วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เซลลูลาร์ (cellular)


ระบบเซลลูล่าร์
ระบบเซลลูล่าร์คือระบบของโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งใช้เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายเป็นหัวใจสำคัญ มีการจัดสรรช่วงความถี่เฉพาะสำหรับระบบและมีการประยุกต์ใช้ความถี่หลายซ้ำหลายๆชุด โดยจัดสรรลงบนพื้นที่ให้บริการต่างๆกัน ซึ่งพื้นที่ให้บริการดังล่าวจะถูกเรียกว่า เซลล์ (Cell) โดยขนาดของเซลล์นั้นจะขึ้นอยู่กับปริมาณความหนาแน่นของผู้ใช้บริการต่อพื้นที่ คือ ถ้าเป็นบริเวณเมืองหลวงก็จำเป็นต้องใช้เซลล์ที่มีขนาดเล็กหลายๆ เซลล์เพื่อเพิ่มจำนวนช่องสัญญาณให้กับระบบในขณะที่บริเวณต่างจังหวัดอาจมีผู้ใช้บริการน้อยการกำหนดขนาดของเซลล์ให้มีขนาดใหญ่จะคุ้มในการลงทุนมากกว่า ( เซลล์ขนาดเล็กนั้นมีความหนาแน่นมากกว่าเซลล์ขนาดใหญ่เมื่อพื้นที่การให้บริการเท่ากัน )



แสดงการใช้ความถี่ของระบบเซลลูล่าร์ในแต่ละเซลล์

เซลล์จะถูกให้บริการได้โดยสถานีฐาน (Base Station) ซึ่งสามารถติดต่อกับ ตัวเครื่องโมบายล์ (Mobile Station) ตัวเครื่องโมบายล์คืออุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารในระบบเซลลูล่าร์ การติดต่อระหว่างสถานีฐานกับตัวเครื่องโมบายล์จะใช้ช่องสัญญาณ 2 แบบ แบบ forward (downlink) กับ reverse (uplink) ช่องสัญญาณแบบ forward นั้นใช้ส่งข้อมูลจากสถานีฐานไปยังตัวเครื่องโมบายล์ ส่วนช่องสัญญาณแบบ reverse ใช้ส่งข้อมูลจากตัวเครื่องโมบายล์ไปยังสถานีฐาน โดยช่องสัญญาณทั้ง 2 แบบนั้นจะถูกแบ่งเป็นช่องสัญญาณสำหรับควบคุม (control channel) ใช้สำหรับติดตั้ง (setup) การเชื่อมต่อ และช่องสัญญาณเสียง (voice or data channel) ใช้สำหรับการส่งข้อมูล


แสดงช่องสัญญาณระหว่างสถานีฐานกับตัวเครื่องโมบายล์

การใช้สัญญาณที่ต่ำกับความถี่ค่าหนึ่งของเซลล์แรกในการพาสัญญาณเสียงพูด ทำให้ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถนำสัญญาณความถี่เดียวกันนี้ไปใช้กับช่องสัญญาณเสียงพูดของเซลล์อีกเซลล์หนึ่งที่อยู่ถัดออกไป แต่ไม่ติดกับเซลล์แรกได้โดยมีสัญญาณรบกวนระหว่างกันน้อยที่สุด เป็นหลักการใช้ความถี่ซ้ำหรือหลักการนำความถี่มาใช้ใหม่ (Frequency Reuse) ทำให้ใช้ความถี่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและเพิ่มความสามารถในการบริการลูกข่ายของระบบเซลลูล่าร์ให้มีมากขึ้นเมื่อเทียบกับระบบวิทยุสื่อสารทั่วไป
เมื่อพิจารณาขณะที่เครื่องลูกข่ายเริ่มใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่จากเซลล์หนึ่ง ไปยังเซลล์ถัดไป ระบบเซลลูล่าร์จะสามารถทราบได้ว่าสัญญาณที่มีการติดต่อของโทรศัพท์เครื่องแรกมีระดับความแรงของสัญญาณอ่อนลงจนถึงค่าหนึ่ง ระบบจะทำการโอนถ่ายช่องสัญญาณการสนทนาของเครื่องลูกข่ายดังกล่าวไปยังเซลล์ถัดไปโดยอัตโนมัติตามทิศทางที่เครื่องลูกข่ายเดินทางไป โดยไม่มีการขัดจังหวะของสัญญาณ ซึ่งเป็นเทคนิคที่เรียกว่า แฮนด์ออฟ (Handoff) หรือ แฮนด์โอเวอร์ (Hand over) ในขณะสนทนาคู่สนทนาทั้งสองฝ่ายจะอยู่บนช่องสัญญาณเสียง ที่สถานีฐานกำหนดให้เมื่อเครื่องลูกข่ายเดินทางออกไปนอกบริเวณที่ให้บริการของสถานีแรก การรับส่งสัญญาณระหว่างตัวเครื่องกับสถานีจะอ่อนลงสถานีแรกก็จะทำการแฮนด์ออฟไปยังชุมสาย ถ้าในสถานีฐานถัดไปมีช่องสัญญาณ ระบบจะทำการสลับช่องสัญญาณเสียงไปยังสถานีใหม่ โดยไม่มีการขัดจังหวะการสนทนา


แสดงการเดินทางของโมบายล์
โครงสร้างพื้นฐานของระบบเซลลูล่าร์

ตัวเครื่องโมบายล์ (Mobile Station)
ตัวเครื่องโมบายล์คืออุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารในระบบเซลลูล่าร์ มีส่วนแตกต่างจากโทรศัพท์ทั่วไปตรงที่มี หน่วยควบคุม ตัวรับและส่งสัญญาณคลื่นวิทยุ (Transceiver) และระบบสายอากาศ (Antenna System) ตัวโมบายล์จะสามารถตรวจสอบระดับสัญญาณในบริเวณที่เครื่องอยู่ได้ มีอัลกอริทึมหรือโปรแกรมสำหรับติดต่อกับสถานีฐาน , ส่วนควบคุมสถานีฐานและชุมสายโทรศัพท์เคลื่อนที่

สายอากาศ (Antenna)
สายอากาศหากพิจารณาที่ตัวเครื่องโมบายล์ก็เป็นเพียงสายอากาศขนาดเล็ก แต่ผู้ผลิตตัวเครื่องก็พัฒนารูปแบบของสายอากาศสำหรับตัวเครื่องออกมาเป็นจำนวนหลายรูปแบบ แต่สายอากาศที่สำคัญก็คือสายอากาศที่ตั้งอยู่เหนือสถานีฐาน ซึ่งเชื่อมต่อสัญญาณรูปแบบของสายอากาศทิศทางการรับ/ส่งสัญญาณ


ส่วนประกอบเบื้องต้นของระบบเซลลูล่าร์

สถานีฐาน (Base Station or Base Transceiver Station)
สถานีฐานจะทำหน้าที่เชื่อมต่อสัญญาณระหว่างส่วนควบคุมสถานีฐานกับตัวโมบายล์ โดยจะมีหน่วยควบคุมเช่นกัน มีวงจรอิเล็กทรอนิกส์สำหรับประมวลผลสัญญาณคลื่นวิทยุ มีระบบสายอากาศซึ่งต่อออกมาจากส่วนควบคุมคลื่นวิทยุมีช่องต่อกับเทอร์มินัล เพื่อใช้ในการควบคุมและแก้ไขการติดตั้งอุปกรณ์แหล่งจ่ายไฟของสถานีฐานมีอยู่ 2 ระบบเป็นระบบจ่ายไฟฟ้าจากไฟฟ้าตามบ้านธรรมดาและระบบแบตเตอรี่ในยามฉุกเฉิน


สายส่งสัญญาณ (Transmission Link)
การติดต่อระหว่างสถานีฐานกับตัวโมบายล์กระทำการผ่านทางคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า แต่สำหรับการติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีฐานกับชุมสายจะมีได้หลายรูปแบบเช่น ผ่านทางสัญญาณไมโครเวฟ ผ่านทางสายสัญญาณใยแก้วนำแสงหรืออาจจะผ่านดาวเทียมก็ได้ สายส่งสัญญาณดังกล่าวจะเป็นสายส่งที่มีความเร็วสูง ซึ่งภายในสายส่งหนึ่งลิงค์จะประกอบไปด้วยสัญญาณของคู่สนทนาจำนวนหลายช่องสัญญาณ ซึ่งถูกการมัลติเพล็กซ์ ( เสมือนเป็นการบีบข้อมูลให้เล็กลงก่อนส่งลงไปในสายสัญญาณ )


ส่วนควบคุมสถานีฐาน (Base Station Controller)
ส่วนควบคุมสถานีฐานจะมีการเชื่อมต่อกับสถานีฐาน ( BS) และ ชุมสายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ( BSC and MSC) เพื่อทำหน้าที่ในการควบคุมสถานีฐาน โดยปกติส่วนควบคุมสถานีฐานสามารถที่จะรองรับ สถานีฐานได้ 10 ถึง 100 สถานี ทำหน้าที่จัดสรรช่องสัญญาณ , วัดระดับการเรียกเข้าของเครื่อง โมบายล์ และควบคุมการแฮนด์ออฟระหว่างสถานีฐานกับสถานีฐาน

ชุมสายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Switching Center or Mobile Telephone Switching Office)
ชุมสายโทรศัพท์เป็นศูนย์กลางควบคุมและประสานการทำงานของส่วนควบคุมสถานีฐาน มีตัวประมวลผลของระบบเซลลูล่าร์และสวิตช์สำหรับระบบเซลลูล่าร์ มีการเชื่อมต่อกับชุมสายโทรศัพท์อื่นๆรวมทั้งชุมสายโทรศัพท์สาธารณะด้วย ในบางระบบอาจมีฐานข้อมูลบันทึกข้อมูลของลูกข่ายไว้ในชุมสายด้วย และอาจมีระบบฐานข้อมูลเก็บข้อมูลของกลุ่มหมายเลขต่างๆใช้สำหรับอ้างอิงในการเรียกเข้าหาเครื่องโทรศัพท์หมายเลขที่ต้องการ กล่าวโดยรวมคือทำหน้าที่ควบคุมขั้นตอนการโทรศัพท์และเก็บข้อมูลการโทรศัพท์เพื่อที่จะนำไปเรียกเก็บค่าใช้จ่ายอีกทีหนึ่ง ชุมสายโทรศัพท์จะมีการเชื่อมต่อหลักๆ อยู่สองด้านด้วยกัน คือ ด้านแรกจะต่อเข้ากับส่วนควบคุมสถานีฐานเพื่อทำงานร่วมกันในการส่งผ่านข้อมูลหรือเสียงพูดของคู่สนทนา ด้านที่สองจะทำการเชื่อมต่อกับชุมสายอื่น ( ทั้งในระบบเซลลูล่าร์และระบบสาธารณะ ) เพื่อเป็นทางผ่านต่อไปยังคู่สนทนา
Genetic Algorithm
 เจเนติกส์อัลกอริทึม (Genetic Algorithm) เป็นวิธีการทำให้มีประสิทธิภาพ (Optimization) ที่มีแนวคิดมาจากการวิวัฒนาการ ของสิ่งมีชีวิต โดยการนำค่าของตัวแปรต่างๆที่มีผลต่อค่าใช้จ่ายมาแปลงให้อยู่ในรูปของโครโมโซม (chromosome) ซึ่งอาจจะแสดงในรูปของ bit string หรือ real value string ก็ได้
 ตัวอย่างเช่น กำหนดให้ตัวแปรที่มีผลต่อค่าใช้จ่ายมี 3 ตัวแปร คือ x, y, z โดยทั้งสามตัวแปรมีค่าเป็นเลขจำนวนเต็ม (integer) ในช่วง 0-127 ในกรณีที่ x = 16, y = 77, z = 15 จะสามารถแปลงเป็น โครโมโซม (chromosome) ในรูปแบบ bit string ได้โดย

x = 16 แปลงเป็น bit string ได้ 0010000
y = 77 แปลงเป็น bit string ได้ 1001101
z = 15 แปลงเป็น bit string ได้ 0001111
นำ Binary จาก x, y, และ z มาต่อกันจะได้โครโมโซม (chromosome) ดังนี้
Chromosome = [x, y, z] = [001000010011010001111]

ทั้งนี้ ในการแปลงค่าจากปัจจัยที่นำมาคิดเป็น Binary string นั้น สามารถกำหนดวิธีการแปลงค่าได้เอง ไม่จำเป็นต้องแปลงตามค่าตัวเลขทางคณิตศาสตร์ (numerical)
 หรืออาจจะแปลงเป็นโครโมโซม (Chromosome) ในรูปแบบ real value string จะได้

Chromosome = [x, y, z] = [16|77|15]

ในการดำเนินการของเจเนติกส์อัลกอริทึม (Genetic Algorithm) จะเป็นการดำเนินการโดยมี โครโมโซมอยู่จำนวนหนึ่ง ซึ่งเรียกโครโมโซมกลุ่มนี้ว่า ประชากร

เจเนติกส์อัลกอริทึม (Genetic Algorithm) มีขั้นตอนการทำงาน ดังรูป



แสดงขั้นตอนการทำงานของเจเนติกส์อัลกอริทึม (Genetic Algorithm)

รายละเอียดของการทำงานในแต่ละขั้น มีดังต่อไปนี้

1. การกำหนดค่าตัวแปรและสมการค่าใช้จ่ายที่ใช้ในเจเนติกส์อัลกอริทึม (Selecting Variable and Cost Function)
กำหนดว่าในโจทย์ที่ต้องการ Optimize นั้น มีปัจจัยอะไรที่มีผลต่อค่าใช้จ่ายบ้าง และทำการสร้างฟังก์ชัน (Function) สำหรับคำนวณค่าค่าใช้จ่ายขึ้นมาเพื่อใช้ในขั้นต่อไป

2. สร้างประชากรต้นกำเนิด (Generate Initial Population)
ทำการสร้างประชากรชุดแรก เท่ากับจำนวนประชากรสูงสุดที่กำหนดไว้ ซึ่งอาจจะสร้างขึ้นมาโดยการสุ่ม หรือกำหนดขึ้นเอง

3. การคัดเลือกทางธรรมชาติ (Natural Selection)
เป็นการคัดเลือกโครโมโซม (Chromosome) ที่มีค่าใช้จ่ายมากที่สุดออก ตามอัตราส่วนที่กำหนดไว้ ทำให้เหลือโครโมโซม (Chromosome) อยู่จำนวนหนึ่งสำหรับทำการเลือกคู่ (mating)

4. การเลือกสรร (Selection)
ทำการจับคู่โครโมโซม (Chromosome) ที่เหลือเพื่อทำการเลือกคู่ (mating) โดยใช้วิธีการจับคู่ที่กำหนดขึ้น ซึ่งวิธีการเลือกคู่โครโมโซมขึ้นมา ทำการเลือกคู่ (mating) มีหลายวิธี ดังต่อไปนี้

•  จับคู่โครโมโซม (Chromosome) ที่อยู่ติดกันจากบนลงล่าง
•  จับคู่โดยการสุ่ม โดยความน่าจะเป็นที่โครโมโซม (Chromosome) แต่ละตัวจะถูกสุ่มขึ้นมานั้นมีเท่ากัน
•  จับคู่โดยการสุ่มแบบถ่วงน้ำหนัก วิธีนี้ ความน่าจะเป็นที่โครโมโซม (Chromosome) แต่ละตัวจะถูกสุ่มขึ้นมานั้นมีไม่เท่ากัน โดยวิธีการถ่วงน้ำหนักมี 2 วิธี คือ

1. ถ่วงน้ำหนักโดยดูจากอันดับ วิธีนี้จะคิดความน่าจะเป็นที่โครโมโซม (Chromosome) แต่ละตัวจะถูกสุ่มขึ้นมา ตามลำดับที่เรียงจากโครโมโซมที่มี cost น้อยที่สุด ไปยังโครโมโซมที่มีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด โดยคำนวณความน่าจะเป็นของโครโมโซมแต่ละตัวจากสมการ



= จำนวนโครโมโซมที่เหลือจากขั้น Natural selection

= อันดับของ chromosome

2. ถ่วงน้ำหนักโดยดูจากค่าใช้จ่ายของโครโมโซม วิธีนี้จะคำนวณความน่าจะเป็นที่ โครโมโซมแต่ละตัวจะถูกสุ่มขึ้นมา จากค่าใช้จ่ายของโครโมโซม ตัวนั้นๆ โดยค่าใช้จ่าย ที่นำมาคำนวณนั้น ต้องทำการ normalize ก่อน ด้วยสมการ



= cost ของ chromosome ตัวที่ n

= cost ของ chromosome ที่มี cost ต่ำที่สุดที่ถูกคัดออกจากขั้น Natural Selection

จากนั้น คำนวณความน่าจะเป็นของ Chromosome แต่ละตัวด้วยสมการ



= cost ของ chromosome ตัวที่ n ที่ผ่านการ normalize แล้ว

= cost ของ chromosome ตัวที่ m ที่ผ่านการ normalize แล้ว
•  การเลือกแบบ tournament วิธีนี้จะทำการสุ่มโครโมโซม ขึ้นมาจำนวนหนึ่ง ( 2 ถึง 3 โครโมโซม) ก่อน แล้วค่อยเลือกโครโมโซม ที่มีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดในกลุ่มออกมา

5. การจับคู่ (Mating)
เป็นการนำโครโมโซม คู่ที่ได้เลือกไว้จากขั้น Selection มาสร้างเป็นโครโมโซม ใหม่โดยการทำ crossover ระหว่างโครโมโซม ทั้งสอง ซึ่งวิธีการในการทำ crossover มีหลายวิธี ดังต่อไปนี้

Single crossover ทำการสุ่มตำแหน่ง crossover ขึ้นมาหนึ่งตำแหน่ง แล้วทำการแลกเปลี่ยนยีนส์ (gene) ที่อยู่ต่อจากตำแหน่ง crossover เพื่อสร้างเป็นโครโมโซม ใหม่ขึ้นมา 2 โครโมโซม
Multipoint crossover ทำการสุ่มตำแหน่ง crossover ขึ้นมาจำนวนหนึ่ง เรียงลำดับจากน้อยไปหามาก แล้วทำการแลกเปลี่ยนยีนส์ (gene) ที่อยู่ระหว่างตำแหน่ง crossover ที่อยู่ติดกันเพื่อสร้างเป็นโครโมโซม ใหม่ขึ้นมา 2 โครโมโซม
Uniform crossover สร้าง crossover mask ซึ่งเป็น bit string ซึ่งมีความยาวเท่ากับโครโมโซมขึ้นมา โดยที่ค่าของแต่ละบิต (bit) ได้มาจากการสุ่ม ซึ่งค่าของแต่ละ bit นี้จะเป็นการกำหนดว่าโครโมโซมที่สร้างขึ้นใหม่นั้น จะนำค่าของแต่ละยีนส์มาจาก โครโมโซมตัวใด (จาก โครโมโซม คู่ที่เลือกมาจากขั้น selection) และสร้างอีก โครโมโซมหนึ่งในลักษณะเดียวกันโดยใช้ inverse ของ crossover mask ที่ใช้ข้างต้น
Intermediate crossover ใช้สำหรับโครโมโซมที่เป็นแบบ real value string โดยที่ค่าของแต่ละยีนส์ในโครโมโซมใหม่จะคำนวณจาก


โดย เป็น Factor ที่ถูกสุ่มมาจากช่วงที่กำหนดขึ้นช่วงหนึ่ง ซึ่งจะทำการสุ่มใหม่ทุกครั้งที่เปลี่ยนคู่โครโมโซมและ P 1 , P 2 เป็นโครโมโซมจากขั้น selection

Line crossover มีลักษณะคล้ายกับ Intermediate crossover แต่ค่า ที่ใช้จะคงที่ตลอด
6. การกลายพันธุ์ (Mutation)
ทำการเปลี่ยนแปลงยีนโดยการสุ่มตำแหน่งของยีนที่จะเปลี่ยนแปลงขึ้นมาตามอัตราส่วนการเกิด Mutation ที่กำหนดไว้ โดยการเปลี่ยนแปลงคือการเปลี่ยนค่าของ bit จาก 0 เป็น 1 หรือ จาก 1 เป็น 0 ในกรณีที่เป็นแบบ bit string โดยจะยกเว้นไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับโครโมโซมที่มีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดในขณะนั้น และจะไม่มีการ Mutation ในการทำงานรอบสุดท้าย

7. ผลที่ได้เป็นไปตามเกณฑ์หรือไม่ (Termination Criteria)
เจเนติกส์ (Genetic Algorithm) จะทำงานแบบ Iterative (นับประชากรในแต่ละ iteration เป็น 1 generation) ซึ่งจะหยุดทำงานเมื่อคำตอบที่ได้มีค่าใช้จ่ายในระดับที่ต้องการ, ค่าใช้จ่ายที่ต่ำที่สุดในแต่ละรุ่น (generation) มีค่าเท่ากัน หรือทำงานครบตามจำนวนรอบที่กำหนดไว้

8. จบการทำงาน (Termination)
 เลือกโครโมโซม ที่มีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดเป็นคำตอบของปัญหา
K-Mean algorithm
K-mean algorithm เป็นวิธีการที่ในการแบ่งข้อมูลออกเป็นกลุ่มๆ ตามจำนวนของกลุ่ม (cluster) ที่ต้องการ ซึ่งมีขั้นตอนการทำงาน ดังรูป


แสดงขั้นตอนการทำงานของ K-mean Algorithm

รายละเอียดของแต่ละขั้นตอนเป็นดังนี้

1. Number of cluster k
เป็นการที่กำหนดว่าเราต้องการแบ่งประชากรออกเป็นกี่กลุ่ม (Cluster)

2. Initial centroid to each cluster
ทำการกำหนดค่าของ centroid แต่ละกลุ่มโดย random มาจากประชากรที่มีอยู่

3. Assigned data to set that has nearest centroid until no data pending
ทำการนำประชากรที่มีอยู่จับเข้าแต่ละกลุ่มโดยที่ต้องใกล้กับ centroid ของกลุ่มนั้นมากที่สุด ในแต่ละครั้งที่มีการจับเข้ากลุ่ม ต้องคิดค่า centroid ของกลุ่มนั้นๆใหม่เสมอ โดยหาจากค่าเฉลี่ยของประชากรในกลุ่ม ทำไปจนกว่าจำนวนประชากรจะถูกจัดเข้าทุกกลุ่มจนครบ

4. Compute objective function
 ทำการคำนวณสมการวัตถุประสงค์ตามสูตรนี้



เมื่อ J(objective function) คือ ผลรวมของผลต่างระหว่าง centroid ของข้อมูลในกลุ่มยกกำลังสอง

k คือ จำนวนกลุ่ม (cluster) ทั้งหมด
คือ เซตของข้อมูลกลุ่มที่ i เมื่อ i = 1, 2, 3, …, k
คือ ข้อมูลที่เป็นสมาชิกของเซต
คือ centroid หรือค่าเฉลี่ยของข้อมูลทุกตัวในกลุ่ม

5. Is this minimize objective function
ทำการตรวจสอบว่ากรณีที่ได้มานี้ผลของฟังก์ชันจุดประสงค์ (objective function) นั้นมีค่าต่ำสุด , แทบจะไม่เปลี่ยนแปลงค่า หรือวนครบจำนวนรอบที่กำหนดไว้ใช่หรือไม่

6. A set of k cluster that minimize the objective function
ได้ผลลัพธ์เป็นข้อมูลที่แบ่งเป็นกลุ่มๆทั้งหมด k กลุ่มและมีค่า objective function น้อยที่สุด


Charles Babbage



 หากจะเอ่ยถึงสิ่งประดิษฐ์ของโลกยุคปัจจุบัน ที่นำความเจริญให้กับมนุษยชาติ หนึ่งในนั้นคงจะหนีไม่พ้น "คอมพิวเตอร์" หรือ เทคโนโลยีสมองกล ที่นำความเจริญก้าวหน้าและความสะดวกสบายต่าง ๆ มาให้กับมนุษย์ ซึ่งตอนนี้เชื่อว่าหลายคนอาจจะสงสัยว่า ใครที่เป็นคนสร้างคอมพิวเตอร์ขึ้นมา วันนี้กระปุกดอทคอมก็มีเกร็ดความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ มาฝากเพื่อน ๆ อีกเช่นเคย


            สำหรับผู้บุกเบิกสร้างคอมพิวเตอร์ก็คือ ชาร์ลส์ แบบเบจ (Charles Babbage) เขาเป็นนักคณิตศาสตร์ นักปรัชญาวิเคราะห์ และเป็นนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ เนื่องจากเขาเป็นคนแรกที่มีแนวคิดเรื่องเครื่องคำนวณที่สามารถสร้างโปรแกรมหรือสั่งให้ทำงานได้ ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับส่วนประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน แม้เขาจะเสียชีวิตก่อนที่จะได้เห็นเครื่องในจินตนาการของเขาเสร็จสมบูรณ์ แต่เขาก็ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเครื่องจักรจากแนวคิดของเขาสามารถทำงานได้จริงและมีคุณูปการต่อโลกเป็นอย่างยิ่ง


            โดย ชาร์ลส์ แบบเบจ เกิดเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 1791 (พ.ศ. 2334) ในครอบครัวของนายธนาคาร และเติบโตมาในยุคที่อังกฤษเป็นประเทศที่มีอำนาจ และกำลังอยู่ในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยรัฐบาลให้การสนับสนุนทุนพัฒนาในสาขาต่างๆ อย่างเต็มที่ แบบเบจศึกษาระดับมหาวิทยาลัยที่ ทรินิตี้ คอลเลจ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ที่คณะคณิตศาสตร์ (Mathematical Laboratory) พอเรียนจบ แบบเบจก็ตัดสินใจเป็นอาจารย์ต่อที่คณะ ในปี ค.ศ. 1814 (พ.ศ. 2357) และได้สมรสกับ จอร์เจียนา วิธมอร์ นักคณิตศาสตร์หญิงคนเก่งคนหนึ่งในยุคนั้น


 เครื่องผลต่าง (Difference Engine) 

เครื่องผลต่าง (Difference Engine)

            ทั้งนี้ แบบเบจมีความสนใจในการศึกษาด้านแคลคูลัสเป็นพิเศษ โดยในปี 1822 (พ.ศ. 2365) งานวิจัยที่ทำให้เขาโด่งดังมากคือ เครื่องผลต่าง (Difference Engine) ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาล โดยเครื่องนี้สามารถคำนวณค่าของฟังก์ชันทางตรีโกณมิติได้ ซึ่งอาศัยหลักการต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์ แต่โครงการก็ต้องยุติลงเมื่อเขาได้ค้นพบความไม่น่าเชื่อถือบางประการในการคำนวณ 

            หลังจากนั้นแบบเบจหันไปคิดเครื่องใหม่ที่ชื่อว่า เครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine) โดยเครื่องนี้ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน คือ 

            1. ส่วนเก็บข้อมูล เป็นส่วนที่ใช้ในการเก็บข้อมูลนำเข้าและผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณ 

            2. ส่วนประมวลผล เป็นส่วนที่ใช้ในการประมวลผลทางคณิตศาสตร์ 

            3. ส่วนควบคุม เป็นส่วนที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายข้อมูลระหว่างส่วนเก็บข้อมูลและส่วนประมวลผล

            4. ส่วนรับข้อมูลเข้าและแสดงผลลัพธ์ เป็นส่วนที่ใช้รับข้อมูลจากภายนอกเครื่องเข้าสู่ส่วนเก็บข้อมูล และแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณ 


อย่างไรก็ตาม แนวคิดดังกล่าวเป็นเพียงทฤษฎีเท่านั้น เพราะเขาไม่สามารถสร้างออกมาในช่วงที่เขามีชีวิตอยู่ เนื่องจากมีคนไม่เห็นด้วยมากมาย เพราะความคิดของเขาทันสมัยเกินกว่าเทคโนโลยีในยุคนั้น จนทุก ๆ คนคิดว่ามันเป็นไปไม่ได้ แต่บุคคลที่นำแนวคิดของแบบเบจมาสร้างเครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine) ก็คือ เฮนรี่ ลูกชายของแบบเบจ ในปี 1910 (พ.ศ. 2453) และด้วยเครื่อง Analytical Engine มีฟังก์ชั่นหน้าที่หลายอย่างเช่นเดียวกับคอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบัน ทำให้ ชาลส์ แบบเบจ (Charles Babbage) ถูกขนานนามให้เป็นบิดาแห่งคอมพิวเตอร์เป็นต้นมา


วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ตำนานรักพระจันทร์




ตำนานรักพระจันทร์
นานมาแล้ว...สมัยโลกมีพระจันทร์อยู่สองดวง
มีดวงจันทร์ดวงหนึ่งเป็นผู้หญิง
..กับอีกดวงหนึ่งเป็นผู้ชาย
และดวงจันทร์ทั้งสองดวงนี้ ต่างก็รักกันมาก
ดวงจันทร์ทั้งสองไม่เคยแยกห่างจากกัน...
..ทุก ๆ คืนเมื่อมองไปบนท้องฟ้า
จะเห็นดวงจันทร์ทั้งคู่ อยู่เคียงข้างกันเสมอ..
แต่แล้ววันหนึ่ง..
ดวงจันทร์ผู้หญิงได้ไปพบกับพระอาทิตย์
ทำให้ดวงจันทร์ผู้หญิงหลงไหลในแสงเจิดจ้าของดวงอาทิตย์
จนเลื่อนตัวไปตามพระอาทิตย์ทีละน้อย ทีละน้อย.....
และก็แยกมาจากดวงจันทร์อีกดวงหนึ่งในที่สุด..
เมื่อค่ำคืนมาถึง..
จึงมีดวงจันทร์ผู้ชายเหลืออยู่เพียงดวงเดียว...
ส่วนดวงจันทร์ผู้ชายก็ได้แต่ตามหาดวงจันทร์ผู้หญิงไปทุกหนทุกแห่ง...
คืนแล้วคืนเล่า วันเวลาล่วงผ่านไป
แต่ดวงจันทร์ผู้ชายก็ไม่สามารถตามหาดวงจันทร์ผู้หญิงได้พบ...
ด้วยความคิดถึงแล้วอยากพบดวงจันทร์ผู้หญิงให้เร็วที่สุดทำให้ดวงจันทร์ผู้ชายคิดว่า
"หากเรามัวแต่อยู่อย่างนี้ คงไม่เจอแน่ ๆ "
จึงตัดสินใจ..ระเบิดตัวเอง เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยทั่วจักรวาลเพื่อให้ชิ้นส่วนแต่ละชิ้น ออกตามหาดวงจันทร์อีกดวงหนึ่งนั้น...
....เมื่อเวลาผ่านไป
ทำให้ดวงจันทร์ผู้หญิงเห็นความจริงว่า..
แม้ดวงอาทิตย์จะส่องแสงเจิดจ้า สวยงามสักปานใด
แต่ดวงอาทิตย์ก็มิส่องแสงเจิดจ้า แต่เพียงเธอเท่านั้น
ยังส่องแสงไปดาวอื่น ๆ อีกมากมาย
ดวงจันทร์ผู้หญิงก็กลับไปหาดวงจันทร์ผู้ชายอีกครั้ง..
....แตจ่หาเท่าไหร่ก็หาดวงจันทร์ผู้ชายไม่พบ
ต่อมาจึงได้รู้ว่า ดวงจันทร์ผู้ชายยอมระเบิดตัวเอง เพียงเพื่อตามหาตน
จนกระจัดกระจายเป็นเศษเสี้ยวเล็ก ๆ
ทำให้ดวงจันทร์ผู้หญิงรู้ว่าไม่มีวันที่จะได้เจอกับดวงจันทร์ผู้ชายอีกต่อไป
จึงได้แต่เศร้าโศกและเสียใจ...
แต่ด้วยความรักอันยิ่งใหญ่ที่ดวงจันทร์ผู้ชายมีต่อดวงจันทร์ผู้หญิง
ทุกค่ำคืนจึงพยายามเปล่งประกายแสง
ที่ยังเหลืออยู่เพียงน้อยนิดของตน
ส่งให้ถึงดวงจันทร์ผู้หญิง
เกิดเป็นแสงพร่างพรายเต็มท้องฟ้า เคียงข้างดวงจันทร์
จนเกิดเป็นดวงจันทร์และดวงดาว ให้เราเห็นจนถึงทุกวันนี้ ....
หากเรามองขึ้นไปบนท้องฟ้ายามค่ำคืน วันไหนที่เห็นจันทร์สวยสด
วันนั้นคุณก็จะไม่เห็นดาวดวงน้อยส่องแสง
หรือวันไหนคุณเห็นดาวเปล่งประกายเต็มฟ้ามืด
วันนั้นคุณก็จะไม่พบดวงจันทร์....
" ....เขาและเธอไม่อาจพบกันตลอดกาล...."






" ....เขาและเธอไม่อาจพบกันตลอดกาล...."

5 ตำนานความรักของดอกไม้

1.ดอกซากุระ 
        ในแง่ของตำนาน ซากุระเกิดขึ้นมาเพราะเทวนารีองค์หนึ่ง คือโคโนะฮานะ ซากุยะ ฮิเมะเชื่อกันว่า พระนางเป็นผู้ริเริ่มปลูกซากุระขึ้นเป็นครั้งแรก จึงได้ชื่อตามพระนามของนาง  โคโนะฮานะ ซากุยะ ฮิเมะ เป็นธิดาของโอโฮยามัทซูมิ เทพแห่งภูเขา วันหนึ่งพระนางได้พบเทพนินิงิที่ชายทะเล และตกหลุมรักซึ่ง กันและกัน เทพนินิงิทูลขอเทพโอโฮยามัทซูมิเพื่อขอนางมาเป็นชายา ในตอนแรก เทพโอโฮยามัทซูมิได้เสนอธิดาอีกพระองค์หนึ่ง ซึ่งเป็นเทพีแห่งก้อนหินมาเป็นคู่สยุมพรแทน แต่เทพนินิงิไม่ยอม พระองค์ยังยืนกรานในรักมั่นที่มีต่อเทวี แห่งซากุระ ในที่สุดจึงได้วิวาห์ดังที่ปรารถนา หลังอภิเษกได้เพียงวันเดียวเทพีโคโนะฮานะ ซากุยะ ฮิเมะก็ทรงครรภ์ เทพโอโฮยามัทซูมิทรงคลางแคลงพระทัยว่าบุตรในท้องไปลู กของพระองค์จริงหรือไม่   การที่เทพีโคโนะฮานะ ซากุยะ ฮิเมะ ได้กำเนิดโอรสในกองเพลิงนี่เอง ทำ ให้ชาวบ้านเชื่อกันว่า พระนางควบคุมไฟได้ เลยก็เลยมีการสร้างศาลบูชาพระนางขึ้นที่ตีนภูเขาไฟฟู จิในปี ค.ศ.806 ด้วยความหวังว่า พระนางจะช่วยไม่ให้ภูเขาไฟพิโรธ ทำให้ประชาชนเดือด ร้อน พระนางจึงกลายเป็นเทพีแห่งภูเขาไฟฟูจิด้วย จนถึงทุกวันนี้ ผู้ที่ไปเยือนภูเขาไฟฟูจิมักจะแวะไปศักการะศาลของพระ นางและเชื่อกันอีกอย่าง ว่า เมล็ดพันธุ์ของต้นซากุระที่พระนางนำมาปลูกเป็นครั้งแ รกในญี่ปุ่นนั้น ก็มาจากภูเขาไฟฟูจิซึ่งพระองค์ดูแลอยู่นี่เอง






2.กุหลาบ
          ตำนานของดอกกุหลาบ มีมากมายนี่เป็นหนึ่งในตำนานที่ จขกท.เลือกมาค่ะ เป็นตำนานของโรมัน   กล่าวถึงตำนานของดอกกุหลาบว่า คิวปิดลูกชายของวีนัส เป็นผู้ทำเหล้าองุ่นหกรดดอกกุหลาบหลายดอก  กุหลาบเหล่านั้นจึงมีสีแดง  ส่วนหนามที่แหลมคมของกุหลาบเกิดขึ้นจากความ โกรธเคืองในขณะที่คิวปิดกำลังชื่นชมความหอมของดอกกุหลาบ  กลับ โดนผึ้งต่อย คิวปิดจึงควักธนูมายิงใส่พุ่มกุหลาบทำให้กุหลาบมีหนามที่แหลมคม    
            ตำนานของกรีก: มีตำนานเล่าถึงกำเนิดของดอกกุหลาบ ตามความเชื่อในเรื่องเทพเจ้าของกรีก ด้วยเช่นกันว่า เมื่อครั้งที่  เทวีแห่งความรักนามว่า...   \" อโฟรไดท์ \" (venus) ถือกำเนิดขึ้นจากท้องทะเล กุหลาบก็ได้ถือกำเนิดขึ้น  จากฟองคลื่นขาวสะอาดที่สาดซัดมาต้อนรับ   การเกิดของอโฟรไดท์ กุหลาบทุกดอกยังคงมีสีขาวบริสุทธิ์ เหมือนตอนที่ถือกำเนิดขึ้นมา จนกระทั่งวันหนึ่ง 
อาโดนิสชู้รักคนหนึ่ง  ของอโฟรไดท์ได้รับบาดเจ็บ จนถึงแก่ความตายในการล่าหมูป่า กุหลาบแดงจึงมีขึ้นมาในโลก สีแดงของกุหลาบเกิดจาก     เลือดของชายหนุ่มที่หยดลงไปโดนกุหลาบที่อยู่ใกล้ บ้างก็เล่าว่า ระหว่างที่อโฟรไดท์ เร่งรีบจะไปช่วยชายคนรักเกิดโดนหนามกุหลาบ     เกี่ยวและเลือดที่รินไหลทำให้กุหลาบกลายเป็นสีแดง  และนั่นคือที่มาของกุหลาบแดงที่ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์แทนความรัก

 




3.ดอกลิลลี่
     เมื่อเฮอร์คิวลิสถือกำเนิด ... เทพซูสก็อยากให้บุตรชายของตนมีพละกำลังแกร่งกล้ายิ่งขึ้น จึงได้นำมาที่เขาโอลิมปัส เพื่อจะได้ดื่มน้ำนมจากอกของมหาเทวีจูโน หรือ เฮร่า ... และเมื่อสบโอกาสตอนที่เฮร่าหลับ ซูส ก็นำเฮอร์คิวลิสมาตรงอกเฮร่าและก็ดูดนม ... แต่ด้วยความที่เฮอร์คิวลิสเป็นกึ่งเทพกึ่งมนุย์ จึงมีพละกำลังมหาศาลอยู่แล้ว ... จึงดูดนมจากอกเฮร่าแรงไปหน่อย ... เฮร่าก็ตกใจตื่น ... และเหาะขึ้นไปบนฟ้า ...ระหว่างนั้น น้ำนมจากอกก็ไหลออกมาด้วย และไหลเป็นสายยาวตกลงสู่พื้โลก ... และกลายเป็นดอกลิลลี่สีขาว ในที่สุด ... จากนั้น ดอกลิลลี่จึงได้ถือกำเนิดขึ้นบนโลก


4.Forget me Not
       ตำนานของดอกForget me not มีมากมายนี่เป็นหนึ่งในตำนานที่ จขกท.นำมาให้อ่านค่ะ คำว่า “ Forget-Me-Not” แปลว่า “ อย่าลืมฉัน ” เป็นคำพูดสุดท้ายของผู้ชายคนหนึ่งก่อนที่ความตายจะมาพรากเขาไปจากสาวคนรัก หนุ่มคนนี้มีชีวิตอยู่ในประเทศฝรั่งเศสเมื่อหลายร้อยปีมาแล้ว เขาเป็นอัศวินผู้กล้าหาญ ซึ่งมีคนรักเป็นสาวงาม ครบสูตรคู่รักเฟอร์เฟ็คท์ของสมัยนั้น วันหนึ่งทั้งคู่ไปเดินเล่นริมแม่น้ำ บังเอิญสาวคนรักเหลือบไปเห็นดอกไม้แปลกหน้าสีม่วงเข้มสดใส ซึ่งไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน ชูดอกงามอยู่ริมตลิ่ง เธอก็เลยขอร้องคนรักให้ลงไปเก็บให้ ซึ่งเขาก็ทำตามโดยดี แต่โชคร้ายที่ตลิ่งลื่นมาก และตัวเขาก็ใส่เสื้อเกราะเหล็กซึ่งหนักอึ้งอยู่ ชายหนุ่มก็เลยลื่นตกลงไปในแม่น้ำที่เชี่ยวกราก เขาพยายามตะเกียกตะกายเอาชีวิตรอด แต่เพราะน้ำหนักเสื้อทำให้เขาจมลงไปทุกที ชายหนุ่มรู้จุดจบของเขาคงจะมาถึงแน่แล้ว เขาจึงโยนดอกไม้ดอกงามขึ้นไปให้สาวคนรักและตะโกนบอกเธอเป็นประโยคสุดท้ายว่า “ Ne moubliez pas... อย่าลืมฉันนะที่รัก ” จากนั้นร่างของเขาก็จมลงหายไปในแม่น้ำ “ ดอก Forget Me Not ” (เป็นคำในภาษาอังกฤษแปลว่าอย่าลืมฉัน) จึงถูกตั้งให้เป็นตัวแทนของรักแท้ที่ไม่มีวันดับ เหมือนความรักของอัศวินหนุ่มกับสาวคนรักนั้นเอง




5.ดอกทานตะวัน
     ณ โบสถ์ในชนบทแห่งหนึ่งมีสาวงามผู้หนึ่งชื่อไคลธี่ เธอเป็นหญิงสาวที่มีความงดงามมาก แต่เพราะความงดงามนั้นบิดาของเธอจึงกักขังลูกสาวคนเดียวของตนไว้ในโบสถ์ ไคลธี่โดนกักขังในห้องหนึ่งซึ่งในห้องของเธอมีเพียงหน้าต่างบานหนึ่งที่สาดแสงอบอุ่นสีเหลืองเข้าภายในห้องของเธอ ไคลธี่ปราถนาที่จะได้เห็นที่มาของแสงนั้นมาก วันหนึ่งไคลธี่ตื่นขึ้นมาและได้พบว่าทหารยามไม่ได้อยู่เฝ้าไคลธี่จึงตัดสินใจออกจากห้องของเธอ ในขณะเดียวกันเทพอพอลโล(เทพแ่ห่งดวงอาทิตย์)ก็ได้ขึ้นรถม้าขี่ไปทั่วท้องฟ้าเพื่อให้ความสว่างและอบอุ่นแก่โลกของมนุษย์ ทันทีที่ไคลธี่ได้เห็นชายหนุ่มรูปงามที่ประทับอยู่บนรถม้าทำให้เธอตกหลุมรักเทพอพอลโลเข้าทันที  หลังจากวันนั้นไคลธี่ก็หนีออกมาจากห้องเธอทุกวันโดยไม่สนใจว่าตนเองจะโดนทำโทษหนักหนาสาหัสเพียงใด ในที่สุดไคลธี่ก็ตัดสินใจหนีออกจากบ้านด้วยความรักอันมั่นคงที่ตนมีต่อเทพอพอลโล ไคลธี่ได้อฐิษฐานกับทวยเทพทั้งหลายว่า ด้วยความรักที่นางมอบให้ชายคนหนึ่งด้วยความบริสุทธิ์ใจตลอดมา หากเธอลับลาไปขอให้เธอได้เป็นทวยเทพแห่งผกา ที่ตั้งมั่นอยู่ตราบสิ้นแสงอัจจิมาตลอดกาล  หลังจากเจ้าหญิงไคลีสิ้นลม เรียวขาของเธอได้หยั่งรากลึกลงไปในพื้นพสุธา แขนและลำตัวก็กลับกลายเป็นลำต้นใบไม้เขียว ใบหน้าอันอ่อนหวานกลับกลายเป็นสีน้ำผึ้ง เส้นผมไหมสีทองของเธอกลับกลายเป็นกลีบดอกไม้สีเหลืองสดใส คอยแหงนมองเทพแห่งดวงอาทิตย์ไปทุกแห่งหนโดยไม่มีทางเหน็ดเหนื่อยและจะคอยหัน มองตลอดจนกว่าดวงอาทิตย์ของเธอจะลาลับจากคุ้งขอบฟ้า ด้วยความรักและความภักดีตลอดกาล




เทพีอโฟรไดท์ (Aphrodite) หรือ วีนัส (Venus) เทวีครองความรัก และ ความงาม


อโฟรไดท์ (อังกฤษ: Aphrodite; ละติน: Venus)
อโฟรไดท์ (อังกฤษ: Aphrodite; ละติน: Venus) เป็นเทพเจ้าแห่งความรัก  ความปรารถนา และความงาม ของกรีก ชื่ออื่นๆ ที่เรียกนอกจากนี้คือ “ไคพริส” (Kypris) “ไซธีเรีย” (Cytherea) ซึ่งเรียกตามสถานที่ ไซปรัส และ ไซธีรา ซึ่งเชื่อว่า เป็นที่เกิดของอโฟรไดท์ ในส่วนของศักดิ์สิทธิประจำตัวของอโฟรไดท์ คือ ต้นเมอร์เติล (Myrtle) นกพิราบ นกกระจอก และ หงส์ โดย เทพีอโฟรไดท์ เทียบได้กับเทพีวีนัส ในตำนานเทพเจ้าโรมัน

เทพีอโฟรไดท์ (Aphrodite) หรือ วีนัส (Venus) เป็น เทวีแห่งความรัก และความงาม สามารถสะกดเทพ และ มนุษย์ทั้งปวง ให้ลุ่มหลง โดยอาจทำให้สติปัญญาของผู้ฉลาดตกอยู่ในความโฉดเขลา

หากจะสืบสาวต้นกำเนิดของอโฟรไดท์ ที่อาจต้องสืบสาวไปไกลกว่าตำนานของกรีกเสียอีก เนื่องจากเทวี มีต้นกำเนิด มาจากดินแดน ซีกโลกตะวันออก ว่ากันว่าเป็นเทวีองค์แรกเริ่มของชนชาติฟีนีเซีย ที่มาตั้งอาณานิคมมากมายในดินแดนตะวันออก และ แถบตะวันออกกลาง ทราบกันมาว่า เทวีอโฟร์ไดท์เป็นองค์เดียวกับเทวีของชาวอัสสิเรีย กับบาบิโลเนีย ที่มีนามว่า อีชตาร์ (Ishtar) และก็ยังเป็น องค์เดียวกับ เทวีของชาวไซโร-ฟีนิเซี่ยน ผู้มีนามว่า แอสตาร์เต (Astarte) จึงนับได้ว่าเป็น เทวีที่มีความสำคัญมาก มาแต่โบราณ

ตามมหากาพย์อิเลียดของโฮเมอร์ เทวีอโฟรไดท์ ที่เป็นเทพธิดาของซุส เกิดกับนางอัปสร ไดโอนี (Dione) แต่บทกวีนิพนธ์ ชิ้นหลัง ๆ กล่าวว่า เทวีผุดขึ้นจากฟองทะเล เนื่องจากคำว่า Aphros ใน ภาษากรีกแปลว่า “ฟอง” แหล่งกำเนิดของเทวีอยู่ในทะเลแถว ๆ เกาะไซเธอรา (Cythera) จากนั้น เทวีก็ถูก คลื่นซัดไปจนถึงเกาะ ไซพรัส (Cyprus) ด้วยเหตุนี้ เกาะทั้งสองจึงกลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เกี่ยวกับ เทวีอโฟรไดท์ และบางทีเทวีก็มีชื่อเรียก ตามชื่อเกาะทั้งสองนี้ว่า ไซเธอเรีย (Cytherea) และ ไซเพรียน (Cyprian)



ตามเรื่องที่เล่ากันแพร่หลายกล่าวว่า เมื่อเทวีอโฟรไดท์ ถูกคลื่นซัดไปติด ณ เกาะไซพรัส นั้น ฤดูเทวี ผู้รักษาทวาร แห่งเขาโอลิมปัส ลงมารับเทวีอโฟรไดท์ ขึ้นไปยังเทพสภา เทพทุกคนในที่นั้นต่างตกตะลึงในความงามของเทวี และ ต่างองค์ต่างก็อยากได้มาเป็นคู่ครอง แม้แต่ซุสเองก็อยากจะได้ แต่เทวีไม่ยินดีด้วย ซุสจึงโปรดประทาน เทวีให้แก่ ฮีฟีสทัส (Hephaestus) เป็นบำเหน็จรางวัลทดแทนความชอบ ในการที่ฮีฟีสทัส ประกอบ อสนียบาต ถวาย และ ถือเป็นการลงโทษ เทวีในเหตุที่ไม่ไยดีซุสไปในตัวด้วย เพราะฮีฟีสทัส เป็นเทพพิการ แต่เทพองค์แรกที่เทวีพิศวาส และร่วมอภิรมย์ด้วยกลับเป็น เอรีส (Ares) หรือ มาร์ส (Mars) ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งการสงคราม ซึ่งได้เป็นชู้สู่หากับเทวี อโฟรไดท์ จนให้ประสูติบุตรสอง ธิดาหนึ่ง มีนามตามลำดับว่า อีรอส (Eros) หรือ คิวพิด (Cupid) แอนติรอส (Anteros) และ เฮอร์ไมโอนี (Hermione) หรือ ฮาร์โมเนีย (Harmonia) นางเฮอร์ไมโอนีนั้นได้วิวาห์กับ แคดมัส (Cadmus) ผู้สร้างเมืองธีบส์ ซึ่งเป็นพี่ของนางยุโรปา ผู้ถูกซุสลักพาไป เป็นคู่ร่วมอภิรมย์

เรื่องราวความรัก ของเทวีแห่งความงาม และความรักอโฟร์ไดท์ ไม่หมดแต่เพียงเท่านี้ เทวีได้หว่าน เสน่ห์ไปทั่ว ไม่ว่าเทพ หรือ มนุษย์ อาทิเช่น การมีจิตปฏิพัทธ์ เสน่หากับ เทพเฮอร์มีส จนเกิดมีโอรสองค์หนึ่งนามว่า เฮอร์มาโฟร์ดิทัส (Hermahroditus) ในด้านของมนุษย์ เทวีอโฟร์ไดท์ ยังเคยแอบไปมี จิตพิศวาส กับบุรุษเดินดิน เช่น ไปชอบพอกับ เจ้าชายชาวโทรจัน นามว่า แอนคิซีส (Anchises) จนมีโอรสครึ่งเทพครึ่งมนุษย์ออกมานามว่า เอนิแอส (Aenias) ผู้เป็นต้นตระกลูของชาวโรมันทั้งหมด

ที่อื้อฉาวฮือฮามากที่สุดได้แก่ การไปแอบรัก สุดหล่อแห่งยุคคือ อโดนิส โดยวันหนึ่ง เทวีอโฟรไดท์ เล่นหัวหยอกล้ออยู่กับอีรอส บังเอิญถูกศร ของอีรอสซึ่งถืออยู่สะกิดที่อุระ ถึงแม้ว่า จะเป็นแผลเพียงเล็กน้อย แต่ก็เป็นการเพียงพอที่จะทำให้ตกอยู่ในอำนาจพิษศรของบุตรได้ ยังมิทันที่แผลจะเหือดหาย เทวีก็ได้พบกับ อโดนิส (Adonis) มานพหนุ่มพเนจรอยู่ในราวป่า ให้บังเกิด ความพิสมัย จนไม่อาจระงับ ยับยั้งอยู่ในสวรรค์ได้ เทวีจึงลงมาจากสวรรค์ มาพเนจรติดสอยห้อยตาม อโดนิส หมายที่จะได้ใกล้ชิด ซึ่งกันและกัน ไม่ว่าจะไปทางไหนทวี ก็จะตามไปด้วย เทวีอโฟรไดท์หลงใหล และ เป็นห่วงอโดนิส จนลืมสถานที่ที่เคยโปรด เที่ยวติดตาม อโดนิส ไปในราวป่า คอยตักเตือน และ กำชับอโดนิส ในเวลาล่าสัตว์ มิให้หักหาญ เสี่ยงอันตรายมากนัก ให้หลีกเลี่ยงสัตว์ใหญ่ ล่าแต่สัตว์เล็ก ชนิดที่พอจะล่าได้เท่านั้น ตลอดเวลาที่เฝ้าติดตาม เทวีพะเน้าพะนอเอาใจ อโดนิส ด้วยประการทั้งปวง แต่ความรักของเทวีที่มีต่ออโดนิส เป็นความรักข้างเดียว เจ้าหนุ่มหาได้รักตอบไม่ อาจเป็นเพราะอีรอสไม่ได้แผลงศรรักกับอโดนิส ด้วยเหตุนี้อโดนิสจึงไม่แยแส ต่อคำกำชับตักเตือนของเทวี คงเที่ยวล่าสัตว์ใหญ่น้อยเรื่อยไป ตามใจชอบ วันหนึ่งเทวีอโฟรไดท์ มีธุระต้องจากไป จึงเหาะไปในนภากาศ ฝ่ายอโดนิสพบหมูป่าแสนดุร้ายเข้าตัวหนึ่ง (บางตำนานเล่าว่าหมูป่าตัวนี้ เกิดจากการเสกจำแลงของ เทพเอเรส เนื่องจากหึงหวงความรัก ที่เทวีอโฟรไดท์มีให้แก่ อโดนิส) และ ตามล่ามันไปจนหมูป่าจนมุมแล้ว อโดนิสก็ ซัดหอกไปถูกหมูป่า แต่หอกพลาดที่สำคัญ หมูป่าได้รับความเจ็บปวด จึงเพิ่มความดุร้ายยิ่งขึ้น จึงรี่เข้าขวิดอโดนิส ล้มลงถึงแก่ความตาย



เทวีอโฟรไดท์ ได้ยินเสียงร้องของ อโดนิส จึงกลับลงมา ยังพื้นปฐพี และตรงเข้าจุมพิต อโดนิสซึ่งกำลังจะสิ้นใจ ครั้นแล้วก็ครวญคร่ำรำพันพิลาปพิไร ด้วยสุดแสน อาลัยรัก ตามวิสัยผู้ที่คลุ้มคลั่ง เทวีรำพันตัดพ้อ เทวีครองชะตากรรม ที่ด่วนเด็ดชีวิต ผู้เป็นที่รัก ให้พรากจากไป พอค่อยหายโศกแล้ว เทวีจึงออกปณิธานว่า “ถึงมาตรว่า ดังนั้นก็อย่าหมายเลยว่า ผู้เป็นที่รักแห่งข้าจะต้องอยู่ ในยมโลกตลอดกาล หยาดโลหิต ของอโดนิส แก้วตาข้า จงกลายเป็น บุปผชาติชนิดหนึ่ง เพื่อเป็นอนุสรณ์ความโศกของข้า ให้ข้าได้ระลึก ถึงวาระเศร้าสลดครั้งนี้ เป็นประจำปีเถิด” เมื่อบอกปณิธานดังนั้นแล้ว เทวีก็พรมน้ำ ต่อเกสรอันศักดิ์สิทธิ์ ลงบนหยาดโลหิตของอโดนิส บัดดล ก็มีพันธุ์ไม้ดอกสีแดงเลือด ดังสีทับทิมผุดขึ้น ดังมีชื่อเรียกกันสืบๆ มาว่า ดอกอโดนิส หรือ ดอกเออะเนมโมนิ (Anemone) แปลว่า ดอกตามลม (บางตำนานว่าก็คือ ดอกกุหลาบนั่นเอง)

เทวีอโฟรไดท์ และ อโดนิส

แรกเริ่มเดิมที ก่อนที่จะกลายเป็น เทวีแห่งความงาม และ ความรักนั้น อโฟร์ไดท์ เป็นเทวี แห่งความสมบูรณ์มาก่อน เมืองที่นับถือเทวีมากที่สุดได้แก่ เมืองปาฟอส ในไซปรัส และเมืองไซธีรา ในเกาะครีต นอกจากนั้น วิหารที่เล่าลือ ว่าโอ่อ่าที่สุดของซีกโลก ทางด้านตะวันออกได้แก่ วิหารที่เมืองคนิดุส ในรัฐแคเรีย (Caria) เมื่อเดินทางมาถึง กรีกก็มีผู้ศรัทธาเชื่อถือสร้างวิหารใหญ่ให้หลายแห่ง รวมทั้งกรุงเอเธนส์ซึ่งมีเทวีเอเธน่าเป็นเทพอุปถัมภ์อยู่แล้ว ได้กล่าวว่า อโฟรไดท์ เป็นเทวีที่ชาวกรีก และโรมันโบราณ ถือว่าเกี่ยวข้อง กับความเป็นอยู่ ของมนุษย์มากที่สุด เนื่องจาก เป็นเทวีแห่งความรักและความงาม และความงามกับความรัก ก็เป็นสิ่งที่จับใจคนมากกว่าเรื่องอื่น ๆ ด้วยเหตุนี้ เทวีจึงมักเป็นที่เทิดทูน และกล่าวขวัญในวิจิตรศิลป์และวรรณคดีต่าง ๆ นอกจากนั้น ชาวกรีก และโรมัน ยังถือว่าเทวี เป็นเทวีครองความมีลูกดก และการให้กำเนิดทารกอีกด้วย

มีคติความเชื่อประการหนึ่ง ซึ่งอย่างน้อย ก็ยังพูดกันติดปากชาวตะวันตก มาจนถึงปัจจุบันนี้ว่า ทารกถือกำเนิด เพราะนกกระสานำมา คตินี้สืบเนื่องจาก ข้อยึดถือของชาวกรีกและโรมัน มาแต่เดิมเหมือนกัน ในเทพปกรณัม กล่าวว่า นกกระสาเป็นนกคู่บารมี ของอโฟรไดท์ คราวใดมีนกกระสาผัวเมีย ไปทำรังอยู่บนยอดหลังคาบ้านใด ก็หมายความว่าเทวีอโฟรไดท์โปรดให้ครอบครัวในบ้านนั้นมีลูก และจะประสบแต่ความรุ่งเรือง

ในยุโรป โดยเฉพาะภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ถือนกกระสาประหนึ่งที่เคารพเลยทีเดียว ในเยอรมัน และเนเธอร์แลนด์ ถือว่านกกระสาเป็นนก ที่นำโชคลาภมาให้ ดังนั้นชาวเยอรมัน และเนเธอร์แลนด์ จึงยินดีที่จะให้นกกระสา มาทำรัง บนหลังคาบ้านเสมอ ยิ่งอาศัยอยู่นานเท่าใด ก็ยิ่งเป็นมงคลแก่บ้านนานเท่านั้น นกกระสาจึงเป็นที่กล่าวขวัญถึง อย่างสำคัญ ตามเทพนิยาย นิทานชาวบ้าน และ นิทานเทียบสุภาษิตต่าง ๆ ของฝรั่งด้วยเหตุผลดังกล่าวมานี้

อนึ่งชาวยุโรปทั่วไปเชื่อกันมาเป็นเวลานานหลายศตวรรษว่า ในคราวที่บ้านหนึ่งบ้านใดกำลังจะมีเด็ก เทวีอโฟรไดท์ จะให้นกกระสา มาบินวนเวียนเหนือบ้านนั้น คตินี้กินความไปถึงว่า ถ้านกกระสาบินวนเหนือบ้านที่กำลังจะมีเด็กเกิด เด็กคนนั้น จะคลอดออกจากครรภ์โดยง่าย และอยู่รอดด้วย แต่คตินี้ในที่สุดก็เป็นเพียงข้ออ้างที่พ่อแม่ จะใช้ตอบลูกตอนโต ๆ เมื่อถูกถามว่าน้องเล็กเกิดมาจากไหน หรือตัวเองเกิดจากอะไรเท่านั้น

เทวีอโฟร์ไดท์มีต้นเมอร์เทิล เป็นพฤกษาประจำองค์ สัตว์เลี้ยงของเทวีเป็นนก บ้างว่าเป็นนกเขา นกกระจอกบ้าง หงส์บ้าง ตามแต่กวีคนไหนจะชอบใจยกให้เป็นสัญลักษณ์ของเทวีแห่งความงามและความรัก