ เ ช่นเมื่อเอาดาบฟันเนื้อก็รู้สึกความเจ็บปวดเมื่อเวลาดาบเคลื่อนไหว ความฝืดคือแรงต่อต้านการเคลื่อนไหว สีต่างๆคือช่วงยาวคลื่นต่างๆกันของแสงในอวกาศ แต่ข้อท้ายนี้สมัยเดส์การ์ตส์ยังไม่ทราบ
9.6.4 ความรู้สึกต่างๆวิ่งไปสู่มันสมองได้โดยผ่านการเคลื่อนไหวของเส้นประสาทและเซลล์สมอง ดังนั้นจึงมิได้มีอะไรเข้ามาจากตรงที่ๆมีผัสสะ นอกจากการเคลื่อนไหวเท่านั้น เวลาเราถูกชกนัยน์ตาเราเห็นดาวหรือประกายแสงสว่าง ซึ่งไม่ได้มีอยู่จริง และเวลาเราเอามือป้องหูก็มีเสียงอู้ๆของลม ข้อนี้เกิดจากการเคลื่อนไหวของลมในหู เมื่อเป็นดังนี้ความมีอยู่ของสสารวัตถุจึงแสดงออกเป็นการเคลื่อนไหวเท่านั้น
9.7 สรุปคำสอนของเดส์การ์ตส์ว่าด้วยเนื้อสาร
ตามมติของเดส์การ์ตส์นั้น เนื้อสาร (Substance ซับ-ซแท็นซ๎) คือสิ่งซึ่งมีอยู่ได้เองโดยไม่พึ่งสิ่งใด ตามคำจำกัดความนี้ เนื้อสารก็เป็นได้อย่างเดียวคือ เป็นพระเป็นเจ้า พระเป็นเจ้าคือยอดแห่งเนื้อสารทั้งปวง เนื้อสารอื่นๆทั้งปวงนั้น พระเป็นเจ้าทรงสร้างสรรค์ขึ้นมาและแบ่งออกได้เป็นสองชนิด คือ ชนิดเพียงมีตัวตนชนิดหนึ่ง และชนิดมีพิชานหรือความรู้สึกนึกคิดอีกชนิดหนึ่ง
ในกรณีที่เนื้อสารเป็นสิ่งที่มีอยู่ได้เอง จิตกับร่างกายจึงไม่มีข้อเกี่ยวข้องร่วมกันแต่อย่างใด เพราะร่างกายเป็นเนื้อสารประเภทมีตัวตน ส่วนจิตนั้นไม่มีตัวตน จิตหรือวิญญาณของมนุษย์ไม่เกี่ยวข้องกับร่างกายเลย ร่างกายเป็นเพียงเครื่องจักร หรือสรีรยนต์อันมีธรรมชาติ กินที่ และเป็นไปตามกฎของกลศาสตร์ (Mechanics มิแค็น-อิคซ๎) และคณิตศาสตร์เท่านั้น เดส์การ์ตส์ว่า,สัตว์เป็นเพียงเครื่องจักรกลที่เคลื่อนไหวตัวเองได้ หามีวิญญาณไม่ การเกี่ยวข้องระหว่างจิตและร่างกายของมนุษย์ เช่นในเวลาหิวกระหาย และได้รับผัสสะจากภายนอกนั้น เดส์การ์ตส์ว่า,เกิดขึ้นในทำนองชี้ทาง แต่ไม่ได้ก่อการเคลื่อนไหวขึ้นโดยตรงในร่าง และจิตก็เกี่ยวข้องกับร่างกายอยู่เพียงนิดเดียว ตรงจุดที่เล็กที่สุด คือ ต่อมไพนีล (Pineal Gland ไพนีล แกลนด๎) ในสมองเท่านั้น การแยกจิตกับกายออกจากกันนี้ ทำให้สากลโลกปราศจากเรื่องราวทางจิตเสียโดยสิ้นเชิง
เดส์การ์ตส์เคยคิดว่าพระเป็นเจ้าทรงสร้างโลกให้เป็นก้อนธาตุดั้งเดิมเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ต่อมาได้เกิดสิ่งต่างๆขึ้นเองตามกฎแห่งวิทยาศาสตร์ที่พระองค์ทรงประสาทไว้ แม้พืชหรือสัตว์ก็เกิดขึ้นตามกฎเหล่านี้ มติเช่นนี้คล้ายคลึงกับทฤษฎีวิวัฒนาการในปัจจุบัน บูฟ์ฟอง (Buffon) นักธรรมชาติวิทยายังเคยกล่าวชมว่า
เดส์การ์ตส์นี่เอง เป็นผู้เริ่มต้นทฤษฎีนี้
งานสำคัญๆทางปรัชญาของเดส์การ์ตส์ มีดังนี้คือ
1. Discourse on method 1637
2. Meditations on the first philosophy 1629-1640
3. Principles of philosophy 1644
4. Rules for the direction of the mind 1701
ปรัชญาทวินิยม ของ เรอเน เดส์การ์ตส์1596-1650
คำว่าปรัชญาสมัยใหม่ (Modern Philosophy มอด-เอิน ฟิลอซ-โอะฟิ่) นั้น นักศึกษาทางปรัชญาถือว่าเริ่มด้วยปรัชญาของเรอเน แด็ส การ์ตส์ หรือ เรอเน เดส์การ์ตส์ ตามเรื่องราวของสมัยกลาง ซึ่งเริ่มจากระหว่าง ปี ค.ศ. 900 -1000 มาถึง ปี ค.ศ.1700 นั้น เราทราบว่าความคิดของมนุษย์ก็คงยังติดข้องในตรรกแบบฉบับหรือตรรกบัญญัติ (Formal Logic) อยู่
ในปัญญาวิวัฒน์ของผู้เขียน ซึ่งกล่าวถึงโลกสมัยโบราณในภาค 1 และสมัยปัจจุบันในภาค 2 นั้น ได้ระบุว่าระยะเวลาจากปี 1000 ก่อน ค.ศ. ถึง ค.ศ. 1700 ซึ่งยาวนานถึง 2700 ปีนี้เป็นสมัยปัญญาทางปรัชญา กล่าวคือ เป็นสมัยตรรกบัญญัติ ซึ่งนิยมหาความแท้จริงด้วยการคิดหา แต่ไม่นิยมการหาความแท้จริงด้วยการค้นหาค้นคว้าทดลอง ด้วยการสังเกตทางอวัยวะรับสัมผัส และนอกจากจะเชื่อว่าผัสสะลวงเราได้แล้วอวัยวะรับสัมผัสนั้นยังเป็นสิ่งต่ำกว่าจิต
แต่นับจากปี ค.ศ.1700 เป็นต้นมา, จึงจัดเป็นระยะเวลาเริ่มต้นของสมัยปัญญาทางวิทยาศาสตร์ หากนับถึงปัจจุบันก็เพิ่งมีอายุเพียง 250 ปีกว่าเท่านั้น สมัยแห่งปัญญาได้หดสั้นลง ทั้งนี้เพราะมีเครื่องมือในการแสวงหาปัญญาและมีการศึกษาแบบใหม่ดีขึ้น ๆ ปัญญาจึงพัฒนาการไปอย่างก้าวกระโดด มิได้ขยายตามส่วนบัญญัติไตรยางศ์อีกแล้ว หากแต่ขยายตามส่วนคูณ (Geometric จีโอะเมท-ริค) อย่างใดอย่างหนึ่ง
สมัยที่วิทยาศาสตร์ยังหาข้อเท็จจริงให้เราไม่พอนั้น การแสวงหาข้อเท็จจริงในสมัยปัญญาทางปรัชญา เราก็จำต้องคิดข้อเท็จจริงนั้นเอาเองและเชื่อว่าอาจคิดได้ถูกต้องด้วย กล่าวคือเราเชื่อกันว่า จากเหตุเราอาจคิดให้รู้ผลได้ หรือจากผลเราอาจคิดให้รู้เหตุได้ การคิดทางปรัชญาได้เข้ามาแทนที่ศรัทธาทางศาสนาของสมัยปัญญาทางศาสนา(5000-1000 ปีก่อนค.ศ.) ที่เชื่อโดยต้องไม่คิด, ไม่ต้องสงสัย การคิดทางปรัชญาถูกถือกันว่าเป็นความลึกซึ้งแห่งความคิด หรืออีกนัยยะหนึ่งถือกันว่า นักปรัชญาเป็นผู้มีปัญญาความคิดสูง พวกเขาจึงได้รับการต้อนรับจากราชสำนักของกษัตริย์และอภิชนคนรวย แต่ก็มีนักปรัชญาฝ่ายประชาชนที่ถูกกดขี่ โจมตีความคิดอันล้าสมัยของนักปรัชญาจิตนิยมเหล่านั้น โจมตีศาสนาที่มีอำนาจครอบงำอิสรภาพในความคิด และโจมตีวงการปกครองที่อนุรักษ์นิยม แต่นักปรัชญาเหล่านี้ก็ถูกจับใส่คุก หรือถูกขับไล่ไสส่งออกจากวงสังคม แต่พวกนี้ก็คงมีตลอดมาในประวัติศาสตร์มิได้ขาดสาย
ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 นี้เอง ที่วิทยาศาสตร์อันแท้จริง, ยกเว้นวิทยาศาสตร์อย่างหยาบของพวกกรีก, เพิ่งแรกคลอดออกมาเท่านั้น ปัญญาทางปรัชญาจึงคงครอบงำจิตใจนักคิดต่อไป และล่วงล้ำเข้าไปถึงสมัยปัญญาทางวิทยาศาสตร์ เสมือนหนึ่งศรัทธาในศาสนาประจำสมัยปัญญาทางศาสนาได้ล่วงล้ำเข้ามาในสมัยปัญญาทางปรัชญาฉะนั้น
ในการแบ่งสมัยนี้แม้จะมีเหตุการณ์เด็ดขาดทางประวัติศาสตร์มาตัดแบ่งก็ตาม ก็ไม่มีการเด็ดขาดใดๆทางปัญญา ตรงกันข้ามทีเดียว,พอปัญญาใหม่เกิดขึ้น ปัญญาเก่าก็จะงอกงามอีกครั้งหนึ่งเพื่อฮึดสู้ ดังจะเห็นได้ว่าทุกยุคทุกสมัย ปัญญาเก่ากับปัญญาใหม่เป็นต้องได้ต่อกรกันเสมอมา นี่เป็นหลักของวิวัฒนาการแห่งปัญญาทีเดียว
ฉะนั้นเราจะเห็นว่า เมื่อพวกกรีกได้คิดปรัชญาสสารนิยมขึ้นมาในสมัยพุทธกาลนั้น ซอกราตีสกับพลาโต้ ก็คิดปรัชญาจิตนิยมขึ้นมาสู้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เมื่อมีปรัชญาสสารนิยมเกิดขึ้นมาอีก แต่พอต้นคริสต์ ศตวรรษที่ 18 ปรัชญาจิตนิยมของเบิ๊ร์คลี่ย์ (Berkeley) และฮูว์ม (Hume) ก็เกิดขึ้นมาต้านทานไว้ แม้จนปัจจุบัน,ปรัชญาสสารนิยมกับจิตนิยมก็ยังต่อกรกันอยู่ มันเป็นความจริงของพัฒนาการแห่งสรรพสิ่งนั่นเองที่ว่า,พัฒนาการของสิ่งใดก็ตามย่อมเกิดจากความขัดแย้งภายในเนื้อของมันเอง
อย่างไรก็ตามเราก็เห็นจากประวัติศาสตร์ว่าเวลาไม่ใช่ปัจจัยของพัฒนาการ แต่พลังแห่งการขัดแย้งของคนเท่านั้นที่เป็นปัจจัย
ความขัดแย้งของสสารนิยมกับจิตนิยมนี้ในสมัยของเดส์การ์ตส์ก็คง มีอยู่ เพราะสสารนิยมของโยฮันน์ เค็ปเล่อร์ (Johann Kepler) กับกาลิเลโย (Glileo) เกิดมาแย้งกับจิตนิยมของคริสต์ศาสนา เดส์การ์ตส์เกิดสองจิตสองใจ แม้จะนิยมวิทยาศาสตร์ใหม่แต่ก็มีศรัทธาในจิตนิยมแบบเก่า ด้วยประการฉะนี้ท่าทีทวินิยม (Dualism ดยู-แอะลิส’ม) จึงเกิดขึ้นในปรัชญาของเขา การที่เขามีความภักดีต่อผู้มีอำนาจในยุโรปนั้นก็เป็นเหตุของความลังเลนี้ด้วย แม้พอจะเข้าใจการตื่นตัวของประชาชนเพื่อให้พ้นแอกการปกครองอย่างเก่า แต่เขาก็รู้จักพวกเจ้านายของยุโรปสนิทเกินไป
9.1 ชีวประวัติ เรอเน เดส์การ์ตส์ (Rene Descartes)
เรอเน แเด็สการ์ตส์ หรือ เรอเน เดส์การ์ตส์ (Rene Descartes) เป็นบุตรของตระกูลขุนนางในเมืองตูเรน (Touraine) เขาได้รับการศึกษาในวิทยาลัยลีซูร์ (Le Sueur) ที่ลาฟูร์ช (Lafourche) และแสดงความเฉลียวฉลาดมาตั้งแต่เด็กๆ อย่างไรก็ดีเมื่ออายุได้ 16 ปีก็ต้องออกจากโรงเรียน เขาเขียนรำพันไว้ในหนังสือ Discourse on Method (ดิโคซ ออน เมธ-อัด) ในภายหลังว่า ในบรรดาวิชาการต่างๆที่เขาร่ำเรียนมานั้น วิชาปรัชญาเป็นที่ต้องกับนิสัยเขามากกว่าวิชาอื่น และเนื่องจากเป็นวิชาที่ยังไม่กำหนดหลักอะไรแน่นอนลงไป เขาจึงคิดว่าคงจะประสบความสำเร็จในทางนี้
ฉะนั้นเมื่อมีอายุพอสมควร เขาจึงออกท่องเที่ยวไปตามประเทศต่างๆในยุโรป โดยได้แวะเยี่ยมราชสำนักและกองทัพต่างๆ เขาได้เข้าวิสาสะกับบุคคลซึ่งมีฐานะและนิสัยต่างๆกัน แล้วก็ได้รับความจัดเจนหลายประการจากการนี้ เช่นนี้เขาจึงเข้าใจว่า คงจะทำให้ประสบข้อเท็จจริงสำหรับใช้คิดปรัชญาขึ้นเองได้ เขามีจุดมุ่งหมายอยู่ว่า
“..ฉันก็เกิดความกระหายอยากรู้ขึ้นอย่างแรงกล้าว่าอย่างไหนเป็นความเท็จอย่างไหนเป็นความจริง ทั้งนี้ก็เพื่อนำมาใช้ดำเนินชีวิตด้วยความมั่นคง และความสามารถเข้าใจการกระทำของตนเองได้อย่างแจ่มแจ้ง”
เรอเน เดส์การ์ตส์ เข้าประจำการเป็นทหารอยู่ 2 ปีในประเทศฮอลันดา ทั้งนี้โดยร่วมกรมเดียวกับเจ้าชายมอริซ (Maurice) บุตรของวิลเลียม อ็อฝ ออเรนจ๎ (William of Orange) ข้อนี้ดูจะเป็นการเย้ยฐานะในการเป็นพระแต่เดิมของเขาเป็นอย่างยิ่ง ต่อมาอีก 2 ปีเขาคงเป็นทหารอยู่ และคราวนี้ได้เข้ารบในสงครามจริงๆกับพวกโบฮีเมีย (Bohemian โบะฮีเมียน)ซึ่งมีเฟรเดอริก (Frederick V) ที่ 5 เป็นจอมทัพ การเป็นทหารไม่ได้ทำให้เดส์การ์ตส์ละทิ้งนิสัยชอบคิด แม้เมื่ออยู่กับมอริซ, เขาก็มีเวลาว่างเหลือเฟือสำหรับค้นคว้าทางคณิตศาสตร์ เขาได้พิจารณาข้อเกี่ยวพันระหว่างปริมาณสองจำนวน เพราะว่า,ระหว่างนั้นวิทยาศาสตร์กำลังสาละวนอยู่กับการหาสูตรแสดงความเกี่ยวข้องของประมาณตั้งแต่สองอย่างขึ้นไป ในความพยายามเขียนภาพของการเกี่ยวพันเช่นนี้ เขาก็พบ (Coordinate Geometry โคะออ-ดิเน็ท จิออม-อิทริ่) ซึ่งต่อมาก่อให้เกิดการรู้จักใช้และเขียนกราฟ (Graph กรัฟ) ขึ้น นี่, คือการแสดงความเกี่ยวข้องเป็นเส้นตรงหรือเส้นโค้ง โดยวัดที่ตั้งของจุดไปจากแกนสมมติ X (เอ็กซ๎) กับ Y (ไว) นั่นเอง
ด้วยประการฉะนี้การหาความเกี่ยวข้องระหว่างประมาณซึ่งเป็นเหตุเป็นผลแก่กันก็สามารถเกิดขึ้นได้ ทำให้วิทยาศาสตร์มีเครื่องมืออันสำคัญยิ่งในการค้นคว้าทางปริมาณ และการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์นั้นก็เป็นการค้นคว้าทางปริมาณเสียเป็นส่วนใหญ่ การค้นคว้าทางคุณภาพ (Quality ควอล-อิทิ่) เป็นเพียงชั้นรอง และติดมากับการค้นคว้าทางปริมาณเท่านั้น
การค้นคิดทางคำนวณ, ทำให้เขาได้สหายเป็นนักคณิตศาสตร์ชาวฮอลันดาชื่อไอแซ้ก บิแคม (Isaac Beecham) ต่อมาอีกสักเล็กน้อยเขาเริ่มค้นคิดทางปรัชญาและเอาความแจ่มแจ้งในความคิดทางคณิตศาสตร์ไปใช้ในการคิดปรัชญาบ้าง ชีวิตในปารีสอึกทึกครึกโครมเกินไปเขาจึงไปตั้งรกรากอยู่ในประเทศฮอลันดา แล้วติดต่อกับโลกภายนอกโดยผ่านมิตรสหายที่เชื่อถือได้ อาศัยความเงียบสงัดในฮอลันดา เดส์การ์ตส์จึงสามารถแต่งตำราปรัชญาและวิทยาศาสตร์ธรรมชาติขึ้นได้
ในทางปรัชญานั้นเขาพยายามละทิ้งความคิดออกจากคนโบราณ และพยายามคิดขึ้นใหม่ เขาได้ค้นวิชาอื่นๆด้วยเหมือนกัน เช่นทัศนศาสตร์ (Optics ออพ-ทิคซ๎) ดาราศาสตร์ สรีรศาสตร์และจิตวิทยา นักปราชญ์ในสมัยก่อนมักเก่งหลายวิชา เช่นเดส์การ์ตส์เป็นตัวอย่าง ปรัชญาและวิทยาศาสตร์ของเดส์การ์ตส์ไปปะทะเข้ากับสำนัก Romanist (โร-แม็น-อิสท๎) ซึ่งเขาเป็นสมาชิกอยู่ แต่เขาก็ยอมคล้อยตามมติของศาสนาเสมอ เขามีความเชื่อมั่นว่ามติทางปรัชญาและวิทยาศาสตร์ของเขานั้นเข้ากับศาสนาได้
ปรัชญาของเรอเน เดส์การ์ตส์ ถูกรับรองโดยทั่วกันและได้แพร่ หลายออกไป นักคิดสมัยนั้นยอมรับว่า ต้องเริ่มคิดปรัชญาไปจากความสงสัยในความมีอยู่ของตัวตนเสียก่อน แล้วจึงใช้ความคิดอันไม่คลุมเครือต่อทอดความรู้ของเขาออกไป และเดส์การ์ตส์ก็ไม่พ้นไปจากหลักคิดที่ปัญญาทางปรัชญาครอบงำอยู่นั่นเอง คือที่ว่า ความรู้ได้มาจากการคิด
มิตรที่เกิดจากการเที่ยวสอนปรัชญาของเขาก็มีสตรีอยู่สองคน คนแรกคือเจ้าหญิงอลิซาเบธ (Elizabeth) แห่งโบฮีเมีย (Bohemia) ซึ่ง เดส์การ์ตส์ เคยไปรบพร้อมกับเธอด้วย เดส์การ์ตส์อุทิศเรื่อง Principle of Philosophy (พรีน-ซิพ'ล อ็อฝฟิลอซ-โอะฟิ่) ให้กับเจ้าหญิงองค์นี้ และยังเขียนบทความชื่อ The Passions of the Soul (ฑิ แพฌ-อันส อ็อฝ ฑิ โซล) ให้ด้วย สานุศิษย์ผู้มีชื่อยิ่งกว่านี้ คือ ควีน คริสตินา (Queen Christina) แห่งประเทศสวีเดนในปี ค.ศ.1649 เดส์การ์ตส์ได้รับเชิญให้ไปอยู่ที่สต็อกโฮล์ม (Stockholm) ทั้งนี้เนื่องจากองค์การศาสนาในฮอลันดาพากันต้านปรัชญาของเขา อากาศอันหนาวยะเยือกในประเทศนั้นไม่เหมาะกับเดส์การ์ตส์เลย สมเด็จพระบรมราชินียังทรงนิยมให้มีปุจฉาวิสัชนาทางปรัชญาตอนเช้าๆ ซึ่งมีอากาศหนาวมากด้วย เดส์การ์ตส์จึงทรุดโทรมลงไป แล้วถึงแก่กรรมใน ปี ค.ศ.1650 มีผู้เศร้าโศกต่อการจากไปของเขาเป็นอันมาก
9.2 มติทางปรัชญาทวินิยมของเดส์การ์ตส์
เดส์การ์ตส์เล่าว่า วันหนึ่งขณะที่ฉันอยู่ในเยอรมนี หลังกลับจากพระราชพิธีปราบดาภิเษกสมเด็จพระมหาจักรพรรดิมาแล้ว ทั้งๆที่อากาศแสนจะหนาว ก็ยังบังคับให้ฉันต้องเข้าเฝ้า ให้ไปนั่งอยู่ด้วยเงียบๆ ซึ่งเมื่อไม่มีการสนทนาอะไรจะมาทำให้จิตหันเหไป เมื่อไม่มีกังวลหรือนิวรณ์อะไรมารบกวนจิตใจ ฉันก็หาทางฆ่าเวลาโดยการซ่อนตัวอยู่แต่ในกระโจมที่พัก แล้วทำให้จิตใจเพลิดเพลินในยามว่างด้วยการใช้ความคิด เมื่อเริ่มคิดปรัชญา ฉันก็ระลึกได้ว่า ที่แล้วมานั้น ฉันเชื่อคำสอนของอาจารย์ผู้ประสาทวิชาง่ายเกินไป
เมื่อเขาเกิดความสงสัยขึ้นมาด้วยประการต่างๆ จึงตกลงใจที่จะวางหลักปรัชญาเสียใหม่ เขาจึงวางหลักในการหาความจริงไว้ว่า
1. จะต้องไม่รับว่าอะไรเป็นความจริงจนกว่าเราจะเห็นประจักษ์ด้วยตนเองว่าเป็นเช่นนั้น นี่ก็ไม่ผิดอะไรกับกาลามสูตรในพุทธศาสนา
2. จะต้องวิเคราะห์แยกแยะความรู้ของเราออกไป
3. จะต้องใช้ความคิดให้เข้าหลักตรรกวิทยา
4. จะต้องพิจารณาผลที่เราคิดได้
สามข้อหลังนี้ก็เป็นวิธีการของวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน ซึ่งประกอบ ด้วยการวิเคราะห์พิจารณา (Analysis อะแนล-อิซิส) การใช้เหตุผลทาง ตรรกวิทยา (Logical Reasoning ลอจ-อิแค็ล รี-สนิ่ง) และการทดสอบผลที่สรุปได้ (Verification เฝริฟิเค-ฌั่น)
หลักปรัชญาของเดส์การ์ตส์นั้นเป็นไปในทางเชื่อในความแท้จริงจำนวนมากหลาย เช่น บุคคล พระเป็นเจ้า และสรรพสิ่งอื่นๆนอกตัวบุคคล ปรัชญาของเขาจึงเป็นประเภทพหุนิยมทางจำนวน(Numerically Pluralistic) แต่ความแท้จริงจำนวนมากหลายของเดส์การ์ตส์คงมีลักษณะผิดกันเพียง 2 ประการเท่านั้น คือ เป็นจิตอย่างหนึ่งและเป็นสสารอีกอย่างหนึ่ง ฉะนั้นทัศนะปรัชญาของเขาจึงเป็นทวินิยมหรือไทวตะ การเรียกปรัชญาของเดส์การ์ตส์ว่าเป็นชนิด Pluralistic Dualism (พลู-แระลิสทิค ดยู-แอะลิส'ม) จึงมีประโยชน์ในการเทียบชนิดของปรัชญาในภายหลัง
9.3 การสงสัย (Universal Doubt ยูนิเฝอ-แซ็ล เด้าท๎)
ปรัชญา คือ การเก็งความจริง (Speculation ซเพค-อิวเลฌั่น) โดยการคิดอนุมานไปจากข้อเท็จจริง (Inference from Fact อีน-เฟอะเร็นซ ฟร็อม แฟ็คท๎) อันเราแน่แก่ใจแล้วว่า มีอยู่จริง ทั้งนี้แม้ว่าข้อเท็จจริงจะเป็นสิ่งเล็กน้อยสักเท่าใดก็ตาม
เดส์การ์ตส์ได้ค้นพบว่า หลังจากได้พยายามพิจารณาดูบรรดาข้อเท็จจริงที่ผ่านมาในความจัดเจนของเขา เขาก็ไม่แน่ใจสักอย่างเดียวว่าชิ้นไหนมีอยู่จริง เขากลับพบว่ามีแง่ชวนให้สงสัยเสียทุกอย่างไป
แม้ด้วยอวัยวะรับสัมผัสทั้ง 5 ประการต่างๆจะแจ้งให้เราทราบว่า อะไรต่ออะไรมีอยู่จริงๆก็ตาม แต่ผัสสะก็ลวงเราได้ เช่นวัตถุใหญ่ๆเมื่อมองดูแต่ไกลเห็นเป็นเล็ก คนมีขาไม้แท้ๆกลับรู้สึกเจ็บเมื่อถูกตีที่ขาไม้นั้น ในความฝัน, เราเห็นสิ่งต่างๆแจ่มชัดเหมือนที่เห็นเมื่อตื่น แม้หลักวิชาต่างๆก็อาจเป็นเพียงความสมมติของมนุษย์ก็ได้
อย่างไรก็ตามเดส์การ์ตส์ ก็เพียงแต่สงสัยว่า สิ่งหนึ่งอาจจะมีอยู่หรือไม่มีอยู่ แต่เขาก็ไม่ได้ลงมติว่า ทุกๆสิ่งไม่ได้มีอยู่ (Exist เอ็กสีซท๎) เมื่อเกิดความสงสัยเช่นนี้ปรัชญาแต่ก่อนๆก็เป็นอันว่าล้มพับไป
9.4 สิ่งซึ่งความสงสัย (Doubt เด้าท๎)
ยัน (Imply อิมไพล๎) ว่า สิ่งมีอยู่ คือ ตัวผู้สงสัย เอง
ฉันคิดว่า ตัวฉันถูกลวง เดส์การ์ตส์ เขียนอธิบาย ถ้าเช่นนั้น ฉันก็ต้องมีอยู่, เพราะฉัน เป็นผู้ถูกลวง ฉันถูกชวนให้คิดว่า, ในโลกนี้ไม่มีอะไรอยู่จริงๆเลย ไม่มีฟ้า ไม่มีดิน แล้วก็ไม่มีจิตหรือร่างกายใดๆ ถ้าเช่นนั้น ฉันมิถูกชวนให้คิดไปด้วยหรือว่า,ตัวเองก็ไม่มีอยู่ ย่อมไม่ใช่เช่นนั้นแน่ๆ ฉันต้องมีอยู่อย่างแน่นอน เพราะฉันถูกชักชวนให้คิดเช่นนั้น จะเป็นไปไม่ได้อย่างยิ่งที่ฉันจะไม่มีอยู่ ตราบใดที่ฉันรู้สึกตัวว่าฉันเป็นอะไรบาง อย่าง หลักสมมติที่ว่า ฉันมีอยู่นี้ จำเป็นต้องเป็นความจริงทุกๆคราวที่ฉันกล่าวเช่นนั้น หรือคิดเช่นนั้นในใจ
เดส์การ์ตส์จึงสรุปผลของการยันของความสงสัย(The implication of doubt ฑิ อิมพลิเค-ฌั่น อ็อฝ เด้าท๎) เกี่ยวกับความมีอยู่ของตัวเขาด้วยคำคมอันมีชื่อเสียงว่า
ฉันคิด, ดังนั้น ฉันจึงมีอยู่.
I think, therefore I am! (ไอ ธิงค๎ แฑ-โฟ ไอ แอ็ม)
เขาได้อธิบายถึง ตัวตน,ที่เกิดความสงสัยว่า เป็นสิ่งที่รู้คิดและรู้สึก ทั้งนี้ไม่ว่าจะสงสัยหรือเชื่อ ตั้งใจ เข้าใจ คิด ฝัน หรือแม้แต่จะเพียงกระทบสิ่งนอกกาย ตัวตน (Self เซ็ลฟ๎) นี้ ย่อมไม่เหมือนกับความคิดหรือความสงสัย หรือจะพูดอีกทางหนึ่งก็ได้ว่า มันไม่เหมือนกับมโนภาพ (Idea ไอดี-อะ) หรือแม้แต่ประมวลแห่งมโนภาพนั้น
เดส์การ์ตส์กล่าวว่ามี ตัวตน หรือ วิญญาณ หรือจิต อันมีมโนภาพและมีความรู้สึก เขาใช้คำพูดว่า
ถ้าจะพูดให้แน่นอนลงไปแล้ว ฉัน คือ สิ่งซึ่งคิด,เป็นจิต
อีกประการหนึ่งเขากล่าวว่า ตัวตนมีอิสระ เพราะ
ฉันรู้สึกอิสระที่จะเลือกสรร ฉันรู้สึกว่าฉันมีเจตจำนงแรงเพียงพอ สามารถคิดข้ามเลยขอบเขตใดๆไปได้ทั้งหมด
การพิสูจน์ว่าตัวตนมีอยู่นี้ จะต้องไม่นำไปเทียบกับความรู้สึกตัวเองว่ามีอยู่ของคนสามัญ เพราะนั่นเป็นการถือเอาโดยไม่พิสูจน์แต่อย่างไร
9.5 ผลการอนุมาน (inference) ไปจากความมีอยู่ (existence)
ของตัวเรา, ความมีอยู่ของพระเป็นเจ้า (GOD)
เดส์การ์ตส์ จำกัดความ (Define ดิไฟน๎) ว่า พระเป็นเจ้า คือ สิ่งหนึ่งซึ่งสมบูรณ์ (Perfect เพอ-เฟ็คท๎) มีตัวตน มีอำนาจเหนือทุกสิ่ง มีปัญญาและความดีเหนือทุกสิ่ง เขาไม่ได้อธิบายว่าลักษณะแห่งพระเป็นเจ้านี้รู้มา ได้อย่างไร แต่ข้ามไปพิสูจน์ความมีอยู่ของพระองค์ไว้ 4 ประการด้วยกันคือ
9.5.1 สิ่งซึ่งเราแน่ใจเท่ากับตัวเองต้องมีอยู่
ก็เมื่อเราแน่ใจว่าพระเป็นเจ้ามีอยู่เท่าๆกับตัวเองแล้ว พระเป็นเจ้าก็ต้องมีอยู่ เดส์การ์ตส์ กล่าวในข้อนี้ว่า ไม่ว่าฉันจะถือข้อพิสูจน์อย่างไรก็ตาม มันก็มาลงเอยอยู่เช่นนี้ว่า, สิ่งซึ่งฉันนึกถึงอย่างกระจ่างแจ้งและแน่นอนเท่านั้น จึงจะมีอำนาจชักชวนให้ฉันคิดถึงสิ่งนั้นได้...และเกี่ยวกับพระเป็นเจ้านั้น...ฉันก็ไม่รู้อะไรดีไปกว่าที่ว่า, พระองค์เป็นสิ่งหนึ่งซึ่งยิ่งใหญ่หรือเป็นพระเป็นเจ้า แม้ในการพิจารณาถึงความจริงข้อนี้ ฉันต้องใช้ความคิดอย่างจดจ่อสักปานใดก็ตาม....ฉันก็แน่ใจในความคิดนั้น เสมือนหนึ่งว่า,สิ่งนั้นมีอยู่อย่างแน่นอน ข้อนี้เดส์การ์ตส์ไม่ได้อ้างเหตุผลอะไรในการพิสูจน์ คงอ้างความใกล้ชิด (Immediacy อิมี-ดีอะซิ่) เท่านั้น เขารู้สึกว่า, ตัวตนของเขาใกล้ชิดกับพระเป็นเจ้า จึงมีความคิดอย่างแจ่มชัดเกี่ยวกับพระองค์เท่าๆ กับตัวเขาเอง เมื่อพิสูจน์ได้ว่าตัวเขาเองมีอยู่ พระเป็นเจ้าก็ต้องมีอยู่ด้วย
9.5.2 ข้อพิสูจน์ข้อนี้มีมานานแล้วโดยเซ้นต์ แอนเซล์ม (Saint Anselm)
คิดขึ้นในสมัยกลางของพวกสกอลาสติคส๎ (Scholastics) ว่าด้วยมโนภาพของสิ่งอันสัมบูรณ์ (Absolute) ด้วยประการทั้งปวง ความสมบูรณ์ (Perfection เพอะเฟค-ฌั่น) นี้ย่อมประกอบด้วยคุณลักษณะต่างๆ เช่น อำนาจ คุณธรรม ปัญญา ฯลฯ แต่คุณลักษณะเหล่านี้ย่อมไม่สมบูรณ์ ถ้าขาดความมีอยู่ของพระเป็นเจ้าด้วย ฉะนั้นพระเป็นเจ้าจึงจำเป็นต้องมีอยู่ เสมือนกับกรณีสามเหลี่ยมต้องมีสามมุมรวมกันเข้าเท่ากับสองมุมฉากฉะนั้น ซึ่งในกรณีนี้หากสามเหลี่ยมมีอยู่ มุมสามมุมของมันก็จำเป็นต้องรวมกันเข้าได้สองมุมฉาก
9.5.3 เดส์การ์ตส์ ได้วางหลักเกี่ยวกับเหตุผลไว้ว่า, ความแท้จริง (Reality ริแอล-อิทิ่) อันจำกัด (Limited ลีม-อิทิด) ทุกชิ้นย่อมเนื่องมาจากเหตุและเหตุเช่นนี้, ย่อมเป็นเหตุที่กระทำอยู่ตลอดเวลาที่ยังไม่เกิดผล กล่าวคือ ถ้าผลยังไม่เกิด, เหตุก็ยังไม่หยุดกระทำการ เราทราบว่าตัวเรามีอยู่ และทราบว่าตัวเราเป็นสิ่งจำกัด มีตัวตน และทั้งมีมโนภาพว่า,มีพระเป็นเจ้าเป็นสิ่งสัมบูรณ์อันไม่มีความจำกัด (Unlimited อันลีม-อิทิด) แต่ทั้งตัวเราและมโนภาพเกี่ยวกับพระเป็นเจ้านั้น ย่อมเนื่องมาจากเหตุ และเหตุนี้, ต้องเป็นสิ่งซึ่งสามารถสร้างสรรค์ (Create คริเอท) และดำรง (Preserve พริเสิฝ) ตัวเราไว้กับมโนภาพเกี่ยวกับพระเป็นเจ้าในตัวเรา และก็จะมีแต่สิ่งไม่จำกัด แต่สัมบูรณ์เท่านั้น จึงจะเป็นเหตุเบื้องสุดของเราอย่างจริงจังได้ รวมทั้งเป็นเหตุของมโนภาพเกี่ยวกับพระเป็นเจ้านั้นได้ ฉะนั้นสิ่งไม่จำกัด คือ พระเป็นเจ้า,จึงมีอยู่ กล่าวคือจะเกิดอย่างนี้ก็ได้
อยู่ดีๆ,เราก็รู้สึกกันว่ามีพระเป็นเจ้า ความคิดเช่นนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร หากไม่มีสิ่งซึ่งเป็นต้นเหตุของความคิดอย่างนั้น ความคิดเช่นนี้ย่อมไม่ได้มาจากตัวเราแน่ๆ เพราะเราเป็นสิ่งจำกัดและบกพร่อง (Imperfect อิมเพอ-เฟ็คท๎) ด้วยประการทั้งปวง จึงต้องมีสิ่งไม่จำกัดแต่สัมบูรณ์ชวนให้เราคิดไปเช่นนั้น นั่นคือต้องมีพระเป็นเจ้านั่นเอง
9.5.4 จะต้องมีต้นเหตุที่ทำให้ตัวเรามีอยู่ เราย่อมไม่ใช่เหตุของตัวเราอย่างแน่นอน เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นเราจะไม่เกิดความสงสัยและปรารถนาอะไรเลย และก็คงจะไม่ต้องการความสมบูรณ์อะไรอีก กล่าวคือเราจะกลายเป็นพระเป็นเจ้าไปนั่นเอง และก็เป็นที่แน่นอนได้ว่า,สิ่งซึ่งสมบูรณ์น้อยกว่าพระเป็นเจ้านั้นก็ไม่ใช่เหตุเบื้องสุด (Ultimate Cause อัล-ทิมิท คอส) ของเรา เพราะพระองค์เองจะต้องมีเหตุต่อไปอีก ฉะนั้นเหตุเบื้องสุดจึงต้องเป็นพระเป็นเจ้า
ตลอดชีวิตฉัน เดส์การ์ตส์กล่าว ชีวิต, แบ่งออกได้เป็นส่วนต่างๆไม่รู้จบสิ้น ส่วนหนึ่ง ๆไม่เกี่ยวข้องกันเลย ดังนั้นการที่ฉันมีอยู่เมื่อครู่นี้จึงไม่ได้หมายความว่า, ฉันจะมีอยู่เดี๋ยวนี้ นอกจากจะมีเหตุในปัจจุบันสร้างฉันขึ้นมาใหม่ หรือดำรงตัวฉันไว้ และสิ่งซึ่งดำรงตัวฉันไว้นี้, ก็จะดำรงสิ่งอื่นด้วย ตราบใดที่ยังมีสรรพสิ่งในโลกอยู่ ก็ต้องมีเหตุดำรงมันไว้ เหตุเช่นนั้นต้องมีสภาพไม่จำกัด – เป็นพระเป็นเจ้านั่นเอง
เหตุซึ่งก่อให้เกิดเดส์การ์ตส์ อาจเป็นบิดาของเขาก็ได้ แต่เขาว่าพ่อแม่เป็นเหตุทางร่างกายครั้งเดียวเท่านั้น ไม่ได้เป็นเหตุทางจิตด้วย
เขาไม่ได้กล่าวถึงธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมเลย และนี่เป็นความบกพร่องอย่างมหันต์ในปรัชญาของเขาทีเดียว
เมื่อกล่าวถึงพระเป็นเจ้า, เดส์การ์ตส์ ก็เลยอธิบายสภาพของพระองค์ คือ
พระองค์ทรงเป็นสิ่งสัมบูรณ์อย่างเต็มที่..มีอิสระเต็มที่ ไม่ต้องพึ่งสิ่งใด พระองค์ทรงไม่มีร่าง (Non corporeal น็อน คอโพ-เรียล) เพราะการมีร่าง หมายถึงความจำกัด อีกประการหนึ่งพระองค์ไม่ทรงมีพิชาน (Consciousness คอน-ฌัซเน็ซ) อะไร เพราะทรงเป็นสิ่งไม่จำกัด พระองค์ เพียงทรงมีเพียงความเข้าใจและเจตจำนงเท่านั้น แต่ก็ไม่ได้เข้าใจและตั้งใจเหมือนคนเรา เพราะต้องทรงควบคุมบรรดาพฤติการณ์ของสิ่งทั้งปวงซึ่งมีอยู่ พระเป็นเจ้าย่อมทรงไม่หลอกลวงเรา เพราะการหลอกลวงหมายถึงความไม่สมบูรณ์ในคุณธรรม
9.6 ผลของการมีพระเป็นเจ้า
การมีสิ่งซึ่งมีร่างและตัวตนที่จำกัด (Finite Selves)
พระเป็นเจ้าย่อมไม่ทรงหลอกลวงเราด้วยเหตุผลดังกล่าวแล้ว แต่เราได้รับผัสสะมาจากสิ่งภายนอก และเราก็สำนึกอยู่ว่า,มีสิ่งอันเป็นจริงนอกตัวเรา ฉะนั้นเมื่อความคิดเช่นนี้ได้จากพระเป็นเจ้า สิ่งเหล่านั้นก็ต้องมีอยู่จริง แล้วสิ่งซึ่งจำกัดอื่นๆ เช่นตัวตนอื่นนอกจากเรา ก็ต้องมีอยู่ด้วย
ข้อพิสูจน์,ข้อต่อไปนี้,ก็คล้ายๆของล็อค (Locke) นักปรัชญาชาวอังกฤษ,คนเราอาจมีความคิดฝันอย่างไรก็ได้ ซึ่งแม้แต่ความฝันก็เป็นความตรึงตรา (Impression อิมพเรฌ-อั้น) ของความจัดเจน (Experience เอ็กซ๎พี-เรียนซ๎) ที่กล่าวมาแล้ว ผัสสะที่เรารับมานั้นบังคับให้เราเห็นตามนั้น เราจะไปเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมมโนภาพที่เกิดตรงจากผัสสะหาได้ไม่ เราอาจจะไม่อยากเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แต่มันคงอยู่ที่เดิมไม่หายไปไหน ถ้ามองอีกก็เห็นอีก ฉะนั้นสิ่งซึ่งมีร่าง (Corporeal Thing คอโพ-เรียล ธิง) นอกกายจึงต้องมีอยู่จริงๆ ตามมติของเดส์การ์ตส์, สิ่งซึ่งมีอยู่ (That which exist แฑ็ท ฮวิช เอ็กสีซท๎) นั้น ไม่ใช่สี กลิ่น รส ความฝืดต้าน หรือความนุ่มนวลอันเป็นสมบัติของมัน เพราะความรู้สึกในผัสสะเหล่านี้อยู่ที่เราสิ่งที่มีอยู่คือการกินที่ (Extension เอ็กซ๎เทน-ฌั่น) ของมันเท่านั้น และการกินที่ ก็คือการที่วัตถุขัดขืนไม่ให้วัตถุอื่นไปแย่งที่มัน หรือการที่มันไปแย่งที่วัตถุอื่นได้ ความรู้สึกในผัสสะดังกล่าวมาแล้วนั้น, เกิดจากการเคลื่อนไหวของส่วนเล็กๆของเนื้อ หรือของอนุภาค (Particle พาทิค'ล) ของมัน
โลกตามความเป็นจริงในทรรศนะของเดส์การ์ตส์นั้น ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส มันเหมือนกับโลกที่คนตาบอดซึ่งเป็นหวัดคลำพบนั่นเอง และเป็นโลกแห่งกาลและอวกาศ (Time and Space ไทม๎ แอ็นด๎ ซเพซ) เหมือน ของนักวิทยาศาสตร์เดี๋ยวนี้ เขาได้ให้ข้อพิสูจน์ในเรื่องนี้ไว้ 4 ประการคือ
9.6.1 การกินที่ (Extension เอ็กซ๎เทน-ฌั่น) เท่านั้นเป็นสิ่งที่เราสามารถเข้าใจได้อย่างแจ่มแจ้ง ทั้งนี้เพราะมีวิชากลศาสตร์ (Mechanics มิแค็น-อิคซ๎) และ Hydrostatics (ไฮดโระซแทท-อิคซ๎) เกิดขึ้น และสามารถวัดการกินที่ได้ แล้วสามารถแยกแยะอธิบายมันได้อย่างถนัดถนี่ด้วย นักคณิตศาสตร์คือผู้ที่เข้าใจเรื่องนี้ดี การปรากฏอย่างอื่นของสสารเช่นน้ำหนักและสีนั้นเป็นสิ่งที่ทำให้คนเราเกิดความรู้สึกสับสนไม่แน่นอน
9.6.2 คุณภาพอย่างอื่นๆของวัตถุ ก็ไม่ใช่สิ่งแทนวัตถุนั้น เช่นเมื่อเอามือดันวัตถุ เราจะรู้ว่ามันมีอยู่ก็เฉพาะตรงที่มันขัดขวางการเคลื่อนไหวหรือการกินที่ของมือเรา ถ้าวัตถุเคลื่อนที่เร็วเท่ากับมือแล้ว ก็จะเท่ากับเราดันลมเล่นเปล่าๆ ฉะนั้นความแข็งของวัตถุจึงไม่ใช่ตัววัตถุนั้น ในเวลาเดียวกันนี้ วัตถุทุกชนิดต้องกินที่ จะเอาสิ่งใดไปแทนที่มันโดยไม่ให้มันเคลื่อนที่ไปเสียก่อนนั้นไม่ได้
9.6.3 ตามผลการทดลองปรากฏว่า การเคลื่อนไหวของวัตถุก่อให้เกิดความรู้สึกอย่างอื่นๆได้ เ ช่นเมื่อเอาดาบฟันเนื้อก็รู้สึกความเจ็บปวดเมื่อเวลาดาบเคลื่อนไหว ความฝืดคือแรงต่อต้านการเคลื่อนไหว สีต่างๆคือช่วงยาวคลื่นต่างๆกันของแสงในอวกาศ แต่ข้อท้ายนี้สมัยเดส์การ์ตส์ยังไม่ทราบ
9.6.4 ความรู้สึกต่างๆวิ่งไปสู่มันสมองได้โดยผ่านการเคลื่อนไหวของเส้นประสาทและเซลล์สมอง ดังนั้นจึงมิได้มีอะไรเข้ามาจากตรงที่ๆมีผัสสะ นอกจากการเคลื่อนไหวเท่านั้น เวลาเราถูกชกนัยน์ตาเราเห็นดาวหรือประกายแสงสว่าง ซึ่งไม่ได้มีอยู่จริง และเวลาเราเอามือป้องหูก็มีเสียงอู้ๆของลม ข้อนี้เกิดจากการเคลื่อนไหวของลมในหู เมื่อเป็นดังนี้ความมีอยู่ของสสารวัตถุจึงแสดงออกเป็นการเคลื่อนไหวเท่านั้น
9.7 สรุปคำสอนของเดส์การ์ตส์ว่าด้วยเนื้อสาร
ตามมติของเดส์การ์ตส์นั้น เนื้อสาร (Substance ซับ-ซแท็นซ๎) คือสิ่งซึ่งมีอยู่ได้เองโดยไม่พึ่งสิ่งใด ตามคำจำกัดความนี้ เนื้อสารก็เป็นได้อย่างเดียวคือ เป็นพระเป็นเจ้า พระเป็นเจ้าคือยอดแห่งเนื้อสารทั้งปวง เนื้อสารอื่นๆทั้งปวงนั้น พระเป็นเจ้าทรงสร้างสรรค์ขึ้นมาและแบ่งออกได้เป็นสองชนิด คือ ชนิดเพียงมีตัวตนชนิดหนึ่ง และชนิดมีพิชานหรือความรู้สึกนึกคิดอีกชนิดหนึ่ง
ในกรณีที่เนื้อสารเป็นสิ่งที่มีอยู่ได้เอง จิตกับร่างกายจึงไม่มีข้อเกี่ยวข้องร่วมกันแต่อย่างใด เพราะร่างกายเป็นเนื้อสารประเภทมีตัวตน ส่วนจิตนั้นไม่มีตัวตน จิตหรือวิญญาณของมนุษย์ไม่เกี่ยวข้องกับร่างกายเลย ร่างกายเป็นเพียงเครื่องจักร หรือสรีรยนต์อันมีธรรมชาติ กินที่ และเป็นไปตามกฎของกลศาสตร์ (Mechanics มิแค็น-อิคซ๎) และคณิตศาสตร์เท่านั้น เดส์การ์ตส์ว่า,สัตว์เป็นเพียงเครื่องจักรกลที่เคลื่อนไหวตัวเองได้ หามีวิญญาณไม่ การเกี่ยวข้องระหว่างจิตและร่างกายของมนุษย์ เช่นในเวลาหิวกระหาย และได้รับผัสสะจากภายนอกนั้น เดส์การ์ตส์ว่า,เกิดขึ้นในทำนองชี้ทาง แต่ไม่ได้ก่อการเคลื่อนไหวขึ้นโดยตรงในร่าง และจิตก็เกี่ยวข้องกับร่างกายอยู่เพียงนิดเดียว ตรงจุดที่เล็กที่สุด คือ ต่อมไพนีล (Pineal Gland ไพนีล แกลนด๎) ในสมองเท่านั้น การแยกจิตกับกายออกจากกันนี้ ทำให้สากลโลกปราศจากเรื่องราวทางจิตเสียโดยสิ้นเชิง
เดส์การ์ตส์เคยคิดว่าพระเป็นเจ้าทรงสร้างโลกให้เป็นก้อนธาตุดั้งเดิมเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ต่อมาได้เกิดสิ่งต่างๆขึ้นเองตามกฎแห่งวิทยาศาสตร์ที่พระองค์ทรงประสาทไว้ แม้พืชหรือสัตว์ก็เกิดขึ้นตามกฎเหล่านี้ มติเช่นนี้คล้ายคลึงกับทฤษฎีวิวัฒนาการในปัจจุบัน บูฟ์ฟอง (Buffon) นักธรรมชาติวิทยายังเคยกล่าวชมว่า
เดส์การ์ตส์นี่เอง เป็นผู้เริ่มต้นทฤษฎีนี้
งานสำคัญๆทางปรัชญาของเดส์การ์ตส์ มีดังนี้คือ
1. Discourse on method 1637
2. Meditations on the first philosophy 1629-1640
3. Principles of philosophy 1644
4. Rules for the direction of the mind 1701
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น